ถอดสมการสร้างนิยายโดยเอาตัวละครเป็นหลัก!

        การเขียนนิยายมันมีจุดเริ่มต้นหลายแบบ บางคนเขียนจากเหตุการณ์ในชีวิตจริง บางคนได้ไอเดียจากนิยายที่อ่านมาอีกที และบางคนก็เริ่มเขียนจากตัวละคร 1 ตัว
        จะสร้างนิยายสักเรื่องโดยมีตัวละครเป็นจุดเริ่มต้น มีเทคนิคง่ายมาก พี่น้องเขียนมาให้เป็นสมการง่ายๆ แบบนี้เลยค่ะ
 

        เดี๋ยวเรามาลองถอดสมการนี้ดู
 

1. ตัวละคร

        ปัจจัยสำคัญในการเขียนนิยายก็คือเราต้องมีตัวละครก่อน จะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ยังได้ และตัวละครนั้นต้องมีอะไรบางอย่างที่ไม่ธรรมดา เพราะถ้าธรรมดา เราก็ไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องนั้นๆ จริงไหม
        เมื่อมีตัวละครแล้ว ขั้นตอนต่อมาเราก็ต้องสร้าง "แบรนด์" ให้ตัวละคร แบรนด์ที่ว่านี้ก็คือตราประทับให้คนอ่านรู้ว่าตัวละครตัวนี้ "ต่างจาก" ตัวละครอื่นๆ (ไม่งั้นคงไม่ได้มาเป็นตัวเอก) ต่างยังไงบ้าง
 
  • มีนิสัยที่ดีหรือไม่ดีแบบสุดโต่ง: ขี้โกหก, ซุ่มซ่าม, ใจดี, ซื่อตรง, ปากร้าย
  • มีลักษณะภายนอกที่แปลกไปจากคนอื่น: หน้าตาดีเหลือเกิน, อ้วนมาก, มีตาสามตา, ผิวเป็นโลหะ
  • มีความสามารถที่พิสดารเหนือมนุษย์: อ่านใจคนได้, บินได้, ย้อนเวลาได้, โง่สุดๆ
  • มีความชอบ หรือความกลัวแบบสุดโต่ง: เกลียดคนโกหกที่สุด, ชอบของที่มีขนนุ่มนิ่มมากๆ, กลัวผู้ชาย

        เมื่อเลือกคุณสมบัติมาสักหนึ่งข้อแล้ว หลังจากนั้นก็มานั่งคิด "ข้อเสีย" ให้คุณสมบัตินั้นค่ะ เช่น ตัวเอกอ่านใจคนได้ แต่ก็ดันมีนิสัยปากไว รู้อะไรแล้วพูดไปหมด ความสามารถนี้ของตัวเอกเลยกลายเป็นข้อเสียไป
 

2. เป้าหมาย

        เมื่อได้ตัวเอกที่มีนิสัยหรือคุณสมบัติแปลกๆ แล้ว ได้ "ข้อเสีย" ของคุณสมบัตินั้นแล้ว ทีนี้เราก็มาสร้างเป้าหมายให้กับตัวเอกกันค่ะ เนื่องจากตัวเอกมีคุณสมบัติที่เป็น "ข้อเสีย" เป้าหมายของเขาคือต้องเอาข้อเสียนั้นออกไป หรือเปลี่ยนข้อเสียให้กลายเป็นข้อดีให้ได้ เช่น
 
  • ชัคเกลียดผัก แต่ผู้หญิงที่เขาชอบดันเป็นแม่ค้าขายผักเสียนี่ เป้าหมายของชัคคือต้องเอาชนะความเกลียดของตัวเองเพื่อให้สมหวังในความรัก
  • นิทราเป็นเด็กสาวหน้าตาดีเหลือเกิน แต่ผู้ชายที่เธอชอบกลับเป็นหนุ่มเนิร์ดที่ประกาศชัดเจนว่าไม่ชอบผู้หญิงสวยอย่างเธอ เป้าหมายของเธอคือต้องเอาชนะใจหนุ่มเนิร์ดให้ได้ อาจจะด้วยการทำตัวเองให้ "ขี้เหร่"
  • คำพูดของโต้งศักดิ์สิทธิ์มาก บอกอะไรเป็นตามนั้นหมด แต่ถ้าเขาพลั้งปากแช่งใครก็ทำให้เกิดเรื่องแย่ๆ ได้เหมือนกัน เป้าหมายของโต้งคือต้องทำให้ความสามารถนี้หายไป หรือหาทางแก้เคล็ดให้ได้
     
        เชื่อไหมคะว่า ณ ตอนนี้เราได้ตอนต้นกับตอนจบของนิยายแล้ว ตอนต้นก็คือเราต้องแนะนำตัวเอกว่าเขามีคุณสมบัติที่เป็นผลเสียต่อตัวเองยังไง และตอนจบนั้นคือคนอ่านจะได้รู้ว่าคุณสมบัติจะเปลี่ยนจากร้ายเป็นดี หรือหายไปตลอดกาลหรือไม่
        แต่เรายังขาดส่วนสำคัญที่ทำให้วัตถุดิบของเรากลายเป็นเรื่องราวค่ะ
 

3. เหตุการณ์

        เรามีตัวละครที่เป็นตัวเปิดเรื่อง เรามีเป้าหมายที่เป็นตัวปิดเรื่อง แต่เรายังขาดเส้นที่จะเชื่อมระหว่างตอนต้นและตอนจบ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางนั่นเอง
        เหตุการณ์ระหว่างทางนี้ ทุกเหตุการณ์ต้องมีเป้าหมาย ต้องมีผลกระทบต่อตัวละคร อาจจะ "ผลัก" ให้ตัวละครเข้าหาเป้าหมายของตัวเอง หรือ "ดึง" ให้ตัวละครออกห่างจากเป้าหมายก็ได้
        เราจะสร้างเหตุการณ์เป็นไทม์ไลน์แบบนี้ค่ะ
 

        ที่ยกตัวอย่างไปเป็นพล็อตนิยายรักแบบง่ายๆ พอจะเอาไปเขียนเป็นเรื่องสั้นได้ ข้อความในส่วนสีชมพูคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข้อความในส่วนสีฟ้าคือ "ความเปลี่ยนแปลง" ที่เกิดขึ้น จากตอนแรกที่ตัวเอกมีคุณสมบัติซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความรัก เมื่อเรื่องดำเนินไป อุปสรรคนั้นก็ค่อยๆ หมดความหมายลง จนนางเอกรู้ว่าหน้าตาไม่ใช่ปัญหา แต่นิสัยต่างหากที่จะเอาชนะใจชายคนนี้ได้
        สังเกตไหมว่าเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นในเรื่องจะยังไม่ดึงตัวละครเข้าไปหาเป้าหมาย แต่เป็นแค่เหตุการณ์เกริ่นให้ผู้อ่านรู้ว่าจากนี้ไปตลอดทั้งเรื่องตัวเอกจะเจออุปสรรคที่ทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมายอีกมาก และอุปสรรคอีกมากมายนั้นจะค่อยๆ ดึงตัวเอกไปจนกระทั่งถึงไคลแมกซ์หรือเหตุการณ์สุดท้าย ที่ตัวเอกจะบรรลุเป้าหมายเสียที
 

        เหตุการณ์ยิ่งมาก เรื่องก็ยิ่งยาว เหมาะสำหรับใช้แต่งนิยายยาวๆ และมีข้อดีคือตัวละครจะเข้าใกล้เป้าหมายแบบค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเหตุการณ์มีน้อย ก็เหมาะสำหรับแต่งเรื่องสั้นที่จำกัดจำนวนหน้า ข้อเสียคือเราอาจมีเวลาไม่มากในการดึงตัวละครเข้าหาเป้าหมาย เผลอๆ อาจมีเนื้อที่พอสำหรับเหตุการณ์เดียว แล้วตัวละครต้องเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย
        เป็นยังไงคะ สมการนี้ เรียกว่าเป็นสมการง่ายๆ สำหรับฝึกเขียนเพื่อพัฒนาฝีมือ ความซับซ้อนของพล็อตขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราแทรกเข้าไปในเรื่อง ลองเอาไปใช้กับนิยายของตัวเองดูนะ

การนั่งเฉยๆ ไม่ช่วยให้เราเก่งขึ้นได้
ต้องเขียนไปเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ
เราจึงจะค้นพบทางที่ดีที่สุดสำหรับเรา

พี่น้อง
พี่น้อง - Columnist คอลัมนิสต์

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

นักอ่านนิยาย Member 3 ต.ค. 57 16:48 น. 1

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ แต่อยากถามว่าแล้วถ้าตัวละครนั้นไม่ได้จุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนไป แต่มีจุดประสงค์ในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนสิ่งนั้น เราจะมีวิธีการเขียนที่เหมือนหรือต่างจากสมการนี้ดีคะ

2
editor_nong Member 6 ต.ค. 57 11:37 น. 1-1
ถ้าอย่างนั้นประเด็นหลักของเรื่องก็ไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของตัวละคร แต่อยู่ที่เหตุการณ์ภายนอก ก็ใช้สมการนี้ได้เหมือนกันค่ะ แค่เปลี่ยนเป้าหมายที่เราต้องการ แล้วระหว่างทางตั้งแต่ต้นจนจบนั้น จะมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้ตัวละคร "เข้าใกล้" เป้าหมาย หรือออกห่างจาก "เป้าหมาย" มากขึ้น เช่น Harry Potter ประเด็นของเรื่องอยู่ที่การกำจัดเจ้าแห่งความมืดเพื่อให้พ่อมดแม่มดอยู่ในโลกอย่างสงบสุขเสียที ตลอดทั้งเรื่องก็ต้องใส่เหตุการณ์ที่ค่อยๆ ดึงให้แฮร์รี่เข้าหาเจ้าแห่งความมืดบ้าง แต่ทุกๆ ท้ายเล่มมันมักจะลงเอยด้วยการที่เขาไม่สามารถทำอะไรเจ้าแห่งความมืดได้ จนกระทั่งเล่มสุดท้ายที่แฮร์รี่เรียนรู้มากพอ และพร้อมจะเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ทตัวต่อตัวแล้ว แต่ไม่ว่าประเด็นของเรื่องจะอยู่ที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ ตัวละครก็มักจะเปลี่ยนแปลงจากภายในอยู่เสมอค่ะ ตัวละครอาจจะโตขึ้น เข้มแข็งขึ้น หรือเปลี่ยนทัศนคติบางอย่างเพราะบทเรียนที่ได้มา ต้องอย่าลืมตรงนี้นะคะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
เฮเซลนัท Member 5 ต.ค. 57 15:38 น. 8

ขอบคุณมากๆค่ะเรื่องที่แล้วเขียนไปแบบงงเลยต้องโละใหม่หมด เสียใจ พอได้คำแนะนำแบบนี้ดีใจมากๆค่ะ เรื่องต่อไปจะได้แต่งแบบไม่งงอีก จะนำไปปรับใช้กับนิยายนะคะ คือที่จริงถ้าไม่เจอบทความนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะขึ้นพล๊อตยังไงนะเนี่ย555 ชูสองนิ้ว จะพยายามนะคะ สู้สู้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

43 ความคิดเห็น

นักอ่านนิยาย Member 3 ต.ค. 57 16:48 น. 1

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ แต่อยากถามว่าแล้วถ้าตัวละครนั้นไม่ได้จุดประสงค์ที่จะเปลี่ยนไป แต่มีจุดประสงค์ในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเปลี่ยนสิ่งนั้น เราจะมีวิธีการเขียนที่เหมือนหรือต่างจากสมการนี้ดีคะ

2
editor_nong Member 6 ต.ค. 57 11:37 น. 1-1
ถ้าอย่างนั้นประเด็นหลักของเรื่องก็ไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงของตัวละคร แต่อยู่ที่เหตุการณ์ภายนอก ก็ใช้สมการนี้ได้เหมือนกันค่ะ แค่เปลี่ยนเป้าหมายที่เราต้องการ แล้วระหว่างทางตั้งแต่ต้นจนจบนั้น จะมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้ตัวละคร "เข้าใกล้" เป้าหมาย หรือออกห่างจาก "เป้าหมาย" มากขึ้น เช่น Harry Potter ประเด็นของเรื่องอยู่ที่การกำจัดเจ้าแห่งความมืดเพื่อให้พ่อมดแม่มดอยู่ในโลกอย่างสงบสุขเสียที ตลอดทั้งเรื่องก็ต้องใส่เหตุการณ์ที่ค่อยๆ ดึงให้แฮร์รี่เข้าหาเจ้าแห่งความมืดบ้าง แต่ทุกๆ ท้ายเล่มมันมักจะลงเอยด้วยการที่เขาไม่สามารถทำอะไรเจ้าแห่งความมืดได้ จนกระทั่งเล่มสุดท้ายที่แฮร์รี่เรียนรู้มากพอ และพร้อมจะเผชิญหน้ากับโวลเดอมอร์ทตัวต่อตัวแล้ว แต่ไม่ว่าประเด็นของเรื่องจะอยู่ที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ ตัวละครก็มักจะเปลี่ยนแปลงจากภายในอยู่เสมอค่ะ ตัวละครอาจจะโตขึ้น เข้มแข็งขึ้น หรือเปลี่ยนทัศนคติบางอย่างเพราะบทเรียนที่ได้มา ต้องอย่าลืมตรงนี้นะคะ เยี่ยม
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
*HueDream~ Member 3 ต.ค. 57 23:43 น. 6

~~ขอบคุณนะคะ

นิยายที่แต่งอยู่ก็ใช้วิธีขยายพล็อตจากตัวเอกเหมือนกัน ><

แต่ตอนนี้พล็อตมันขยายไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุดเลย แง้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เฮเซลนัท Member 5 ต.ค. 57 15:38 น. 8

ขอบคุณมากๆค่ะเรื่องที่แล้วเขียนไปแบบงงเลยต้องโละใหม่หมด เสียใจ พอได้คำแนะนำแบบนี้ดีใจมากๆค่ะ เรื่องต่อไปจะได้แต่งแบบไม่งงอีก จะนำไปปรับใช้กับนิยายนะคะ คือที่จริงถ้าไม่เจอบทความนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะขึ้นพล๊อตยังไงนะเนี่ย555 ชูสองนิ้ว จะพยายามนะคะ สู้สู้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
minimize Member 6 ต.ค. 57 18:18 น. 10

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

กำลังอยากลองเริ่มเขียนนิยายแต่ไม่รู้ว่าจะต่อเรื่องยังไง

พอมาเจอกระทู้นี้ช่วยได้มากๆเลยค่ะ ตั้งใจ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด