เทคนิคง่ายๆ ในการสร้างตัวละครให้สมจริง

                สวัสดีครับ น้องๆ ชาว Dek-D.com  มีใครเคยได้รับคำวิจารณ์จากนักอ่านว่าตัวละครของเราไม่มีมิติ ไม่สมเหตุสมผล ไม่สมจริง ไม่น่าสนใจบ้างไหมครับ ถ้าหากว่าใช่แล้วล่ะก็ ต้องอ่านนี่เลย เทคนิคง่ายๆ ในการสร้างตัวละครให้สมจริง จัดไปเลยครับ

                สร้างนิสัย ความคิด การแสดงออกของตัวละคร ก่อนจะเริ่มต้นงานเขียนนั้น นักเขียนควรจะกำหนดลักษณะนิสัย ความคิดของตัวละครนั้นๆ เอาไว้ก่อน ว่าจะให้มีนิสัยอย่างไร มีความคิดอย่างไร มีการแสดงออกอย่างไร(ท่าทาง คำพูด สีหน้า แววตา ฯลฯ) เวลาที่เขียนนั้นจะได้ไม่ขัดกับแนวเรื่อง และช่วยให้เนื้อเรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น

                ตัวอย่าง : กำหนดนิสัยให้ตัวละครของเรานิสัยโผงผาง อารมณ์ร้อน ทำอะไรไม่ค่อยคิด การแสดงออกของตัวละครตัวนี้ก็จะทำอะไรตามอารมณ์ ไม่ค่อยฟังผู้อื่น เวลาพูดก็มักจะก้าวร้าว รุนแรง อาจจะมีการติดคำหยาบบ้างเพื่อให้เข้ากับนิสัยหรือบุคลิกที่วางเอาไว้

                สร้างแรงจูงใจและความต้องการของตัวละคร ตัวละครที่สมบูรณ์นั้นจะต้องมีแรงจูงใจ มีความต้องการของตนเอง ถ้าหากตัวละครในนิยายของเราไม่มีแรงจูงใจอะไรเลย คงจะไม่ดีนัก เพราะว่าแรงจูงใจและความต้องการนั้นแหละที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินเรื่อง นำไปสู่จุดที่เป็นความขัดแย้ง และการคลี่คลายปมต่างๆ ได้ด้วย

                 ตัวอย่าง : กำหนดให้ตัวละครมีเป้าหมายที่อยากจะเป็นนักฟุตบอลที่เก่งที่สุด ก็จะต้องมีการแสดงถึงความต้องการ แรงจูงใจของตัวละครออกมาอย่างชัดเจน เช่น มีการฝึกซ้อม พยายาม มุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อจะก้าวไปสู่จุดหมายให้ได้

                สร้างตัวละครให้มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี เป็นเรื่องปกติและเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่มีทั้งด้านดีและไม่ดี ไม่มีใครดีทุกอย่าง และไม่มีใครแย่ไปทุกอย่าง ตัวละครของเราก็เช่นเดียวกัน ต้องมีทั้งดีและไม่ดีรวมอยู่ด้วย การที่ตัวละครนั้นมีเพียงแค่ด้านเดียว จะทำให้เกิดความไม่สมจริง ไม่น่าเชื่อถือ และแสดงออกในเรื่องได้อย่างไม่สมบทบาท

                ตัวอย่าง : กำหนดให้ตัวละครของเราเป็นคนที่ใจร้าย ชอบอิจฉา ริษยา ทำอะไรเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทอง ชื่อเสียง และหน้าตาในสังคม แต่ที่ตัวละครนั้นต้องทำเช่นนั้นเพราะว่าเขาต้องการจะให้ลูกของตนสบาย ไม่ต้องลำบากในภายหลัง

                สร้างปูมหลังให้กับตัวละคร นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีเช่นกันที่จะช่วยให้ตัวละครของเราดูมีมิติมากยิ่งขึ้น เพราะบางครั้งตัวละครของเราแสดงบทบาทโดยที่ขาดเหตุผลรองรับ หรือบางทีก็ดูไม่สมจริงเกินไป แต่ถ้าหากเรามีการสร้างและเล่าถึงปูมหลัง ความเป็นมาของตัวละคร เรื่องราวในอดีตที่เคยได้รับมา ก็จะช่วยให้คนอ่านเข้าใจถึงพฤติกรรมของตัวละครได้มากขึ้น

                ตัวอย่าง : กำหนดให้ตัวละครมีอดีตที่ไม่ดีกับเรื่องยาเสพติด และเห็นที่บ้านถูกจับข้อหาเป็นสายส่งไปต่อหน้าต่อตา เมื่อโตขึ้นก็อาจจะไปเป็นตำรวจเพื่อทำการกวาดล้างยาเสพติดให้หมดสิ้นไป

                สร้างพัฒนาการให้กับตัวละคร ตัวละครที่ดีนั้นจะต้องมีพัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลง(ทั้งในด้านดีและไม่ดี) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เองจะทำให้ตัวละครมีความน่าสนใจ มีมิติ ซึ่งจุดนี้เองที่นักเขียนจะต้องทำให้นักอ่านเห็นถึงนิสัย ความสัมพันธ์ ความคิดของตัวละครที่เปลี่ยนไป

                ตัวอย่าง : กำหนดให้ตัวละครพระเอกกับนางเอกไม่ชอบหน้ากัน(อาจจะถึงขั้นเกลียดกันด้วยซ้ำ) แต่พอหลังๆ ได้รู้จักกัน ได้เจอเหตุการณ์ต่างๆ ร่วมกัน ใกล้ชิดกันมากขึ้น และค่อยๆ กลายมาเป็นความรักในที่สุด

                การสร้างตัวละครให้สมจริงนั้นไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ น้องๆ ชาว Dek-D.com ต้องมีความช่างสังเกตุ มองดูผู้คนรอบข้าง ตั้งคำถาม ว่าทำไมเขาถึงทำเช่นนั้น เขามีความต้องการอะไร วิเคราะห์บุคลิก ลักษณะนิสัยคนอื่นเยอะๆ ก็จะสามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาสร้างเป็นตัวละครได้อย่างสมจริงและมีมิติได้อย่างแน่นอนครับ สู้ๆ


เด็กดีดอทคอม :: 5 ปัจจัยที่ทำให้คนอ่านอยากกด Favorite


พี่หวาย

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

ซ่อนนาม Member 3 พ.ค. 56 14:59 น. 8
แนะนำเพิ่ม...
ไม่ต้องมีส่วนแนะนำตัวละครก็ดีนะ

หลายเรื่องจะเห็นว่าคนเขียนมีส่วนแนะนำตัวละครอยู่บทแรก ๆ
นั่นเราว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่
เพราะมันจะทำให้คนเขียนไม่คิดที่จะบรรยายตัวละครในเนื้อเรื่องเอง
ทั้งที่การแนะนำตัวละครที่ดีควรจะให้ผู้อ่านรับรู้เองจากเนื้อเรื่องที่ดำเนิน
เพราะการจะให้ผู้อ่านเชื่อว่าตัวละครมีนิสัยเช่นนั้นได้เนียนที่สุด
ก็จากการบอกเล่ากิริยาท่าทาง ไม่ใช่การบอกให้ทราบด้วยข้อมูลกันโต้ง ๆ

นอกจากนี้มันยังเป็นการผูกมัดตัวเองว่าต้องเขียนตัวละครตามที่กำหนดเอาไว้
หากเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้อ่านมึนงงและไม่เชื่อมั่นฝีมือในผู้แต่งทันที
...มีคนบ่นเรื่องนี้กันเนือง ๆ เหมือนกัน

และที่สำคัญ หากตัวละครมีการพัฒนาขึ้น ก็จะขัดแย้งกับส่วนที่ลงแนะนำตัวละครไว้
ผู้อ่านก็จะรู้สึกว่าจับผิดกับเรื่องนั้นได้อยู่ดี
0
กำลังโหลด

25 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ซ่อนนาม Member 3 พ.ค. 56 14:59 น. 8
แนะนำเพิ่ม...
ไม่ต้องมีส่วนแนะนำตัวละครก็ดีนะ

หลายเรื่องจะเห็นว่าคนเขียนมีส่วนแนะนำตัวละครอยู่บทแรก ๆ
นั่นเราว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสักเท่าไหร่
เพราะมันจะทำให้คนเขียนไม่คิดที่จะบรรยายตัวละครในเนื้อเรื่องเอง
ทั้งที่การแนะนำตัวละครที่ดีควรจะให้ผู้อ่านรับรู้เองจากเนื้อเรื่องที่ดำเนิน
เพราะการจะให้ผู้อ่านเชื่อว่าตัวละครมีนิสัยเช่นนั้นได้เนียนที่สุด
ก็จากการบอกเล่ากิริยาท่าทาง ไม่ใช่การบอกให้ทราบด้วยข้อมูลกันโต้ง ๆ

นอกจากนี้มันยังเป็นการผูกมัดตัวเองว่าต้องเขียนตัวละครตามที่กำหนดเอาไว้
หากเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้อ่านมึนงงและไม่เชื่อมั่นฝีมือในผู้แต่งทันที
...มีคนบ่นเรื่องนี้กันเนือง ๆ เหมือนกัน

และที่สำคัญ หากตัวละครมีการพัฒนาขึ้น ก็จะขัดแย้งกับส่วนที่ลงแนะนำตัวละครไว้
ผู้อ่านก็จะรู้สึกว่าจับผิดกับเรื่องนั้นได้อยู่ดี
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด