ไอเดียนี้ไม่ใช่ของเรา! รู้จัก "Cryptomnesia" อาการที่สมองขโมยความทรงจำตัวเอง

สวัสดีค่ะชาว Dek-D ทุกคนน~ น้องๆ เคยเป็นเหมือนกันมั้ย? ที่บางทีก็รู้สึกว่าหลงลืมสิ่งที่เคยทำไปแล้ว หรือมีบางครั้งที่ความคิดของเราดันไปคล้ายกับความคิดของคนอื่นโดยไม่รู้ตัวซะงั้น ถ้าใครเคยเป็นแบบนี้ อาจเข้าข่ายอาการ ‘Cryptomnesia’ หรือ ‘อาการที่สมองเผลอขโมยความทรงจำของตัวเอง’ ก็ได้นะคะ

วันนี้พี่บีมบันจะพาน้องๆ ไปรู้จักกับอาการนี้กันว่าเกิดจากอะไร แล้วมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง พร้อมแล้วก็ไปกันเลยค่าา ~ 

• • • • • • • • •  •

Photo Credit:  www.freepik.com
Photo Credit:  www.freepik.com

‘Cryptomnesia’ เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ไม่บ่อยเลยค่ะ เกิดจากการที่สมองนำความทรงจำใหม่มาซ้อนทับกับความทรงจำเดิม แทนการประมวลผลว่าเราเคยเห็นหรือได้ความคิดนี้มาจากที่ไหน ทำให้คนที่มีอาการนี้ลืมและคิดว่าตัวเองเป็นคนคิดไอเดียนี้ขึ้นมาเองค่ะ

ปล. คำว่า ‘Crypto-’ นี้มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ‘Kryptós’ ที่แปลว่าหลบซ่อน (Hidden) นั่นเองค่ะ

• • • • • • • • •  •

เผลอก๊อบปี้ไอเดียคนอื่นไม่รู้ตัว!

Photo Credit:  www.freepik.com
Photo Credit:  www.freepik.com

ฟังผิวเผินอาจดูเหมือนเรื่องบังเอิญ แต่ความจริงอาการนี้น่ากลัวกว่าที่คิดนะคะ โดยเฉพาะกับคนที่เรียนหรือทำงานสายอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ผลงาน ไม่ว่าจะเป็น ศิลปิน นักเขียน หรือนักแต่งเพลง อาจทำให้ไปเผลอลอกเลียนแบบผลงานของคนอื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะสมองดันเชื่อว่าเราคิดขึ้นมาเองทั้งหมด (อันตรายมากก!)

แต่ใดๆ ก็คือเจ้าอาการ Cryptomnesia ก็ไม่สามารถยกมาใช้เป็นข้ออ้างในการเลียนแบบผลงานผู้อื่นนะคะ เพราะการคัดลอกผลงานในสายอาชีพแบบนี้เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากๆ

• • • • • • • • •  •

กรณีศึกษาอันโด่งดัง

Helen Keller (ซ้าย) และ Anne Sulivan  (ขวา) อาจารย์ของเธอ
Helen Keller (ซ้าย) และ Anne Sulivan  (ขวา) อาจารย์ของเธอ
 Photo Credit: https://www.plagiarismtoday.com/2018/04/05/is-cryptomnesia-real/

ถ้าพูดถึงตัวอย่างที่ถูกถกเถียงกันมากที่สุดคงเป็นของ ‘Helen Keller’ นักเขียนสตรีผู้พิการทางสายตาและหูหนวกตั้งแต่ยังเด็ก เจ้าของผลงานเรื่อง The Story of My Life ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครหลายเรื่องด้วยกัน

ในปี ค.ศ. 1891 เฮเลนในวัย 11 ปีได้เขียนเรื่อง ‘The Frost King’ ซึ่งถูกนำไปตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับคนหูหนวกและคนตาบอด ทำให้เรื่องสั้นนี้ถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้างและเป็นที่รู้จักอย่างมาก แต่ว่าในปีถัดมา มีคนพบว่าบางประโยคในเรื่องดันไปคล้ายกับหนังสือ ‘Frost Fairies’ ที่เขียนโดย ‘Margaret Canby’ และนั่นทำให้เธอถูกโจมตีอย่างหนักเลยค่ะ

ในเนื้อหาของ The Story of My Life เฮเลนได้พูดถึงเหตุการณ์นี้ โดยกล่าวว่าเธอจำไม่ได้ว่าเคยอ่านเรื่อง Frost Fairies และผลตัดสินจากศาลโรงเรียนก็แตกความเห็นออกเป็น 2 ฝั่งว่าเธอขโมยไอเดียกับไม่ได้ขโมย แม้ว่าผลจะออกมาเสมอกัน แต่มันก็สร้างแผลใจฝังลึกให้กับเฮเลนอย่างมาก จนเธอเกือบจะล้มเลิกการเป็นนักเขียนไปแล้วค่ะ TT

แต่ความจริงก็คือมีหนึ่งเดียวค่ะ เพราะเรื่องราวทั้งหมดนี้ เธอเพิ่งจะมานึกได้ว่าเคยมีคนเล่าสตอรี่จากหนังสือ Frost Fairies ให้ได้ฟังเมื่อนานมาแล้ว แต่ตัวเองกลับจำไม่ได้และก็ไม่ได้เอะใจอะไร  และหารู้ไม่ว่าตนกำลังตกอยู่ในอาการ Cryptomnesia จนเผลอไปนำเนื้อหาต้นฉบับมาผสมกับไอเดียใหม่จนกลายเป็นผลงานของตัวเองซะงั้น!  

• • • • • • • • •  •

มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิด Cryptomnesia

Photo Credit:  www.pixabay.com
Photo Credit:  www.pixabay.com

ว่ากันว่าปัจจัยหลักๆ เกิดจากความเครียด การอดนอน และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือตอนที่ต้องจดจำข้อมูลจำนวนมากในเวลาสั้นๆ จนทำให้สมองตั้งตัวไม่ทันและจัดลำดับเฉพาะข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น และมักจะเกิดกับคนที่ได้รับแรงกดดันมากๆ ด้วยค่ะ // ใครเรียนหนัก หรือหักโหมงานบ่อยๆ อาจเป็นได้ไม่รู้ตัว  

นอกจากนี้อาการ Cryptomnesia ยังพบได้ในคนที่มีอาการโรคทางจิตเภท ไม่ว่าจะเป็น โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะซึมเศร้าด้วยนะคะ  

• • • • • • • • •  •

เช็กกันหน่อยว่ามีอาการหรือเปล่า?

  • รู้สึกสับสนแยกไม่ออกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไปแล้วหรือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดกันแน่
  • เพิ่งทำบางสิ่งไปเมื่อกี้ แต่กลับจำไม่ได้ซะงั้น
  • รู้สึกว่าความทรงจำหายไป และไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองในอดีตได้ชัดเจน

• • • • • • • • •  •

แนวทางป้องกันเบื้องต้น

Photo Credit:  www.pixabay.com
Photo Credit:  www.pixabay.com

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษา Cryptomnesia โดยเฉพาะ แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะมันไม่ใช่อาการเรื้อรัง  หากใครเป็นอยู่ วิธีแก้ง่ายๆ คือ พยายามผ่อนคลาย ไม่เครียดกับชีวิตจนเกินไป หาสมุดเล็กๆ จดโน้ตไว้กันลืม หาหนังสือดีๆ อ่านสักเล่มเพื่อเยียวยาจิตใจ และนอนหลับพักผ่อนเยอะๆ ก็อาจช่วยให้หนักกลายเป็นเบาได้นะคะ 

• • • • • • • • •  •

น่าสนใจมากเลยใช่ไหมคะ บางทีเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจลืมหรอก แต่สมองของเราดันไม่เชื่อฟังซะอย่างนั้น ถ้าใครอ่านแล้วคลับคล้ายคลับคลาว่ากำลังเป็น ลองสังเกตตัวเองดูว่าเราเครียดมากไปหรือเปล่า อย่าลืมรักษาสุขภาพและเติมความสุขให้ตัวเองอยู่เสมอนะคะ ^^
 

Sources:https://www.cbtcognitivebehavioraltherapy.com/cryptomnesia/ https://psycnet.apa.org/record/2003-04362-002 https://www.medicaldaily.com/beyond-memory-loss-7-memory-biases-can-mess-how-you-remember-360016https://www.thehealthboard.com/what-is-cryptomnesia.htmhttps://dictionary.apa.org/cryptomnesia https://www.thefreedictionary.com/crypto-https://www.plagiarismtoday.com/2018/04/05/is-cryptomnesia-real/https://www.nydailynews.com/life-style/health/cryptomnesia-subconscious-plagiarism-side-effect-information-overload-article-1.42667 Photo Credits: https://www.freepik.com/free-photo/copyright-design-license-patent-trademark-value-concept_17056553.htm#page=1&query=copy&position=2&from_view=searchhttps://www.freepik.com/free-photo/female-taxpayer-forgot-submit-tax-return_3938042.htm#page=1&query=forgot&position=1&from_view=searchhttps://cdn.pixabay.com/photo/2017/03/27/13/03/book-2178586_960_720.jpg 
พี่บีมบัน
พี่บีมบัน - Columnist สาวใต้ผู้หลงรักเครื่องเขียน ศิลปะ และติดซีรีส์จนไม่ยอมนอน

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

Sammael Sin Member 15 พ.ย. 64 21:49 น. 1

เคยเป็นครับ ตอนที่เขียนวัลคีรี ไปคล้ายๆ กับไลออนตอนออสก้าตาย(ของเราเจฟตาย) คนอ่านยังทักเลยว่าไปลอกเขามาแบบนี้ไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าจะแก้ยังไงเหมือนกันเพราะวางมาแล้ว XD

0
กำลังโหลด

2 ความคิดเห็น

Sammael Sin Member 15 พ.ย. 64 21:49 น. 1

เคยเป็นครับ ตอนที่เขียนวัลคีรี ไปคล้ายๆ กับไลออนตอนออสก้าตาย(ของเราเจฟตาย) คนอ่านยังทักเลยว่าไปลอกเขามาแบบนี้ไม่ดี แต่ไม่รู้ว่าจะแก้ยังไงเหมือนกันเพราะวางมาแล้ว XD

0
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด