How to เขียนนิยายให้ประสบความสำเร็จ

7 เคล็ดลับที่จะทำให้งานเขียนของเรามีคุณภาพกว่าเดิม  
 

สวัสดีชาวไรเตอร์เด็กดีทุกคน ไม่อ้อมค้อมอะไรมาก วันนี้ เรามาพร้อม 7 เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้งานเขียนประสบความสำเร็จ ซึ่งแม้แต่ละข้อจะสั้นๆ แต่ก็ตรงเป้าและชัดเจนได้ประโยชน์มาก อยากให้อ่านและนำไปลองปรับใช้กับตัวเองนะ
 
ใครอยากเป็นนักเขียน มาอ่านไปพร้อมๆ กัน
 

ไม่ควรเขียนงานจบภายในครั้งเดียว

การเขียนหนังสือไม่ใช่เรื่องง่าย มันต้องใช้พลังงานมาก คนเขียนที่จริงจังกับงานเขียน มักจะเครียดและกดดันกันทุกคน ที่แย่กว่านั้นคือ งานที่เราคิดว่าดี หรือว่าทำเต็มที่แล้ว พอออกสู่สาธารณะ อาจถูกต่อว่าหรือวิพากษ์วิจารณ์เสียๆ หายๆ ได้ นักเขียนหลายคน พอได้รับคำวิจารณ์แง่ลบมากๆ อาจจะเสียใจ บางคนเลิกเขียนไปเลยก็มี คำแนะนำคือ... อย่าเขียนเรื่องจบภายในครั้งเดียว
 
ถามว่าทำอย่างไร คำตอบคือ เขียนหลายๆ ครั้ง หรือถ้าใช้ภาษาอังกฤษก็คือ เขียนหลายๆ ดราฟท์ โดยดราฟท์แรกนั้น เราอาจไม่ต้องคิดมาก แค่เขียนทุกอย่างที่อยากจะเห็นในนิยายของเราลงไป จากนั้นพอดราฟท์ที่สอง เราก็ค่อยๆ ปรับงานนั้นให้ดีขึ้น พอดราฟท์ที่สาม ก็เก็บงานอีกครั้ง แก้ไปเรื่อยๆ จนดราฟท์ที่สี่ ดราฟท์ที่ห้า หรืออาจจะไปถึงดราฟท์ที่สิบ ขึ้นอยู่กับว่า... เราจะพอใจกับงานในดราฟท์ไหน
 
สรุปสั้นๆ เทคนิคพิเศษของหัวข้อนี้ก็คือ “การรีไรท์” นั่นเอง
 
คำแนะนำในการร่างดราฟท์แรก
  1. ปิดประตูหน้าต่างห้องให้สนิท แล้วใช้เวลาอยู่กับตัวเองและหน้าคอมพิวเตอร์ หรือสมุดจดในมือ
  2. ณ ตอนนั้น ต้องอยู่ในอารมณ์อยากเขียนมากๆ ไม่ใช่กำลังเบื่อหรือเซ็งอะไรอยู่
  3. เขียนทุกอย่างที่อยากเขียน เขียนมันให้หมด จะบ้าบอแค่ไหนก็เขียนลงไปเลย
  4. แหกทุกกฎการเขียน ไม่ต้องเขียนตามใคร เขียนอย่างที่ใจต้องการ
  5. พอเขียนดราฟท์แรกจบ ให้ทิ้งไว้ก่อนอย่างน้อยๆ 2-3 วัน หรือจะนานกว่านั้นก็ได้ พอเริ่มลืมแล้วว่าตัวเองเขียนอะไรลงไป ค่อยกลับมาอ่านใหม่   
     

อย่าเขียนอะไรซ้ำๆ ซากๆ

การเขียนงานซ้ำๆ แบบที่เราถนัด อาจเป็นเรื่องง่ายและทำให้สบายใจ แต่... มันไม่อาจพาเราไปสู่จุดสำเร็จสูงสุดได้เลย งานเขียนที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ ควรจะทำให้เราตื่นเต้น มีแรงกระตุ้น กระตือรือร้น เมื่อเรารู้สึกเช่นนั้น คนอ่านก็จะรู้สึกตามไปด้วย
 
การทำงานซ้ำๆ เขียนอะไรซ้ำๆ มุกซ้ำๆ ก็จะทำให้งานของเราน่าเบื่อ ยิ่งเราใช้คำเดิมๆ เขียนเหตุการณ์เดิมๆ เล่าเรื่องแบบเดิม ก็ยิ่งจะทำให้งานเขียนขาดประสิทธิภาพ คำแนะนำคือ ให้ลองใช้ภาษาใหม่ๆ ปรับตัวเอง อย่าเอาแต่รักสบาย ทำอะไรเดิมๆ เขียนอะไรตรงกันข้าม หรือทำอะไรแบบที่ไม่เคยทำ ก็จะช่วยให้งานของเราน่าตื่นเต้น และมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
 

หาสไตล์ของตัวเองให้พบ

นักเขียนนิยายทุกคน ควรหาสไตล์ของตัวเองให้เจอ และคำแนะนำของเราก็คือ... ลองเขียนเหมือนเวลาคุณเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง
 
ฟังแล้วเหมือนจะง่าย “เขียนเหมือนเล่าเรื่องให้เพื่อนฟัง” แต่จริงๆ แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเวลาเขียน เราก็อาจเผลอปรับสำนวนตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ก็นึกไม่ออกว่าควรจะใช้คำว่าอะไรมาแทน วิธีแก้ไขในเรื่องนี้คือ ระหว่างที่เขียน ให้ลองนึกภาพเพื่อนสนิทมานั่งอยู่ตรงหน้า จากนั้นก็เขียน ด้วยสำนวนที่คุณจะพูดกับเพื่อนคนนั้น โดยพยายามปรับและตัดส่วนเกิน พวกคำสร้อยไม่จำเป็นออกไปบ้าง เท่านี้ ก็จะได้งานเขียนในสไตล์ของคุณแล้ว
 

รู้จักเว้นจังหวะในการเขียนและแบ่งย่อหน้าให้ดี

การเขียนเหมือนเล่าให้เพื่อนฟัง อาจเป็นอุปสรรค ทำให้เราพลาดเรื่องการแบ่งจังหวะการเขียนไป เพราะบางครั้งเวลาเราคุยกับเพื่อน เราจะเล่าเรื่องยืดยาว จนอาจจะน่าเบื่อ เพราะฉะนั้น หลังจากเขียนจบ ควรมาอ่านทวน แล้วลองปรับจังหวะการเขียน ตัดคำ เว้นวรรค แบ่งย่อหน้าให้ดี คำแนะนำคือ เวลาเขียน ให้เลือกแต่เรื่องสำคัญจำเป็น คำพูดที่ใช้หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เลือกมาเขียน ก็ควรจะเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อเนื้อเรื่อง ไม่ใช่เขียนอะไรเรื่อยเปื่อยเปะปะ ไม่มีเป้าหมาย
   

เขียนให้น้อย ดีกว่าเขียนมากๆ

ฟังแล้วอาจจะงงๆ แต่หลังจากเราร่างดราฟท์แรกที่ค่อนข้างจะเวิ่นเว้อ เยอะแยะมากมาย ก็ได้เวลาที่เราต้องปรับแก้ ตัด และอ่านทวนอย่างตั้งใจ ในช่วงเวลาของการปรับแก้นี้ คือช่วงเวลาแห่งการ “ตัด” ข้อความที่ไม่จำเป็นออก ถามว่า... อะไรไม่จำเป็น คำตอบคือ ถ้าเราตัดมันออก แล้วเนื้อหายังดำเนินต่อไปได้ ยังอ่านส่วนอื่นๆ รู้เรื่อง ก็ ตัดมันออกซะเถอะ! เรารู้ว่าคุณกำลังเถียงว่า โห เสียดาย เขียนมาตั้งนาน แต่... เชื่อเถอะ งานเขียนที่ดี คืองานที่กระชับได้ใจความ ไม่ใช่งานที่บรรยายยืดยาว
 

หาคนมาช่วยอ่าน

หลายคนบอกว่า ลงนิยายไม่มีใครอ่าน เราพอจะเข้าใจ... แต่... ในที่นี้ เราหมายถึงคนอ่านส่วนตัว คนใกล้ชิดของเราเอง พ่อ แม่ เพื่อน หรือใครก็ได้ที่พร้อมจะช่วยอ่านและวิจารณ์งานของเรา ถ้าหากว่าเขาใจดีพอ หรือเป็นไปได้ แนะนำให้เขาอ่านทั้งงานดราฟท์แรก และดราฟท์อื่นๆ ที่เราปรับแก้แล้ว แล้วให้ลองวิจารณ์ดูว่า การแก้ไขได้ช่วยเหลือเราหรือไม่ เขียนคนเดียว อ่านคนเดียว ไม่ใช่เรื่องที่ดี การรับฟังคนอื่น และนำความเห็นที่ได้มาปรับใช้ จะช่วยให้งานเขียนของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น  
 

ถึงเจอเรื่องแย่ๆ ก็อย่ายอมแพ้ เขียนต่อไป

นิยายไม่มีใครอ่าน โดนวิจารณ์แรงๆ เรียนหนัก ทำงานหนัก ไม่มีเวลา ปัญหาอะไรก็ตามที่พบเจอ อย่าให้มันมาบั่นทอนกำลังใจ ทำให้เราเลิกเขียนงานได้ ถ้าอยากเป็นนักเขียน หน้าที่ของเราคือเขียนต่อไปเรื่อยๆ ฝึกฝนต่อไป พยายามทำทุกทางให้ได้เขียน ไม่ว่างานที่ออกมาจะดีหรือไม่ดี ก็ขอให้เขียนต่อ และอย่าหยุด คำแนะนำในข้อนี้ ไม่ต้องเขียนเยอะมาก แต่เขียนให้บ่อยๆ เขียนจนติดเป็นนิสัย จำไว้ว่า ถ้าอยากเก่ง ก็ต้องฝึกฝน ไม่มีใครเก่งได้ในวันเดียวหรอก นักเขียนทุกคนล้วนแต่ผ่านประสบการณ์การเขียนอย่างหนัก กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ทุกคนต่างก็ต้องพยายาม
 
เพราะฉะนั้น ถ้าอยากเป็นนักเขียน ก็อย่ายอมแพ้ พยายามต่อไป
 
อตินเอง


 

พี่อติน
พี่อติน - Writer Editor ผู้ดูแลหมวดนักเขียนที่หลงใหลการอ่านแบบสุดๆ และไม่เคยพลาดทุกข่าวสารในวงการวรรณกรรม!

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

สายลม 17 ธ.ค. 58 17:15 น. 8
อ่านแล้วรู้สึกดีจัง มีกำลังใจในการจะเขียน เพราะอยากจะเขียน ชอบเขียนบันทึก บอกใครว่าอยากเป็นนักเขียน แต่ตอนนี้สิ่งสำคัญคือไม่กล้าเขียน ไม่กล้าลอง มันมันจะซ้ำของคนอื่น เพราะเราอ่านมาเยอะ แต่ได้อ่านบทความนี้ทำให้มีแรงฮึดนะ ใช้ภาษาให้เราเข้าใจง่าย และมองว่าเราน่าจะทำได้ ขอบคุณนะคะคุณอติน (คนที่เราไม่เคยรู้จักกัน แต่แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กันได้) ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
1
กำลังโหลด
มานา นักอ่านนิยาย Member 16 ธ.ค. 58 19:29 น. 7

ขอบคุณพี่อตินนะครับ ที่มาบอกเล่าอะไรดี ๆ ให้ฟัง เดี๋ยวจะเอาไปทำบ้างดีกว่า หลาย ๆ ข้อเป็นอะไรที่เรารู้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำ เช่น การรีไรต์ จริง ๆ แล้วมันเป็นวิธีที่ใคร ๆ ก็แนะนำและอยากให้ทำ แต่พอเราเขียนเสร็จแล้ว เราก็ไม่มีกระจิตกระใจจะไปทำอะไรกับเนื้อความตรงนั้นแล้ว นอกจากอัพลงเว็บเลย บางทีแม้แต่ภาษายังไม่ได้เกลาให้เรียบร้อยเลย 55555 แต่เราว่าบทความนี้ก็ช่วยเตือนใจในสิ่งที่เราลืม ๆ ไปแล้วนะ ต้องขอขอบคุณพี่อตินอีกครั้งนะครับ ^^

1
กำลังโหลด
Catlovely9130 Member 14 ธ.ค. 58 16:34 น. 1

มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ตอนนี้ก้กำลังเเต่งนิยายอยู่ด้วย ขอบคุณสำหรับคำเเนะนำนะคะ จะนำไปลองประยุกต์ใช้ดูนะคะ สู้สู้สู้สู้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด

20 ความคิดเห็น

Catlovely9130 Member 14 ธ.ค. 58 16:34 น. 1

มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ตอนนี้ก้กำลังเเต่งนิยายอยู่ด้วย ขอบคุณสำหรับคำเเนะนำนะคะ จะนำไปลองประยุกต์ใช้ดูนะคะ สู้สู้สู้สู้

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
Megan Ignacia Member 14 ธ.ค. 58 20:58 น. 4
เป็นปนะโยชน์มากเลยค่ะ โดยเฉพาะเร่องการวรรคตอน จัดย่อหน้า ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาแต่สำคัญมาก เพราะทำให้สบายตา น่าอ่าน บางเรื้องสนุกนะแต่จัดหน้าได้แย่ก็ทนอ่านได้ไม่จบ ปวดตามาก ส่วนเรื่อง rewrite แนะนำจริงๆ เราเองก็แก้มาหลายรอบยังไม่พอใจเท่าไร ทุกครั้งที่กลับไปแก้ก็เจอข้อผิดพลาดเล็กๆน้อยๆเสมอ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
มานา นักอ่านนิยาย Member 16 ธ.ค. 58 19:29 น. 7

ขอบคุณพี่อตินนะครับ ที่มาบอกเล่าอะไรดี ๆ ให้ฟัง เดี๋ยวจะเอาไปทำบ้างดีกว่า หลาย ๆ ข้อเป็นอะไรที่เรารู้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำ เช่น การรีไรต์ จริง ๆ แล้วมันเป็นวิธีที่ใคร ๆ ก็แนะนำและอยากให้ทำ แต่พอเราเขียนเสร็จแล้ว เราก็ไม่มีกระจิตกระใจจะไปทำอะไรกับเนื้อความตรงนั้นแล้ว นอกจากอัพลงเว็บเลย บางทีแม้แต่ภาษายังไม่ได้เกลาให้เรียบร้อยเลย 55555 แต่เราว่าบทความนี้ก็ช่วยเตือนใจในสิ่งที่เราลืม ๆ ไปแล้วนะ ต้องขอขอบคุณพี่อตินอีกครั้งนะครับ ^^

1
กำลังโหลด
สายลม 17 ธ.ค. 58 17:15 น. 8
อ่านแล้วรู้สึกดีจัง มีกำลังใจในการจะเขียน เพราะอยากจะเขียน ชอบเขียนบันทึก บอกใครว่าอยากเป็นนักเขียน แต่ตอนนี้สิ่งสำคัญคือไม่กล้าเขียน ไม่กล้าลอง มันมันจะซ้ำของคนอื่น เพราะเราอ่านมาเยอะ แต่ได้อ่านบทความนี้ทำให้มีแรงฮึดนะ ใช้ภาษาให้เราเข้าใจง่าย และมองว่าเราน่าจะทำได้ ขอบคุณนะคะคุณอติน (คนที่เราไม่เคยรู้จักกัน แต่แบ่งปันสิ่งดีๆ ให้กันได้) ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
1
กำลังโหลด
milk-ccl Member 31 ธ.ค. 58 21:17 น. 9
ขอบคุณมากๆนะคะ อ่านแล้วกำลังใจมาเลย ปกติเวลาว่างๆ เราก็ชอบขีดๆเขียนๆอยู่แล้ว บางทีนั่งคิดอะไรเพลินๆพล็อตนิยายลอยมาก็มี ยิ่งโดยเฉพาะช่วงสอบ พล็อตนิยายไหลลื่นยิ่งกว่าเนื้อหาที่จะออกในข้อสอบอีก 555 ยังไงก็ฝากติดตามนิยายทะลุมิติเรื่อง "ข้ามเวลา ตามหารัก" ด้วยนะคะ เรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิยายกับละครโทรทัศน์จีนเรื่อง ปู้ปู้จิงซิน ค่ะ อ่านแล้วพบข้อผิดพลาดประการใดติชมได้ค่ะ ยินดีนำข้อผิดพลาดทุกกรณีไปพิจารณาเพื่อแก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้นไปค่ะ
0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยเจ้าของ

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
C.HERLICE Member 10 ก.ค. 59 19:19 น. 16

วิธีแรกนี่ทำบ่อยมาก เขียนไปสามสี่หน้ามาอ่านแล้วไม่ใช่ก็เขียนใหม่ หลายรอบจนเปลี่ยนเรื่องเขียน พอรีไรท์ซ้ำไปมาหลายๆ รอบจะเกิดอาการเบื่อเรื่องนี้ขึ้นมา 55555555555555555555

0
กำลังโหลด
Chorbor_CB Member 3 ม.ค. 60 21:29 น. 17
ขอบคุณมากๆนะคะ รูสึกว่าอ่านแล้วมันไม่หมดกำลังใจ ช่วยเราได้มากทุกข้อ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย สัญญาว่าจะไม่ท้ออีก เข้าใจแล้วค่ะว่าการเขียนมันมีอุปสรรค กว่าจะประสบความสำเร็จมันไม่ง่ายเลย ขอบคุณอีกครั้งจริงๆค่ะ จะพยายามต่อไปนะคะ วิธีดีๆแบบนี้ต้องลอง โดยเฉพาะข้อแรก บอกตรงๆว่าไม่เคยคิดจะทำเลย แต่พอมาอ่านบทความนี้แล้ว เราว่าการรีไรท์ใหม่มันคงไม่เลวเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
0
กำลังโหลด
Chorbor_CB Member 3 ม.ค. 60 21:29 น. 18
ขอบคุณมากๆนะคะ รูสึกว่าอ่านแล้วมันไม่หมดกำลังใจ ช่วยเราได้มากทุกข้อ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย สัญญาว่าจะไม่ท้ออีก เข้าใจแล้วค่ะว่าการเขียนมันมีอุปสรรค กว่าจะประสบความสำเร็จมันไม่ง่ายเลย ขอบคุณอีกครั้งจริงๆค่ะ จะพยายามต่อไปนะคะ วิธีดีๆแบบนี้ต้องลอง โดยเฉพาะข้อแรก บอกตรงๆว่าไม่เคยคิดจะทำเลย แต่พอมาอ่านบทความนี้แล้ว เราว่าการรีไรท์ใหม่มันคงไม่เลวเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
0
กำลังโหลด
Chorbor_CB Member 3 ม.ค. 60 21:29 น. 19
ขอบคุณมากๆนะคะ รูสึกว่าอ่านแล้วมันไม่หมดกำลังใจ ช่วยเราได้มากทุกข้อ โดยเฉพาะข้อสุดท้าย สัญญาว่าจะไม่ท้ออีก เข้าใจแล้วค่ะว่าการเขียนมันมีอุปสรรค กว่าจะประสบความสำเร็จมันไม่ง่ายเลย ขอบคุณอีกครั้งจริงๆค่ะ จะพยายามต่อไปนะคะ วิธีดีๆแบบนี้ต้องลอง โดยเฉพาะข้อแรก บอกตรงๆว่าไม่เคยคิดจะทำเลย แต่พอมาอ่านบทความนี้แล้ว เราว่าการรีไรท์ใหม่มันคงไม่เลวเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้เราด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด