ใครว่าสารคดีเขียนยากกันล่ะ

 

       สำหรับน้องๆ นักเขียน Dek-D.com ที่ชอบศึกษาค้นหาความรู้รอบตัว รู้หรือไม่ว่า การเป็นนักเขียนไม่ได้จำกัดแค่ว่าต้องเขียนนิยายเท่านั้น แต่เรายังสามารถเขียนเป็นแนวสารคดีได้อีกด้วย (แน่นอนว่าคอลัมน์นักเขียน Dek-D.com ก็มีหมวดมีสาระด้วยนะ ใครเคยเข้ากันบ้างเอ่ย)

       ขึ้นชื่อว่าเขียนแนวสารคดี แน่นอนว่าก็ต้องเขียนมาจากข้อเท็จจริง ไม่ใช่เรื่องแต่งเรื่องสมมติ แต่อย่าเข้าใจผิดว่าสารคดีต้องวิชาการจ๋า เป็นตำราเรียนอะไรอย่างนี้นะ เพราะสารคดีจะต้องสอดแทรกความบันเทิงควบคู่กับความรู้ด้วย หมายความว่าน้องๆ นักเขียนควรจะเขียนด้วยกลวิธีแบบเดียวกับที่เขียนนิยายนั่นเอง (คือมีทั้งเกริ่นบทนำ แนะนำตัวละคร พรรณนาบรรยายเรื่องราว บทสนทนา จุดหักมุม เหมือนกัน ต่างกันตรงที่เราต้องเขียนจากข้อเท็จจริง)



          ถ้าน้องๆ สนใจที่จะเขียนสารคดี สิ่งที่น้องควรจะทำมีดังนี้

            1. คิดมาก่อนว่าเราอยากจะเขียนสารคดีเกี่ยวกับเรื่องอะไร ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวประวัติ ก็ว่ากันไป สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเขียน ไม่รู้จะเขียนอะไรดี แนะนำให้เริ่มจากเรื่องที่เขียนง่ายๆ ใกล้ตัวเองที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขนขวายหาให้ยากมากนัก เช่น เรื่องความเปิ่นของแม่ เรื่องตลกของหมาที่บ้าน (อย่าลืมอ่านบทความการเขียนเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ด้วยล่ะ)

             หรือถ้าเอาที่อินเทรนด์ตอนนี้ จะลองเขียนสารคดีเกี่ยวกับการ Planking ก็ไม่เลวเหมือนกันนะ

            2. อะไรคือประเด็นหลักของเรื่อง อะไรคือประเด็นรอง ไม่ควรจะให้ทุกประเด็นสำคัญเท่ากันหมด เพราะมันจะไม่ดึงดูดพอให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องนั้น





              ยกตัวอย่างเช่น "โตเกียวไม่มีขา" ผลงานสร้างชื่อของนิ้วกลม ประเด็นหลักของเรื่องก็คือการใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยมีเงินเพียงน้อยนิด ในขณะที่ประเด็นรองคือการบอกเล่าสถานที่ต่างๆ ที่ตัวผู้เขียนและเพื่อนๆ ได้ผ่านไปพบเจอ แต่ไม่ได้ถึงขั้นเจาะลึกรายละเอียดปลีกย่อยมากจนเกินไป หากเป็นแค่องค์ประกอบที่ช่วยให้เรื่องมีมิติขึ้น

            3. ถ้าน้องเลือกที่จะเขียนสารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ คิดว่าโอ๊ย...ไม่ต้องหาหรอก เรื่องนี้ฉันรู้ดี ไปค้นคว้าหาข้อมูลมาให้พร้อมเถอะนะ เอาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งจากอินเตอร์เน็ต หนังสือห้องสมุด ช่องรายการสารคดี หรือแม้แต่ขอสัมภาษณ์ผู้ที่มีประสบการณ์หรือรอบรู้ในข้อมูลนั้นๆ

             ไม่แน่ว่าเรื่องที่น้องคิดว่ารู้มากที่สุด อาจยังมีอีกแง่มุมหนึ่งที่เราไม่รู้ก็ได้

            4. วางแผนเอาไว้ว่าจะเขียนยาวสักกี่หน้า กี่ตอนจบ และจะเขียนให้ใครอ่าน เช่น ถ้าเขียนให้เด็กอ่านก็ไม่ควรใช้สำนวนที่เป็นวิชาการดูเป็นผู้ใหญ่จนเกินไป เด็กที่อ่านจะขนลุก ไม่อ่านซะก่อน

            5. อย่ากลัวที่จะรับคำวิจารณ์จากผู้อ่าน พี่แบงค์เชื่อว่าหลังจากที่น้องเอาสารคดีมาโพสต์ลงในเด็กดีแล้ว ต้องมีคนอ่านที่รู้มากกว่าหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ออกมาตำหนิในจุดที่เห็นว่าผิดพลาด ทั้งๆที่เราเองก็มั่นใจว่าข้อมูลที่เราหานั้นถูกต้องแล้ว

              ก็ถือเสียว่าเป็นการแลกเปลี่ยนสาระความรู้ไปในตัว หากเห็นว่าผิดจริงก็รับมาปรับปรุงแก้ไขกันได้



             ดูไม่ยากเกินไปสำหรับเราเลยใช่มั้ยล่ะ สำหรับการเริ่มต้นเขียนแนวสารคดี รู้อย่างนี้แล้วก็ลงมือเขียนกันเลย แล้วพี่แบงค์จะรออ่านสารคดีที่น้องๆ เขียนนะครับ




 

พี่แบงค์
พี่แบงค์ - Community Master Community Master ประจำเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

8 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ภัทรพร 21 ก.ย. 54 20:46 น. 8
ดูฉันเรียงความสิ555+ขำอะไรฟะก็มันเเบบว่าทุเรดมากเรียงความทุเรดมากมายจิงหรอหะก็ใช่นะสิ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด