เคล็ดลับการเขียนมุมมองบุคคลที่หนึ่ง

            หลายๆ คนอาจจะคิดว่า การเขียนนิยายด้วยมุมมองบุคคลที่1 เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพราะแค่เขียนในมุมมองของตัวเอกและแทนตัวเองว่า ผม ฉัน ข้า เท่านั้น พี่แบงค์ก็เห็นด้วยนะ มันเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนนิยาย แต่มันก็ใช่ว่าจะง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากซะทีเดียว เพราะการจะเขียนแนวบุคคลที่1ให้ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าถึงนั้น มันต้องมีเคล็ดลับที่สำคัญดังนี้


เราเห็นอะไรในสิ่งที่ตัวละครกำลังเห็นบ้าง?



            ใช้สำนวนภาษาที่เหมาะสมกับตัวละคร 
            เนื่องจากตัวละครคือผู้ที่บรรยายเรื่องราวทั้งหมด ไม่ใช่ตัวผู้เขียน ดังนั้นเราต้องเลือกสำนวนที่เหมาะสมกับตัวละครที่จะใช้เล่าด้วยมุมมองบุคคลที่1 เช่น ถ้าตัวละครเป็นคนด้อยการศึกษา หนังสือไม่เคยอ่าน ประสบการณ์ชีวิตไม่โชกโชน จะให้ยกสำนวนแบบคนเคยอ่านตำราพิชัยซุนวู หรือพูดเหมือนจบปรัชญาชีวิต มันก็คงจะไม่เหมาะนัก หรือตัวละครที่กร้านชีวิต อยู่ในสังคมที่โหดร้าย จะให้เล่าเรื่องแบบพวกโลกสวยมันก็ไม่เข้ากับสไตล์แบบนั้น เป็นต้น


            ต้องทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นตัวละครเอกในเรื่องนั้น
            ตามที่พี่แบงค์เคยกล่าวไว้ในหัวข้อ แสดงออกมา อย่าบอกหมด การบรรยายเรื่องที่ชวนให้ติดตามคือการแสดงให้ผู้อ่านรู้ว่าตัวละครกำลังรู้สึกอย่างไรแทนที่จะบอกไปเพียงว่ากำลังทำอะไร แต่พี่ขอเสริมอีกนิดนึงว่า การกระทำของตัวละครบางอย่างที่เป็นเรื่องพื้นๆ เช่น กินข้าว นอน อ่านหนังสือ หากสามารถเล่าออกมาตรงๆ ได้ก็ไม่จำเป็นต้องใส่สำนวนให้เว่อร์จนเกินไปนัก เอาแค่พอเหมาะพอดีก็ใช้ได้แล้ว


            อย่าให้ตัวละครเดาใจอีกฝ่ายได้บ่อยเกินไป
            นักเขียนบางคนที่ชอบให้ตัวละคร "ฉัน" เข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังคิดอะไร รู้สึกอย่างไร ในความเป็นจริงคนเราก็คงไม่อาจมองคนได้ทะลุถึงขนาดนั้นหรอก และเพราะคนเราไม่สามารถรู้ใจอีกฝ่ายได้ทุกเรื่อง ดราม่าจึงเกิดขึ้น และตรงจุดนี้แหละที่ทำให้เรื่องมันชวนติดตาม แนะนำว่าลองให้ "ฉัน" ไม่รู้บางเรื่อง อาจจะทำให้เรื่องดูน่าสนใจ ต่อเรื่องได้ยาวขึ้นเยอะเลย


            มุมมองเดียว บุคคลเดียว
            นักเขียนบางคนก็มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างนิยายให้มีหลากหลายมุมมองจากตัวละครหลายคน โดยเล่าเรื่องด้วยบุคคลที่1 สลับกันไปมาในแต่ละตอน พี่แบงค์ชื่นชมไอเดียนี้ แต่ความเห็นส่วนตัวของพี่แบงค์ การ Fixตายตัวไปเลยว่าตลอดทั้งเรื่องจะใช้มุมมองของนายAหรือนายBอย่างเดียว หรือกำหนดว่าหลังจากจบไป3-4ตอนแล้ว จะเปลี่ยนไปเล่าในมุมมองของนายC พี่ว่าน่าจะทำให้เนื้อเรื่องดูไม่โดดไปโดดมา ผู้อ่านยังปรับอารมณ์ได้ และผู้เขียนไม่สับสนคาแรกเตอร์ "ฉัน" ของนายA นายB นายC ด้วย





             ลองไปปรับปรุงตามนี้ แล้วนิยายที่น้องเขียนจะดูน่าสนใจมากขึ้นเยอะเลยครับ : )




พี่แบงค์
พี่แบงค์ - Community Master Community Master ประจำเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ซ่อนนาม Member 8 มิ.ย. 55 04:11 น. 1
ส่วนตัวคิดว่าบุคคลที่ 1 เขียนยากไม่ใช่น้อย

เพราะมุมมองนี้จำกัดในหลาย ๆ อย่าง
เช่นสลับไปใช้ตัวละครอื่นก็ทำได้ยาก หากทำไม่ดีคนอ่านจะสับสน
และการล่วงรู้ข้อมูลก็มีจำกัด เนื่องจากมองผ่านตัวละคร ทำให้รู้สิ่งที่ตัวละครไม่รู้ได้ยาก
อีกทั้งหลายครั้งก็มักจะมีคนเขียนพลาดสลับระหว่างบุคคลที่หนึ่งกับสามอยู่เนือง ๆ
แม้กระทั่งที่พยายามใช้สำนวนเหมือนบุคคลที่หนึ่ง แต่แท้จริงแต่งแบบบุคคลที่สามก็เคยเจอ

ซึ่งหากเป็นมือใหม่ คิดว่าใช้บุคคลที่สามสโคปบุคคลที่หนึ่งจะเหมาะสมกว่า
เพราะแม้จะเจาะจงตัวละครหนึ่ง แต่ก็ยังบอกคนอ่านให้รู้ภาพรวมหรือสิ่งที่ตัวละครไม่รู้ได้

ถึงอย่างนั้นแบบบุคคลที่สามสโคปบุคคลที่หนึ่งก็ยังมีข้อด้อยกว่าบุคคลที่หนึ่งโดยตรง
คือการสื่ออารมณ์จะทำได้ไม่ดีเท่าบุคคลที่หนึ่ง
ดังนั้นหากเป็นแนววัยรุ่น หรือระทึกขวัญ การเลือกใช้บุคคลที่หนึ่งจะทำให้คนอ่านอินได้ดีที่สุด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

31 ความคิดเห็น

ซ่อนนาม Member 8 มิ.ย. 55 04:11 น. 1
ส่วนตัวคิดว่าบุคคลที่ 1 เขียนยากไม่ใช่น้อย

เพราะมุมมองนี้จำกัดในหลาย ๆ อย่าง
เช่นสลับไปใช้ตัวละครอื่นก็ทำได้ยาก หากทำไม่ดีคนอ่านจะสับสน
และการล่วงรู้ข้อมูลก็มีจำกัด เนื่องจากมองผ่านตัวละคร ทำให้รู้สิ่งที่ตัวละครไม่รู้ได้ยาก
อีกทั้งหลายครั้งก็มักจะมีคนเขียนพลาดสลับระหว่างบุคคลที่หนึ่งกับสามอยู่เนือง ๆ
แม้กระทั่งที่พยายามใช้สำนวนเหมือนบุคคลที่หนึ่ง แต่แท้จริงแต่งแบบบุคคลที่สามก็เคยเจอ

ซึ่งหากเป็นมือใหม่ คิดว่าใช้บุคคลที่สามสโคปบุคคลที่หนึ่งจะเหมาะสมกว่า
เพราะแม้จะเจาะจงตัวละครหนึ่ง แต่ก็ยังบอกคนอ่านให้รู้ภาพรวมหรือสิ่งที่ตัวละครไม่รู้ได้

ถึงอย่างนั้นแบบบุคคลที่สามสโคปบุคคลที่หนึ่งก็ยังมีข้อด้อยกว่าบุคคลที่หนึ่งโดยตรง
คือการสื่ออารมณ์จะทำได้ไม่ดีเท่าบุคคลที่หนึ่ง
ดังนั้นหากเป็นแนววัยรุ่น หรือระทึกขวัญ การเลือกใช้บุคคลที่หนึ่งจะทำให้คนอ่านอินได้ดีที่สุด
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
jade Member 8 มิ.ย. 55 11:08 น. 3
บุคคลที่หนึ่งเราว่าเขียนยากเพราะเหตุการณ์ส่วนใหญ่ในเรื่องควรจะเป็นตัวเอกทำคนเดียว และมุมมองทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับตัวเอกตัวเดียวเลยวางพล็อตยาก

แต่เรื่องของเรามันต้องสลับฉากไปติดตามตัวละครอื่นๆ ที่ดำเนินเรื่องอยู่ที่อื่นด้วย และตัวละครหลักของเรามีความลับที่เราให้คนอ่านรู้ไม่ได้เยอะ ตอนนี้ที่เราเขียนเลยเป็นบุคคลที่สามค่ะ

เรื่องบุคคลที่หนึ่งที่สนุกๆ ก็เคยอ่านมาเยอะ ที่ฝรั่งชมกันมากก็คงจะเป็น The Magic Thief แล้วก็ Matched ของ The Magic Thief นี่ตัวเอกเนียนมาก เก็บความลับจากคนอ่านได้แบบไม่ให้เราสงสัยด้วย แถมไม่ต้องบรรยายว่ารู้สึกอย่างไร ก็ทำให้คนอ่านรู้สึกแทนแล้วน้ำตาคลอแทนได้เลย

เห็นนักวิจารณ์เขาพูดว่า ในมุมมองบุคคลที่หนึ่งการที่เราจะทำให้คนอ่านเห็นใจตัวละครนั้น เราไม่ควรบรรยายไปตรงๆ ว่าโอยฉันเศร้าเหลือเกิน แต่ควรพูดอย่างอื่นมากกว่า ไม่งั้นมันจะดูเหมือนบังคับให้คนอ่านคิดเหมือนกับเรา 


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 8 มิถุนายน 2555 / 11:08
0
กำลังโหลด
~ In Memorials ~ Member 8 มิ.ย. 55 11:43 น. 4
สำหรับเราแล้ว ความอยากของการเขียนตัวละครที่หนึ่ง น่าจะเป็น ควรปล่อยไปเท่าไหร่ เก็บไว้เท่าไหร่ คนอ่านจะเข้าใจไหม(เพราะบางทีตัวเองก็อ่านไม่เข้าใจ _ _) มันก็ยากน๊า การเขียนให้ตัวละครส่วนนี้แสดงความรู้สึกออกมาได้ชัดเจน แต่ถ้าจะเขียนการกระทำลงไปเลย มันก็ดูจะไม่น่าติดตามยังไงไม่รู้นะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
บทสรุป Member 8 มิ.ย. 55 18:19 น. 7
 สำหรับผมบุคคลที่หนึ่งเขียนง่ายกว่าบุคคลที่สามจริงๆครับ

บุคคลที่หนึ่งผมเขียนสองเดือนจบ
บุคคลที่สามผมเขียนปีกว่าแล้วยังไม่จบ (พยายามเขียนอยู่ ฮ่าๆ)

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆครับ ^^
0
กำลังโหลด
FRuiT Member 8 มิ.ย. 55 18:44 น. 8
สำหรับเราคิดว่า บุคคลที่ 3 เขียนง่ายกว่า เพราะเคยเขียนแบบบุคคลที่ 1 แล้วค่อนข้างล่ม 55555+

จะนำไปลองใช้ดูค่ะ!
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ผูกจันทร์ Member 8 มิ.ย. 55 19:34 น. 11
การเขียนบุคคลที่ 1 เหมาะกับการเขียนเรื่องแนวไดอารี่ (คล้าย ๆ ชีวิตตัวเองมากกว่า)
0
กำลังโหลด
Fairy of dark!! Member 8 มิ.ย. 55 21:20 น. 12

ทำไงดีผมเขียนบุคคลที่ 3 ล่มน่ะสิ แต่บุคคลที่ 1 เขียนจบไปแล้วเรื่องหนึ่ง ผมว่ามันง่ายกว่าเยอะเลย
*คหสต

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
สารถี Member 9 มิ.ย. 55 20:49 น. 19
เขียนมมุมอง 1 ไม่ไ่ด้ยาก ก็เหมือนเราบ่นเวลาเจอเรื่องอะไร
จุดยากคือคนอ่านจะเดานิสัยใจคอคนเขียนได้ง่าย
ถ้าไม่ชอบเปิดเผยตัวเองให้คนอื่นก็รู้ต้องใช้ฝีมือไม่ใช่น้อย
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด