Young Science Writer 2014 ประกวดนักเขียนวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์


        องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขอเชิญน้องๆ ระดับชั้นมัธยมปลาย (ม.4-ม.6) บอกเล่าความคิดในรูปแบบวารสารวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ
 

"เทคโนโลยีอนาคตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ"
(Future Technology for Global Climate Change)

คุณสมบัติผู้สมัคร
  1. เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6)
  2. ส่งผลงานผ่านทางโรงเรียนที่สังกัด
  3. แต่ละโรงเรียนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้โรงเรียนละไม่เกิน 3 ทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน
     
เนื้อหา "เทคโนโลยีอนาคตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ"
        การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change คือการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศ (ได้แก่ อุณหภูมิ ลม ฝน) ในพื้นที่หนึ่งใดพื้นที่หนึ่ง โดยในปีที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั่วทุกมุมโลก เช่น พายุหิมะถล่มประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ภัยแล้ง หรือพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงมากกว่าในอดีต และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
        การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางตรง อันได้แก่ภัยธรรมชาติทั้งหลาย เช่น อุทกภัยและวาตภัย ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน และทางอ้อม ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตรลดลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารได้ รวมถึงโรคที่มากับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เช่น โรคไข้เลือดออก ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิอาจมองเพียงแต่ผลเฉพาะหน้าเชิงประจักษ์ได้อีกต่อไปแต่ต้องมองลึกถึงผลพวงที่อาจเกิดขึ้นต่อระดับสังคมและครัวเรือนในเรื่องต่างๆอย่างเป็นลูกโซ่
        คุณคิดว่าเทคโนโลยีและองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ใดที่จะช่วยเรารับมือวิกฤติหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันเนื่องมาจากภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกได้ จากวิกฤติการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้ โดยจัดทำวารสารเพื่อให้ความรู้และแนวคิดกับผู้อ่านเกี่ยวกับ “เทคโนโลยีอนาคตเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Future Technology for Climate Change) บนเนื้อที่ ๖ หน้ากระดาษ A4 เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
โครงสร้างวารสาร ประกอบด้วย
หน้า 1 หน้าปกวารสาร
หน้า 2 สารบัญและบรรณาธิการ (Editor’s Note)
หน้า 3 คอลัมน์ข่าววิทยาศาสตร์
หน้า 4 – 5 คอลัมน์บทความพิเศษ
หน้า 6 คอลัมน์เกมหรือการร่วมสนุกกับวารสาร
 
การส่งผลงาน
        ส่งผลงาน (เป็นรูปเล่ม) พร้อมใบสมัคร (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) มาที่
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
        ภายในวันจันทร์ที่ 1 กันยายน 2557
 
วิธีการคัดเลือก
        การคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบ่งเป็น 2 รอบดังนี้
  1. รอบคัดเลือก (1-15 ก.ย.)
  • คัดเลือกนักเรียนจำนวน 20-25 ทีม จากทั่วประเทศ
  • ผู้ที่ได้รับคัดเลือกต้องมีแนวคิดที่สมเหตุสมผลทางวิทยาศาสตร์ มีการสืบค้น และอ้างอิงแหล่งข้อมูล มีรูปแบบการเขียนที่น่าสนใจ และสามารถสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกวันที่ 15 กันยายน 2557 ที่ www.nsm.or.th
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกต้องเข้าร่วมกิจกรรมค่ายนักเขียนวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ในรอบต่อไป
  1. รอบชิงชนะเลิศ (13-17 ต.ค.)
  • ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดมาร่วมกิจกรรมต่ายนักเขียนวิทยาศาสตร์ระหว่างวันที่ 13-17 ตุลาคม 2557 เพื่อฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนจากผู้เชี่ยวชาญ และนำไปพัฒนาผลงานของตนเองในการคัดเลือกรอบชิงชนะเลิศที่ อพวช.
  • ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้ใบประกาศนียบัตร "นักเขียนวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์"
  • การคัดเลือกจะพิจารณาจากผลงานที่ส่งเข้ามาในรอบคัดเลือก (50 คะแนน) และผลงานระหว่างการเข้าค่าย (50 คะแนน) โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน
     
รางวัล
  • รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 25,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
  • รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
  • รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
     
พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

กำลังโหลด

1 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด