เลือก POV แบบไหนถึงจะใช่สำหรับนิยายของเรา

              POV (Point of View) หรือมุมมองการเล่าเรื่อง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนิยาย การเลือกใช้ POV ที่เหมาะสมกับแนวเรื่อง จะทำให้นิยายที่เขียนมีความสนใจมากขึ้น แต่จะใช้ POV แบบไหนให้เข้ากับนิยายของน้องดี วันนี้พี่แบงค์จะมาแนะนำว่า POV นั้นมีอะไรกันบ้าง



              1. บุคคลที่หนึ่ง : เป็นการเล่าเรื่องด้วยการใช้บุรุษสรรพนามที่หนึ่ง คือ ผม ฉัน ข้า เหมาะสำหรับนิยายที่ต้องการเล่าเรื่องจากมุมมองของตัวละครหลัก ข้อดีคือทำให้ผู้อ่านเข้าใจความรู้สึกของตัวละครได้ลึกขึ้น เพราะมีการแสดงทัศนคติและอุปนิสัยของตัวละครที่ถูกใช้เป็น POV ได้เต็มที่ แต่ด้วยข้อจำกัดของบุคคลที่หนึ่ง ทำให้ไม่สามารถรับรู้ความคิดและมุมมองของตัวละครอื่นได้นอกจากสีหน้าและท่าทาง (ยกเว้นวางบทไว้ว่าผู้เล่ามีความสามารถอ่านใจได้) อีกทั้งยังจำกัดถึงสติปัญญาของตัวผู้เล่าด้วย (ประมาณว่าถ้าผู้เล่าเป็นคนจน ไม่ค่อยฉลาด ก็ไม่สามารถใช้คำพรรณาที่เริดหรูหลากหลายได้มากเท่าPOVบุคคลที่สาม)

              แนวเรื่องที่ใช่ : เรื่องที่เน้นอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวละคร


              2. บุคคลที่สอง : เป็นการเล่าเรื่องด้วยการใช้บุรุษสรรพนามที่สอง คือ คุณ เธอ เจ้า แก ท่าน เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่เห็นได้น้อยมากในวงการนิยาย พวกหนังสือเกมผจญภัยตามใจนึกหรือแนว CYOA (Choose your own adventure) ของต่างประเทศนิยมใช้กัน เพราะต้องการสมมติให้ผู้อ่านเป็นตัวละครเอกของเรื่อง แต่วิธีนี้พี่แบงค์ไม่อยากแนะนำให้เขียน เพราะการจะบังคับให้ผู้อ่านเชื่อว่าตัวเองเป็นตัวละครในเรื่อง จะต้องใช้ศิลปะการเล่าเรื่องที่ดีเยี่ยมมากๆ ถ้ามือไม่ถึง คนอ่านไม่อินตาม เรื่องจะแป้กทันที

              แนวเรื่องที่ใช่ : เรื่องที่แบบว่าอินดี้ไม่เน้นขาย


              3. บุคคลที่สาม : เป็นการเล่าเรื่องด้วยการใช้บุรุษสรรพนามที่สาม คือ เขา เธอ ท่าน ชื่อตัวละคร หรือสรรพนามแทนตัวละคร (ชายหนุ่ม หญิงสาว รางบาง ร่างสูงใหญ่ เจ้าของเรือนผม... ฯลฯ) เป็นวิธีที่เห็นในนิยายหลายๆ เรื่อง เนื่องจากมีความง่ายต่อการเล่าเรื่องและมีความยืดหยุ่นสูง เพราะผู้เขียนคือผู้เล่าเรื่อง จึงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้อเสียคือหากผู้เล่าเปิดเผยเรื่องราวแบบรู้ทิ้งสิ่งทุกอย่าง มันอาจจะไม่ทำให้น่าตื่นเต้นเท่าไรนัก ยิ่งถ้าใช้สำนวนการเล่าเรื่องแบบพื้นๆ เหมือนเล่านิทาน อาจทำให้เรื่องน่าเบื่อขึ้นมาได้

              POV บุคคลที่สาม สามารถแยกได้อีก 2 แบบ ดังนี้

              - บุคคลที่สามแบบเห็นมุมกว้าง : คือผู้เล่า (ผู้เขียน) รู้หมดว่าเหตุการณ์ในเรื่องจะเป็นยังไง ตัวละครแต่ละคนคิดอย่างไร (สอดแทรกความคิดส่วนตัวของผู้เขียนเหน็บแนมตัวละครก็ยังได้)

              แนวเรื่องที่ใช่ : เรื่องที่เน้นการหักเหลี่ยมเฉือนคมหรือแอคชั่นต่อสู้

              - บุคคลที่สามแบบเห็นมุมแคบ : คล้ายกับการเล่าเรื่องแบบบุคคลที่หนึ่ง คือมีข้อจำกัดในด้านการเล่าเรื่อง แต่แทนที่ผู้เล่าจะเป็นตัวละครก็เป็นตัวผู้เขียน โดยเล่าผ่านการสังเกตพฤติกรรมของตัวละครที่ต้องการโฟกัส (ประมาณว่าถ่ายวิดีโอสารคดีแล้วมีผู้บรรยายเล่าตาม) แต่มีข้อดีคือสามารถสลับไปยังตัวละครอื่นเพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้มุมมองอีกมุมมองหนึ่งได้

              แนวเรื่องที่ใช่ : เรื่องที่เน้นความลึกลับซับซ้อนของพล็อต หรือแนวสืบสวนสอบสวน



               เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับ POV ทั้ง 3 แบบที่พี่แบงค์นำเสนอ หวังว่าน้องๆ นักเขียน Dek-D.com จะได้แนวทางไว้ใช้เขียนนิยายเรื่องใหม่หรือปรับปรุงเรื่องที่เขียนอยู่นะครับ สุดท้ายนี้ถ้าอยากให้พี่แบงค์เสนอเรื่องอะไร ก็มาโพสต์บอกกันได้ที่มายไอดีของพี่แบงค์เลยนะครับ





พี่แบงค์
พี่แบงค์ - Community Master Community Master ประจำเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Arsklin_อาร์คสกิริน Member 27 พ.ค. 54 20:14 น. 5

ไม่รู้สึกอะไรฮะ ! แต่ภาพบนนี่ทำตะลึงได้อีก วิถีของ บอมบอม โยโย่ 555
ทางหนูคงต้องปรับอีกมาก เอิ๊กกกๆ
0
กำลังโหลด

35 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Arsklin_อาร์คสกิริน Member 27 พ.ค. 54 20:14 น. 5

ไม่รู้สึกอะไรฮะ ! แต่ภาพบนนี่ทำตะลึงได้อีก วิถีของ บอมบอม โยโย่ 555
ทางหนูคงต้องปรับอีกมาก เอิ๊กกกๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
แป้งโกกิ Member 27 พ.ค. 54 22:28 น. 9
ขอบคุณค่ะ
ส่วนหใญ่จะใช้แบบบุคคลที่หนึ่ง
บุคคลที่สามมีประปราย
เพิ่งรู้ว่ามีเล่าแบบบุคคลที่สองด้วย!

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Nico Riona Member 28 พ.ค. 54 09:41 น. 13

หนูใช้แบบบุคคลที่ 3 ถ้าใช้แบบบุคคลที่ 1 แล้วเพื่อนหมั่นใส้ (เพราะหนูเป็นตัวเอกของเรื่อง เพื่อนอิจฉา)

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด