10 สุดยอดเทคนิคแห่งการเขียนเรื่องสั้น (ตอนจบ)

วันนี้พี่นัทมาต่อกันจากสัปดาห็ที่แล้วด้วย 10 เทคนิคแห่งการเขียนเรื่องสั้น ตอนนี้ใครกำลังเขียนเรื่องสั้นอยู่ต้องไม่ควรพลาด หรือใครที่เขียนเรื่องยาวก็สามารถนำเทคนิคไปใช้ก่อนก็ได้จ้า พี่นัทไม่สงวนลิขสิทธิ์...พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย
 


มาทบทวนข้อ 1-5 กันก่อนเลย

1.     ต้องมีการระบายสภาพและบรรยากาศ ( Local colour )

2.     การวางเค้าเรื่อง (Plot)

3.     การจัดตัวละครและให้บทบาท

4.     การบรรยายเรื่อง  2 วิธี

5.     การเปิดเรื่อง 5 วิธี

 

น้องๆคนไหนที่พลาดบทความในสัปดาห์ที่แล้วก็สามารถ ย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่http://www.dek-d.com/content/view.php?id=11753สำหรับน้องๆที่อ่านไปแล้วเพื่อมาให้เป็นการเสียเวลาวันนี้มาต่อกันอีก 6 เคล็ดลับที่เหลือเลยจ้า

 

1.     บทเจรจา หรือพูดของตัวละคร (Dialogue) การเขียนให้เป็นคำพูดของคนเป็นของยากเพราะข้อแรกต้องเขียนให้เป็นภาษามนุษย์พูดกัน ข้อสองต้องให้เหมาะกับบทบาทและเหตุการณ์เกี่ยวกับตัวละคร

บทเจรจานี้ต้องให้เป็นประโยชน์แก่การดำเนินเรื่อง คำพูดของคนย่อมมีเสียงสูงๆต่ำๆ สำเนียงโกรธ สำเนียงดีใจ แต่เราแสดงให้รู้ด้วยตัวหนังสือย่อมเป็นของยากที่จะให้เหมื่อนได้ เพราะตัวหนังสือไม่มีสำเนียง เราจึงต้องให้รู้ด้วยเครื่องหมาย ? หรือ ! ในประโยคเป็นคำถาม หรืออุทาน เช่น คำถาม คำพูด คำตอบ เราจะใช้ว่า เขาถามว่า หล่อนตอบว่า  หล่อนพูดว่า จะทำให้สำนวนกระด้างเกินไป เราต้องดูเหตุการณ์ และยักย้ายใช้ให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์นั้นๆ เช่น  ก. โกรธ เราควรใช้คำว่า เขาคำรามเสียงอย่างน่ากลัว “……”

 ข. โกรธ เราควรใช้คำว่า เขาตะเบ็งเสียงว่า “……”

 ค. โกรธ เราควรใช้คำว่า หล่อนตะหวาดเสียงลั่น “……”

ง. โกรธ เราควรใช้คำว่า หล่อนสะบัดหางเสียงอย่างมะนาวไม่มีน้ำว่า “……”

ทั้งนี้แล้วแต่พฤติการณ์ เช่น กระซิบ พึมพำ สารภาพ สะบัด ฯลฯ แล้วแต่จะคัดเลือกให้เหมาะสมกับเรื่อง

 

2.     ต้องมีความหนักแน่น (Compresion)

ข้อนี้นับว่าเป็นลักษณะสำคัญของเรื่องสั้นมีเนื้อความน้อย มีเนื้อที่จำกัด ฉะนั้นต้องพยายามเลือกเฟ้นความและคำที่จำเป็นจริงๆ ยิ่งใช้คำสั้นๆน้อย แต่ให้ได้ความมากยิ่งดี อย่าใช้คำฟุ่มเฟือย ซึ่งไม่จำเป็นแก่ท้องเรื่องเป็นอันขาด พูดให้ตรงไปตรงมาเข้าใจง่าย เรื่องสั้นจะเด่นและนับว่าดีเลิศเพราะประกอบด้วยลักษณความแน่นนี้เอง

 

3.     ต้องทำตัวของตัวเราให้ชัดเจน ไม่ว่าเราจะเขียนเรื่องสั้น นวนิยายหรือบทความใดๆก็ตาม จงหัดทำตัวของเราให้ชัดเจนเสียก่อน หมายความว่าก่อนจะเขียนอะไรลงไป ขอให้หลับตาดูภาพที่จะเขียนจากจินตนาการของเราให้แจ่มชัด ถ้าเรานึกถึงคน จะต้องเห็นหน้าตาว่า ผมสั้นหรือยาว หงอก ดำ แดง แก้มตอบ อิ่ม มีไฝ ลักยิ้ม คางแหลม กลม ฟันเรียบ เขยิบ จมูกโด่ง แฟบ ริมฝีปาก หนา บาง เผยอ สนิท อย่างระเอียดพอสมควร เมื่อหลับตาเห็นภาพชัดเจนแล้ว จึงเขียนบรรยายตามที่เห็น จึงจะทำให้คนอ่านคนฟังเห็นตามไปด้วย

วิธีที่ทำให้สิ่งที่เราพรรณนาถึงชัดเจน คือพูดในเชิงเปรียบเทียบโดยยกเอาลักษณะขัดแย้งกันมาคู่กัน

4.     การให้ชื่อตัวละครและชื่อเรื่อง การตั้งชื่อตัวละครควรพยายามตั้งให้ใกล้กับชื่อคนจริงๆ อย่าดันตั้งชื่อให้โลดโผน จนผู้อ่านรู้สึกว่าคนอะไรชื่ออย่างนี้ ส่วนเรื่องชวนขบขัน ตลก จะตั้งชื่อแผลงๆ หน่อยก็ได้ เพราะชื่อเรื่องชนิดนี้มีจุด ไคลแมก อยู่ที่ความขบขัน ตลกโปกฮา

ชื่อเรื่องผู้ประพันธ์ควรพยายามตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความอยากอ่านโดยใช้คำสั้นๆ เพียง 2-3 คำ แต่ให้น่าทึ่ง น่าคิดให้เป็นเงาฉายของตัวเรื่องที่ผู้อ่านจะได้อ่านต่อไป การตั้งชื่อเรื่องนี้ บางคนเขียนจบแล้วค่อยตั้งชื่อเรื่องภายหลัง บางคนตั้งชื่อก่อน บางคนตั้งชื่อเรื่องให้เร้าใจผู้อ่านโดยให้มีการประกวดตั้งชื่อ

 

หลักการตั้งชื่อเรื่อง

1.     ใช้ชื่อตัวละครสำคัญในเรื่อง

2.     ตั้งโดยขมวดปมของเรื่อง เช่น เรื่อง ผู้บริสุทธิ์ ผู้รับบาป ตายผิดตัว

3.     ตั้งแสดงคติและความเห็น เช่น กฎแห่งกรรม กงกรรมกงเกวียน อ้อมอกแม่ ฝนสั่งฟ้า ม่านพรหมทัณฑ์ ธรรมะในหมู่โจร

การตั้งชื่อเรื่องควรระวังอย่าให้ ห้วนๆเก้อๆ ฟังแล้วไม่เร้าใจผู้อ่าน ไม่เกิด ความกระตือรือร้นอยากอ่าน เช่น แววดาวทำดีแล้ว ดวงชะตาเขาไม่ดี

มีข่าวจากหล่อน หรือ ลูกของใครในห้องเรียน เป็นต้น

5.     การทำบท คือการบรรยายให้ตัวละครแสดงบทบาทเช่นเดียวกับการแสดงละคร ถ้าพูดถึงพระเอกหรือนางเอกรักกันดังนี้ก็ไม่มีบทบาทอะไรที่จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง ฉะนั้นต้องพรรณนาถึงกิริยาท่าทาง อาการรำพึงรำพันทำมห้ผู้อ่านรับความรู้สึกในรสรัก เช่น ชายหนุ่มกระซิบกระซาบหลุดออกมาว่า “ผะ...ผะ...ผม เอ้อ!...” “อะไรคะหญิงสาวสวนขึ้น “รัก!รักเพียงเท่านั้นหล่อนยิ้มด้วยใบหน้าแดงระเรื่อจนเห็นได้ชัด ฯลฯ เป็นต้น

เป็นยังไงบ้างจ๊ะ พี่นัทหวังว่าน้องๆที่กำลังเขียนเรื่องสั้นกันอยู่คงจะกอบโกยเทคนิคไปใช้กันได้บ้างนะจ๊ะ อยากรู้เคล็ดลับอื่นๆ คุยกับขำๆ หรือมีเรื่องจะปรึกษา ส่งคำถามมาได้ที่ judne@dek-d.com หรือส่งข้อความมาหาได้ที่ my id พี่นัทข้างล่างนี้เลยจ้า

 

พี่นัทขอขอบคุณข้อมูลจาก ปากกาทอง
 

พี่นัท

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

15 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
kataw_19 Member 15 พ.ย. 51 22:17 น. 13

อยากจะบอกว่า เขียนตวาดผิด เป็น ตะหวาด แล้วคำว่าละเอียด เขียนผิดเป็นระเอียดนะคะ ฝากแก้ไขด้วยนะคะ เพราะอยากให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องค่ะ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด