Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดปากน้ำ วัดอัปสรสวรรค์ วัดขุนจันทร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

     คราวนี้ ผมจะได้นำเสนอวัดอีกสามวัด ซึ่งอยู่ทางฝั่งธนบุรี เป็นวัดที่มีอาณาเขตใกล้ๆ กัน สามารถเดินไปถึงกันได้หมด นั่นคือ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ วัดอัปสรสวรรค์ และวัดขุนจันทร์


     มาเริ่มกันที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญกันก่อน เป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่าวัดปากน้ำ ก็เพราะวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไปจากคลองบางหลวงอีก ในจดหมายเหตุหรือพงศาวดาวบางเล่มได้เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดสมุทธาราม ด้วย 

     ในสมัยรัชกาลที่ ๖ วัดนี้ทรุดโทรมลงมาก ทางเจ้าคณะัปกครองจึงส่ง พระสมุห์สด จนฺทสโร หรือที่เรารู้จักท่านดีในนาม หลวงพ่อสด หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำ จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดจนเจริญขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งต่อมาท่านได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยๆ สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระมงคลเทพมุนี










พระประธานในพระอุโบสถ







จิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องพุทธประวัติ



นอกจากเรื่องพุทธประวัติ ยังมีจิตรกรรมรูปเจติยสถานสำคัญๆ ของวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย อย่างในภาพคือ พระปรางค์วัดอรุณ กทม.





วัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี





พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม





และยังมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย






ป้ายชื่อวัดทางด้านริมคลอง มีั้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น




พระมหาเจดีย์มหารัชมงคลสูงเด่นเป็นสง่า


หอสังเวชนีย์มงคลนิรมิต ชั้นบนประดิษฐานสังขารของหลวงพ่อสดในโลงทอง และมีหุ่นขี้ผึ้งของท่านด้วย

   เดินจากวัดปากน้ำไปไม่ไกล ก็จะถึงวัดอัปสรสวรรค์


   วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างโดยเศรษฐีชาวจีนชื่อ จีนอู๋ บริเวณที่เลี้ยงหมู เมื่อสร้างเสร็จแล้ว มีหมูเข้ามาเดินเต็มไปหมด ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหมู ต่อมารัชกาลที่ ๓ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดอัปสรสวรรค์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าจอมน้อย ซึ่งแสดงเป็นสุหรานากงในละครเรื่องอิเหนาได้ดีจนคนเรียกว่า เจ้าจอมน้อยสุหรานากง



พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบจีน ตามพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓









พระประธานในพระอุโบสถ มี ๒๘ องค์ แทนพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ (ผมชอบมาก ดูแปลกตาดี)










แผนผังการประดิษฐานของพระประธานทั้ง ๒๘ องค์ ซึ่งนามของพระประธานทุกองค์นั้น ก็มาจากพระนามของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์ องค์ที่อยู่บนสุดคือพระพุทธเจ้าตัณหังกร ส่วนองค์ล่างสุดคือ พระพุทธเจ้าโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของพวกเรานั่นเอง




พระวิหาร สร้างด้วยศิลปะแบบจีนเช่นเดียวกัน






พระมณฑป




บนพระมณฑปประดิษฐาน หลวงพ่อฉันสมอ ซึ่งอัญเชิญมาจากลาว ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริที่จะอัญเชิญหลวงพ่อฉันสมอองค์นี้ไปประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง แต่เกิดเหตุอัศจรรย์ ฝนตกติดต่อกันนานถึง ๓ วัน ทำให้อัญเชิญไปไม่ได้ จนในที่สุด รัชกาลที่ ๕ ก็มิได้ทรงอัญเชิญหลวงพ่อฉันสมอนี้ไป และยังคงประดิษฐานที่วัดอัปสรสวรรค์มาจนถึงปัจจุบัน องค์ี่ที่เห็นนี้เป็นองค์จำลอง องค์จริงเจ้าอาวาสได้่นำไปประดิษฐานไว้ที่กุฏิเพื่อป้องกันคนมาขโมย
  ประวัติของพระพุทธรูปปางฉันสมอ คือ พระพุทธเจ้า ทรงประทับใต้ต้นเกดเพื่อเสวยวิมุตติสุข ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) รู้มาว่าตั้งแต่ตรัสรู้มา ๗ สัปดาห์ ยังมิได้ทรงเสวยอะไรเลย จึงนำเอาผลสมอมาถวายให้




หอไตร




พระปรางค์

      เดินข้ามสะพานข้ามคลองจากวัดอัปสรสวรรค์ ก็จะถึงวัดขุนจันทร์ หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการเพราะๆ ว่า วัดวรามาตยภัณฑสาราราม 

    วัดนี้ พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) มหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้สร้างวัดขึ้นบนที่ดินสวนคลองบางหลวงแล้วตั้งชื่อวัดว่าวัดขุนจันทร์ เวลาผ่านไปหลายปี วัดไ้ด้ทรุดโทรมลงมาก คุณท้าวภัณฑสาร บุตรสาวของพระยามหาอำมาตย์ จึงได้บูรณะวัดนี้แล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับทรงพระราชทานนามชื่อใหม่ให้วัดนี้โดยรวมชื่อผู้สร้าง (พระยามหาอำมาตย์) และผู้ปฏิสังขรณ์ (คุณท้าวภัณฑสาร) ว่า วัดวรามาตยภัณฑสาราราม (ผมรู้สึกว่าวัดนี้ พระพุทธรูปจะออกศิลปะแนวๆ มอญ พม่า ยังไงก็ไม่รู้)



จากบนสะพานข้ามคลอง จะเห็นพระนอน





และเห็นเบื้องหลังของหลวงพ่อใหญ่






พระพุทธชินราชจำลองขนาดยักษ์ หรือที่เรียกกันว่า หลวงพ่อใหญ่















ใต้องค์หลวงพ่อใหญ่จะมีรูปปั้นพระราหู ที่วัดนี้จะมีพิธีบูชาพระราหูเป็นงานประจำปี






ใต้ฐานองค์หลวงพ่อใหญ่ จะมีห้อง ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง






ใต้ฐานพระนอน มีองค์พระพุทธไสยาสน์ที่สร้างจากหยกขาวด้วย












พระปรางค์





พระอุโบสถ








ยักษ์ทวารบาลที่หน้าพระอุโบสถ




หลวงพ่อโต วัดขุนจันทร์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญของวัดขุนจันทร์องค์หนึ่ง ตอนแรกมีแค่ศาลามุงจาก จนตอนหลังชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวิหารให้ท่านในปี พ.ศ.๒๕๐๖ (ทีแรกผมนึุกว่าองค์พระพุทธชินราชนั่นคือหลวงพ่อโต แต่จริงๆ คือหลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่อโตคือองค์นี้)





พระเจดีย์ อยู่ในบริเวณเดียวกับพระอุโบสถ





วิหารหลวงพ่อหยกขาว






หลวงพ่อหยกขาว





พระพุทธไสยาสน์ ในวิหารหลวงพ่อหยกขาว




สิงห์ที่บันไดทางขึ้นเมรุ





พระพุทธวิมุตติสุข เป็นพระพุทธรูปปางเสวยวิมุตติสุข (เอนนอน) ไม่เหมือนปางไสยาสน์


กระทู้อื่นๆ ในหมวดนี้


ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดสุทัศนเทพวราราม
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดบวรนิเวศวิหาร
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดสระเกศ
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดราชนัดดาราม และ วัดเทพธิดาราม
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดราชบพิธ และ วัดราชประดิษฐ์
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดปทุมวนาราม
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดราชโอรสาราม
ะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดพิชัยญาติ และ วัดอนงคาราม
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดไตรมิตรวิทยาราม
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดอรุณราชวราราม และ วัดโมลีโลกยาราม

ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดราชาธิวาส
ตะลุยวัดในกรุงเืทพฯ ตอน วัดอินทรวิหาร

ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดบพิตรพิมุข วัดจักรวรรดิ วัดราชบุรณะ
ะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดประยุรวงศาวาส
ตะลุยวัดในกรุงเทพฯ ตอน วัดระฆังโฆสิตาราม และ วัดกัลยาณมิตร




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 30 มกราคม 2556 / 00:10
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556 / 21:07
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2556 / 21:00
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 17 พฤษภาคม 2556 / 23:18

แสดงความคิดเห็น

>