Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

How to ติด #TU83 สายวิทย์-คณิต EP.3 (สรุปแนวเนื้อหา + Strategy ในการเรียนและทำข้อสอบ)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แนะนำตัว

1.สวัสดีครับ น้องๆทุกคนว่าที่ TU84 TU85 ++ ทุกคนนะ  เราชื่อ ซิม นะ เป็นนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสายวิทย์-คณิต รุ่น 83 ที่เพิ่งติดเตรียมไปเมื่อ มีนา 63 ที่ผ่านมา

2.สำหรับการรีวิวการเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของเรานั้น เราได้เขียนรีวิวไปแล้ว 2 ตอนนะ ถ้าใครยังไม่ได้ดู 2 ตอนก่อน สามารถดูได้ตรงข้างล่างนี้เลย

    Ep.1 (รีวิวข้อสอบ) : https://www.dek-d.com/board/view/3965117/

    Ep.2 (รีวิวหนังสือ + คอร์สเรียน) : https://www.dek-d.com/board/view/3971044/

3.สำหรับ EP.3 นี้จะเป็น EP สุดท้ายของการรีวิวการเข้าเตรียมอุดมของเรานะ ซึ่งจะเป็นการบอกเนื้อหาที่น่าออกสอบTU รวมถึง Strategy ในการเรียนและการทำข้อสอบนะ

วิชาคณิตศาสตร์

4.เป็นวิชาที่มีจำนวนข้อถึง 50 ข้อ และมีเวลาทำข้อสอบไม่ถึง 2 ชั่วโมง (หลังหักเวลาทำข้อสอบไทย สังคมไป 30 นาทีนะจึงเป็นรูปแบบข้อสอบแบบ Speed Test ที่แท้ทรู ต้องมีทักษะในการใช้หลักคณิตศาสตร์ที่ดี ทักษะการคำนวณที่แม่นยำ และทักษะการเลือกข้อที่เราทำก่อนด้วย ไม่ใช่ทำเรียงข้อแล้วก็ทำไม่ทันแบบเยอะเกินไป

5.เนื้อหาที่เกินหลักสูตร .ต้น และเราแนะนำให้ทำความเข้าใจก่อนสอบเตรียม (สำหรับสายหนังสือหรือคนที่สนใจว่าเตรียมจะออกได้แค่ไหน)

  • เซต (ให้เรียนผ่านๆนะ ให้พอรู้ภาษาเซตว่าเป็นยังไง เพราะปีเราใช้ภาษาเซ็ตเป็นปีแรก 555)
  • ระบบจำนวนจริง (โดยเฉพาะ ทบ.เศษเหลือ ทบ.ตัวประกอบตรรกยะ และการแก้สมการพหุนาม + เศษส่วนของพหุนาม)
  • การแก้สมการ exponential
  • ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ภาคตัดกรวย (กราฟพาราโบลาตั้ง กราฟวงกลม กราฟค่าสัมบูรณ์ การแทนค่าฟังก์ชัน)
  • เรขาคณิตวิเคราะห์ (เฉพาะเรื่องจุดกับเส้นตรงนะ เรื่อง normal distance ไม่น่าออกอ่ะ 555)
  • ทฤษฎีจำนวน (modulo , ตัวประกอบ , ฯลฯ)
  • ลำดับและอนุกรมจำกัด & Telescopic
  • สถิติ .6 พื้นฐาน 
  • การเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ ความน่าจะเป็น .5 เทอม 2 เพิ่มเติม

6.เนื้อหาที่เราแนะนำให้เก็บคะแนนก่อนที่จะไปทำคะแนน T-score ข้อยากๆ 

 - ***โจทย์ปัญหาสมการ***   สถิติ     ความน่าจะเป็น     อนุกรม (ถ้ารู้แนวคิดนะ)

 - เศษส่วนของพหุนาม     พื้นที่ผิวและปริมาตร    สมการ exponential   ตรีโกณมิติแบบ pure (ถ้าจำสูตรได้)    ทฤษฎีจำนวน (ถ้าจำหลักได้)    ระบบสมการ (ถ้าไม่ยากมาก)

7.รุ่น TU84 เป็นรุ่นแรกที่นักเรียนที่เรียนหลักสูตรใหม่ ปี 60 สอบ ดังนั้นเราเลยไม่รู้ว่าเตรียมเค้าจะเอาเนื้อหาที่ถูกตัดออก เช่น ทฤษฎีจำนวน และเนื้อหาใหม่ เช่น แผนภาพกล่อง มาสอบด้วยมั้ยนะ ดังนั้น ทางที่ดี ควรรีวิวทั้งในหลักสูตรเก่าและใหม่นะ

8.หัวใจของการเก่งคณิตศาสตร์คือ การทำโจทย์เยอะๆ เพราะเวลาเราทำโจทย์เยอะๆ เราจะมีทักษะในการทำโจทย์มากขึ้น และความเป็นไปได้ที่จะเจอโจทย์เดิมในห้องสอบจะเพิ่มขึ้น สำหรับแหล่งข้อสอบที่พี่จะแนะนำสำหรับทำโจทย์ไล่จากง่ายไปยาก คือ ...

สพฐ.ต้น รอบแรก / ข้อสอบ TU เก่า > สมาคม .ต้น > PAT1 / 9 วิชาสามัญ (มีทั้งไม่ยากมากและยาก) > สพฐ.ต้น รอบสอง / สอวน รอบแรก > IJSO 

9.สำหรับใครที่มีข้อสอบเตรียมอุดมใหม่ๆ ช่วงปี 57-ล่าสุด ถือว่าน้องโชคดีมากนะ เพราะข้อสอบเตรียมอุดมปีใหม่ๆมักลอกแนวจากข้อสอบปีช่วงนี้อยู่พอสมควรเลย รวมถึงข้อสอบโควตาจังหวัดเข้าเตรียมด้วย อย่างปีเรามีลอกแนวจากปีก่อนๆ ประมาณ 4-5 ข้อ มีลอกจากข้อสอบโควตาเตรียม ปี 62 ประมาณ 2-3 ข้อ มีลอกทั้งแผงมาเลยก็มี 555


วิชาต่อๆไปอยู่ใน comment ข้างล่างนะ ...

แสดงความคิดเห็น

6 ความคิดเห็น

simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 15:55 น. 1

วิชาวิทยาศาสตร์

10.ข้อสอบมี 50 ข้อ แจกพร้อมกับวิชาภาษาอังกฤษอีก 50 ข้อ จึงมีเวลารวมประมาณ 1 ชม. ครึ่งในการทำข้อสอบวิชานี้ ข้อสอบมี 4 สาขา ตามวิชาย่อย ซึ่งแต่ละคนก็จะถนัดต่างกัน แนะนำให้ทำ part ที่เราถนัดก่อนนะ แล้วค่อยเก็บในข้ออื่นๆที่เราเริ่มไม่ถนัด ข้อไหนใช้เวลานานเกินก็ข้ามไปก่อนนะ จะได้ไม่เสียเวลากับวิชานี้มากเกินไป และข้อสอบปีนี้เป็นเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และบางข้อต้องเสียเวลากับข้อๆนึงมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาเคมี ดังนั้นการบริหารเวลาจึงค่อนข้างสำคัญนะ ต้องฝึกทำโจทย์สำหรับใครที่ไม่คล่องทางงเนื้อหา และถ้ามีเวลาก็ลองทำพวกข้อสอบ MWIT หรือข้อสอบแนวประยุกต์อย่าง TEDET / พสวท. ด้วยก็ได้


11.ฟิสิกส์ เป็นวิชาที่เน้นทักษะการคำนวณและการประยุกต์ใช้สูตรเป็นหลัก รวมถึง concept ฟิสิกส์ด้วยในบางข้อ แต่มักไม่ค่อยเยอะนะ สำหรับเนื้อหาที่ออกได้หลักๆคือ :

- สมการการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง suvat - กราฟการเคลื่อนที่ - กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน - แรงตึงเชือกและแรงเสียดทาน - แรงดึงดูดระหว่างมวล - โมเมนต์และคาน

- งาน กำลัง พลังงานกล - เครื่องกล + เฟือง (ปีเราไม่ออกเลย แต่ควรอ่านนะ)

- ความร้อน (ไม่ต้องถึงขั้นสูตรการนำความร้อนนะ) - แสงเชิงเรขาคณิต (การสะท้อน การหักเห Snell’s Law ระบบกระจกโค้งและเลนส์บาง) - ไฟฟ้ากระแสตรง (Ohm’s Law , กำลังไฟฟ้า , การคิดค่าไฟ , การต่อตัวต้านทานและแบตเตอรี่ , open circuit , short circuit , Wheatstone Bridge (63 ออก)) - ไฟฟ้าแม่เหล็ก (พื้นฐานหลักของ Oersted , Faraday , กฎมือขวา) - คลื่น (v = 331 + 0.6T , คลื่น sonar , v = f lambda)


แหล่งข้อสอบที่แนะนำให้ลองดู : TEDET , IJSO รอบแรก (ถ้าต้องการข้อสอบแบบยากขึ้นหน่อย) , รวมถึงข้อสอบ ent เก่าและ PAT3 , พสวท ม.ต้น (ถ้ามี)


12.เคมี เป็นเรื่องที่ออกไม่เกิน ม.ต้น ซะมาก แต่อาจมีเกินบ้างนิดหน่อยในเรื่อง ไอโซต่างๆ (มันเกินป่าวเนี่ย 555) ตารางธาตุบางส่วน แต่ที่เหลือ อ. จะออกในส่วน ม.ต้น แต่ข้อสอบในปีนี้ออกค่อนข้างยากขึ้น เป็นโจทย์แนว check 4 ตัวเลือก มีโจทย์แนววิเคราะห์ และมีโจทย์แนวให้สมการมาให้ดุลหาสารที่หายไป 8 สมการในข้อเดียว 555 โดยข้อสอบจะมีทั้งแบบบรรยายและคำนวณนะ เนื้อหาที่สามารถออกสอบได้ คือ :

- การจำแนกสาร (สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม สารละลาย colloid ...) ออก 1-2 ข้อ

- ความเข้มข้นของสารละลาย (ไม่ถึงขั้น mol นะ) ออกประมาณ 1 ข้อ

- การแยกสาร (ไม่ค่อยออก ยกเว้นการตกผลึกออกบ่อยอยู่ chromatography อาจออกได้บ้าง)

- อะตอม (isotope isotope isobar nuclear symbol) น่าจะปนในข้อยของคำถาม จ้อสองข้อนะ (แนะนำให้จัดเรียง electron ใน shell ให้เป็นด้วยนะ)

- ตารางธาตุ (สมบัติ metal metalloid non-metal , จำ metalloid , เลข oxidation , การเขียนสารประกอบไอออนิก) ออกประมาณ 2 ข้อ มีข้อนึงบอกตารางธาตุแบบเป็นตัวอักษร A B C ... แล้วถามสมบัติของธาตุนั้นๆ ถูกผิดไหมในช้อย

- กรดเบส (สารละลายกรดเบส , คุณสมบัติ และ indicator) ออก indicator 1 ข้อ ส่วนที่เหลือน่าตะออกประปรายตามช้อย

- การดุลสมการเคมี : ออกประมาณ 3 ข้อรวมถึงข้อ 8 สมการอันนั้น

- การละลาย การตกผลึก lattice hydration : ออกอย่างน้อย 1 ข้อ


แหล่งข้อสอบที่แนะนำให้ลองดู : TEDET , IJSO รอบแรก , ONET M6 , พสวท (ถ้ามี)


13.ชีววิทยา เป็นวิชาที่เนื้อหาเยอะมากพอสมควรและเก็งค่อนข้างยากว่าออก concept อะไร เนื้อหาที่ออกจะอยู่ในช่วง ม.ต้น จนถึงแบบ ม.ต้น แบบเข้มหน่อย (คือเนื้อหา ม.ต้น แต่เรียนเลยเป็น ม.ปลาย หน่อย) เนื้อหาเน้นการท่องจำและการเข้าใจกระบวนการ (ชีววิทยาก็มีเหตุผลในแต่ละกระบวนการนะ) ข้อสอบเตรียมมักจะไม่ได้ถามแบบ concept ตรงๆ อาจจะมีการชี้ภาพโครงสร้างหรือให้ตารางข้อมูลมาก็ได้ ขอบข่ายเนื้อหาที่ออกได้ จะประมาณนี้ :

- Cell & Membrane Transport (ไม่ค่อยออก ปี 63 ไม่ออกเลย)

- Biochemistry (การทดสอบสารอาหาร (ออก 63 1 ข้อ) , การคำนวณ calories , BMI , Vitamins)

- Plants (จำพืชใบเลี้ยงเดี่ยว - คู่ (63 ออกพืชอะไรก็ไม่รู้ในช้อย 1 ข้อ) , โครงสร้างรากและลำต้น , ผลเดี่ยว กลุ่ม รวม , การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช (เผื่อออก) , ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคายน้ำ , การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืช)

- Animals (Phylums (อย่างน้อยให้จำ ระบบทางเดินอาหาร ระบบหมุนเวียน หายใจ ขับถ่าย และสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ + Cloning) , Mammal (ออกลูกเป็น... , ปฏิสนธิ... , หัวใจ) , Animal Behavior (ออกบ่อย ออกปี 63 1 ข้อ))

- Human Body System (Digestive , Cardiovascular (Blood , Blood vessel (ไม่เจาะลึก anatomy ขนาดนั้นนะ) , Heart (ไม่ออกถึง cardiac cycle มั้ง) , Immunity) , Respiratory (แค่ Breathing Mechanics นะ แต่ถ้าใครอยากเรียนการ transport O2 CO2 ก็ได้) , Urinary (Kidney , Nephron) , Reproductive (จะเน้นผู้หญิงมากกว่าชาย จำ menstruatal cycle ไปก็ดี + เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น IVF , ICSI) , Nervous (Brain , Sym-Parasymphatetic))

- Genetics (พื้นฐาน genetics , กฎเมนเดล VS ความน่าจะเป็น , ส่วนต่อขยายของกฎเมนเดล)

- Ecology (Food chain , Food web , Energy transfer , Species interactions, Chemical cycles (เน้น C , N ก่อนนะ))


แหล่งข้อสอบที่แนะนำให้ลองดู : IJSO รอบแรก , TEDET , ONET M6 , PAT2 - 9 วิชาสามัญ , สอวน (เอาข้อที่มันอยู่ในขอบข่ายนะ) , Ent เก่า , พสวท (ถ้ามี)


14.วิทยาศาสตร์กายภาพ เนื้อหาปริมาณเยอะมากและอาจเยอะกว่าชีวะด้วย เนื้อหาต้องจำๆๆๆอย่างเดียว ไม่ค่อยเน้นความเข้าใจเว้นในบางจุด ข้อสอบมักจะถามตรงๆ จึงต้องเน้น concept ของเนื้อหาให้แม่น ขอบข่ายที่อยู่ใน zone ที่ออกได้ คือ :

ธรณีภาค : โครงสร้างโลก , ดิน (ชั้นดิน , การสร้างดิน และการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว เค็ม ด่าง จืด (รู้สึกออกการแก้ปัญหาอยู่ข้อนึง ปี 63) , หิน (Rock cycle , อัคนีพุ VS แทรกซอน , หินตะกอนต่างๆ , ถ่านหินและเชื้อเพลิง , หินแปร แปรมาจาก... + การแปรแบบมีริ้วขนานไหม , จำประโยชน์หินหลักๆไว้เผื่อด้วย) , แร่ (การจำแนกแร่ , Moh’s scale , ถลุงแร่ได้อะไร (เผื่อออก)) (63 ไม่ออกแร่)


อุทกภาค (63 ไม่ออกเลย) : น้ำอ่อน น้ำกระด้าง(ชั่วคราว - ถาวร - การแก้) , ลักษณะทางธรณีที่เกิดจากการกระทำของน้ำ-ลม , การกัดกร่อน - ทับถมของแม่น้ำ , DO , BOD


บรรยากาศ : ชั้นบรรยากาศ , หน้าที่บรรยากาศ + เปรียบเสมือน... (สิ่งของ) , ลมประจำฤดูที่พัดเข้าไทย , ลมค้า El Niño La Niña , เมฆชนิดต่างๆ , ความชื้นสัมบูรณ์ - สัมพันธ์ , Greenhouse Effect , Earth’s Energy Budget (63 ออก)


ดาราศาสตร์ (น่าจะออกเยอะสุดในกลุ่มนี้) : ดาวเคราะห์ชั้นใน นอก วงใน นอก (63 ออก : ไม่ต้องรายละเอียดยิบย่อยนะ จำพวก moons กับฉายาเผื่อละกัน) , ข้างขึ้น ข้างแรม น้ำขึ้น น้ำลง อุปราคา (ออกบ่อย 63 ก็ออก) , จักรราศี (ออกบ่อย 63 ออก และสามารถไปผสมกับข้างขึ้น ข้างแรมได้) , กลุ่มดาวที่ใช้หาดาวเหนือ + สามเหลี่ยมฤดูหนาว , ส่วนประกอบของ Celestial Sphere (63 ออกแต่ไม่ลึกมาก) , แกนโลกเอียงและฤดูกาล , กล้องโทรทรรศน์ (63 ออก เกี่ยวกับโทรทรรศน์หักเห VS สะท้อน) , ดาวเทียม (63 ออก ให้จำชนิดของดาวเทียม กับดาวเทียมหลักๆ)


แหล่งข้อสอบที่หาได้ : ONET M3 , ONET M6 , TEDET , IESO?


ปล. เหมือนกับเลข TU84 เป็นรุ่นแรกที่หลักสูตรใหม่สอบ ดังนั้นเราจึงแนะนำให้ทบทวนเนื้อหาที่มีในหลักสูตรเก่า เช่น อุทกภาค(?) ด้วยนะ

0
simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 15:56 น. 2

วิชาภาษาไทย ฉบับ 1

15.ข้อสอบในวิชานี้ ไม่ยากมาก มี 25 ข้อ แนะนำให้ทำภายใน 20 นาที เพื่อให้ใช้เวลาที่เหลือกับเลข โดยเนื้อหาที่ออกไม่เยอะมาก น่าจะเยอะประมาณชีวะหรือวิทย์กายภาพวิชาเดียวอ่ะ โดยข้อสอบจะเน้นหลักภาษาเป็นหลัก จากนั้นก็จะเป็นพวก สำนวน 2-3 ข้อ , ศิลปะการประพันธ์ , ฉันทลักษณ์ , อ่านจับใจความ (มีแค่ข้อเดียวสั้นๆ ถ้าจำไม่ผิด ปี 63 555) แนะนำให้ลองฝึกโจทย์จากข้อสอบ ent หรือ ONET ม.6 หรือข้อสอบจริงดูนะ จะให้ดักแนวได้ [เป็นวิชาที่อย่างน้อย 50% ของข้อสอบ ถ้าไม่รู้หลักภาษาไทย ใช้ sense ไม่ได้ ต้องเดาสถานเดียว ดังนั้นก็ไม่ควรจะทิ้งวิชานี้จะหมดนะ]


16.ขอบข่ายเนื้อหาที่น่าจะพอออกได้มีประมาณนี้ :

- หลักภาษา : พยางค์และการสะกดคำ (พยัญชนะต้นเดี่ยว - ควบ , เสียงพยัญชนะท้าย , ไตรยางค์ , สระเดี่ยว - ประสม - เกิน , การวิเคราะห์โครงสร้างพยางค์ , อักษรนำ , คำครุ ลหุ , พยางค์เปิด ปิด , การผันวรรณยุกต์ (ผัน 5 นิ้วในห้องสอบก็ได้ แต่ sense การผันต้องมี) , การสะกดคำให้ถูกต้อง (สะกดคำออกประมาณ 2-3 ข้อ เป็น part ที่เกลียดนิดนึง เพราะ sense ทางภาษาไทยต้องมี 555)) , คำชนิดต่างๆ (พวกคำ 8 ประเภท แทบไม่ออกเลย , พวกที่ออกได้ คือ ลักษณนาม คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส คำสนธิ) , คำไทยที่ยืมจากภาษาต่างประเทศ (เน้น เขมร บาลี สันสกฤต) , ประโยค (ความเดียว รวม ซ้อน ซะส่วนใหญ่)


- การใช้ภาษา : คำราชาศัพท์ (มักไม่ออกพวกจำสิ่งของหรือร่างกาย แต่จะเน้นการนำไปใช้กับยศต่างๆให้ถูกต้องมากกว่า) , อักษรย่อ ภาษากำกวม สำนวนต่างประเทศ (เผื่อออก) , สำนวน (ออกประมาณ 2-3 ข้อ) , รสวรรณคดี ศิลปะการประพันธ์ ภาพพจน์ (63 ออกรวมมิตรเป็น 1 ข้อ) , โวหาร (จำไว้เผื่อออก) , ฉันทลักษณ์ (63 ออก 1 ข้อ ให้เปลี่ยนประโยคยาวๆว่าเป็นฉันทลักษณ์อะไร แนะนำให้จำ กลอนสี่ หก แปด , กาพย์ยานี 11 , อินทรวิเชียรฉันท์ 11 , กาพย์ฉบัง 16 , กาพย์สุรางคนางค์ 28)


- อ่านจับใจความ (ออก 1 ข้อปี 63 ไม่ค่อยออก)


แหล่งข้อสอบที่สามารถหาได้ : ONET M3 , ONET M6 (ข้อที่วัดหลักภาษา) , Ent เก่า


17.วรรณคดีที่เราเรียนไปอย่างสาหัสตั้งแต่ ม.1 - ม.3 ไม่ออกสอบในฉบับ 1 นะ


18.เวลาทำโจทย์ในห้องสอบและตอนฝึก นอกจากต้องทำเร็วแล้วต้องรอบคอบ เพราะมันจะมีโจทย์แนวให้ ประโยค/กลอน แล้วให้ “นับคำ” ถ้านับพลาดเพียงตัวเดียว อาจทำให้ progress ที่ทำมาในข้อนั้นหายไปเลย

0
simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 15:58 น. 3

วิชาสังคมศึกษา

19.เป็นวิชาที่ถ้าดูในหนังสือกระทรวงจริงๆ ทั้งสังคม ประวัติ และพระพุทธ เนื้อหามีปริมาณมหาศาลมาก น่าจะเยอะกว่าวิทยาศาสตร์เข้า ม.4 ทั้งหมดอีก ดังนั้นด้วยวิชานี้ที่ออกเพียง 25 ข้อ จึงกะเก็งเนื้อหาได้ยากว่าจะออกอะไร และทำให้เนื้อหาที่ อ. เตรียมอุดมมักออกประจำ น่าจะจำกัดน้อยลง ดังนั้นถ้าเรารีวิวประเด็นหลักๆของสังคมไปดี น่าจะข้อสอบเตรียมอุดมได้อย่างน้อยซักครึ่งนึงเลย


20.ข้อสอบเตรียมอุดม อย่างที่ทุกคนทราบกันว่า จะออกพวกข่าวเหตุการณ์ปัจจุบันในรอบปีที่น่าสนใจมาสอบด้วย ประมาณ 4 ข้อ โดยที่เตรียมอุดมมักจะไม่ออกเป็นถามเหตุการณ์ข่าวตรงๆ แต่มักเชื่อมโยงกับหลักสังคม (ซึ่งมักเป็นความรู้ทั่วไปที่ไม่ทั่วไป) เช่น ปีเรา มีเหตุการณ์พรรคอนาคตใหม่ ก็ออกเรื่องคุณสมบัติของ จนท ศาล รธน , ออกเรื่องหลัก 5Rs รวมถึงเตรียมอุดมก็ออกพวกข่าวประวัติศาสตร์ด้วย เช่น เป็นปีครบรอบโกษาปานและคณะฑูตไปเยี่ยมฝรั่งเศสครบ 333 ปี เลยถามว่า รูปปั้นของโกษาปาน ที่ France อยู่เมืองไหน!!!

แนะนำให้ติดตามข่าวที่น่าสนใจในรอบปี แล้วไปวิเคราะห์กับประเด็นสังคมที่ออกสอบได้นะ

ไม่ก็สมัครคอร์สข่าวของติวเตอร์ไปเลยก็ได้ 555


21.ขอบข่ายเนื้อหาสังคมที่เตรียมอุดมน่าจะออกได้มากที่สุด (สำหรับคนเวลาน้อยหรือไม่อยากทุ่มสังคมเยอะ)


ศาสนา : หลักธรรมในศาสนาพุทธ (จะเน้นการใช้ประโยชน์ มากกว่าการถามเนื้อหาย่อยๆตรงๆ และอาจนำไปเชื่อมกับพุทธประวัติได้นะ เช่น ธัมมจักกัปวัตนสูตร)

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (อาจไปเชื่อมโยงกับพุทธประวัติ & หลักธรรม)

ศาสนพิธี (อย่างน้อยจำประเภทของศาสนพิธีให้ได้)

ศาสนาเปรียบเทียบ (อย่างน้อยเปรียบเทียบ พุทธ VS คริสต์ VS อิสลาม VS พราหมณ์ - ฮินดู ให้ได้ + ท่องนิกายของแต่ละศาสนาถ้าต้องการ เรื่องนี้ออกปี 63 1-2 ข้อ)


หน้าที่พลเมือง : สังคมวิทยา >>> ประเภทของวัฒนธรรม

รัฐศาสตร์ >>> รัฐคืออะไร , รัฐเดี่ยว - รัฐรวม , ระบอบการเมืองการปกครอง (Communist , Democracy (กึ่ง ปธน , ปธน , รัฐสภา) ให้จำประเทศหลักๆไปด้วยนะ เช่น ASEAN ว่าปกครองยังไง รัฐอะไร) , รัฐธรรมนูญ (อำนาจ 3 อำนาจ , ผู้มีสิทธิเสนอร่าง รธน , ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ...)

นิติศาสตร์ >>> ลำดับชั้นกฎหมาย , กฎหมายอาญา , กฎหมายแพ่ง (จำแบบหลักๆไปนะ ไม่ต้องถึงขั้น สิทธิบัตร)


เศรษฐศาสตร์ : ปัจจัยการผลิต , กลไกราคา , ระบบเศรษฐกิจ (หลักๆก็น่าจะพอ) , เงินฝืด เงินเฟ้อ ค่าเงินอ่อน ค่าเงินแข็ง , กฎหมายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (ลองดู evolution ของมัน) (ถ้าอยากจำความหมายของเงินเพิ่มด้วยก็ได้)

ประวัติศาสตร์ : Timeline ประวัติศาสตร์ไทย VS ประวัติศาสตร์สากล , พัฒนาการของระบบการปกครองไทย (ถึง ร.7) , ตั้งแต่สมัย ร.1 - ร.7 มีสร้างและมีอะไรสำคัญที่ถูกจัดตั้งหรือทำขึ้น

ภูมิศาสตร์ : ภูมิศาสตร์ของไทย , เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ , การคำนวณเวลา มาตราส่วน ความกดอากาศ , Zone ภูมิอากาศต่างๆ , ฤดูกาล , ลักษณะทางภูมิศาสตร์ (เหมือนอุทกภาค) , ภูมิศาสตร์โลกแบบรวมๆ (เรียน 3 ปีหนักหน่วงออกเตรียมจริง 63 แค่ข้อเดียว ยากด้วย 555) , อนุสัญญาระหว่างประเทศทางภูมิศาสตร์


แหล่งข้อสอบ ถ้าอยากหาดู : ONET M3 , ONET M6 , Ent เก่า , 9 วิชาสามัญ


22.ในบางข้อ เตรียมอุดมก็ออกข้อสอบแนว “ความรู้ทั่วไป wild card” มาให้ด้วย เหมือนกะให้เราทำไม่ได้อ่ะ 555 เจอข้อพวกนั้นแล้วไม่รู้ ไม่ต้องตกใจนะ ใช้ sense ตัวเองตัดช้อยด้วยความรู้ที่มีแล้วเดาเอานะ อย่างปีเราออกออกความรู้เกี่ยวกับธนบัตรไม่ก็เหรียญ

0
simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 16:00 น. 4

วิชาภาษาอังกฤษ ฉบับ 1

23.ข้อสอบวิชานี้มี 50 ข้อ ทำพร้อมกับวิทยาศาสตร์ ก็จะมีเวลาทำประมาณ 1 ชม. ครึ่ง วิชานี้บริหารเวลาไม่ยากมากเกินไป โดยข้อสอบจะมีสัดส่วน part ที่ออกแตกต่างไปในแต่ละปี โดย part ที่ออกในปีนี้คือ Passage Reading , Conversation (ไม่นึกว่าจะออกในฉบับ 1 แต่ดันออก ดังนั้นแนะนำให้เตรียมตัวเหมือนสายศิลป์ไปเลยนะ) , Error Identification (ออก 2 ปีซ้อนแล้ว) , Grammar Cloze Test , Vocab Cloze Test กับ Miscellaneous (Vocab ทั่วไป , ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Google (ออกได้ไง 555) , การอ่านออกเสียง)


24.วิชานี้เป็นวิชาที่คะแนนรองจากคณิตกับวิทย์ (ปี 62-63) ซึ่งเป็นวิชาที่ถ้าเราไม่รู้หลักการทำหรือไม่รู้ศัพท์ เราจะต้องแทบเดาข้อสอบสถานเดียว ดังนั้นเราไม่ควรจะทิ้งวิชานี้ เพราะวิชานี้ถ้าเราถนัดแล้ว มันจะง่าย แต่ถ้าไม่ถนัดแล้วไปทำข้อสอบ มันจะยากนะ และภาษาอังกฤษมันสำคัญในชีวิตประจำวันดังนั้นเตรียมตัวจากการเตรียมสอบเข้าก่อนดีกว่า


25.เนื้อหา Grammar ที่ควรรู้ก่อนไปสอบ :

- Tenses & Voice รวมถึงหลักการใช้ tense

- Subject - Verb Agreement

- Non finite Verbs (Infinitive with to , Gerunds , Causative verbs)

- If clause

- Inversion (เผื่อออกสอบ)

- Relative clauses

- Connectors (จำไปเลย พวกคำเชื่อม)

- Noun clause

- การวิเคราะห์ประโยค เพื่อหา V.แท้


26.เรื่องเกี่ยวกับ Vocab สำหรับ Vocab นั้นหรอ...ของ TU ที่ออกฉบับ 1 เราว่าศัพท์ไม่ถึงขั้นโหดมากนะ ระดับน่าจะประมาณ GAT หรือต่ำกว่าหน่อย วิธีการฝึกศัพท์มีอยู่หลายวิธี มันแล้วแต่คนว่าชอบท่องแบบไหน ของเรา เราเป็นคนที่ค่อนข้างถนัดอังกฤษอยู่แล้ว และเรียนกับ Enconcept ด้วย เราไม่ค่อยจดศัพท์ลงในสมุดเพิ่มเติมเท่าไหร่ เราจะจดศัพท์ที่แตกใน class เขียนพร้อมกับพี่ๆตอนเรียนในหนังสือ แล้วกลับมาอ่านที่หลัง


วิธีการทำให้ศัพท์เข้าสมองอีกวิธีที่ได้ผลคือ การทำโจทย์เยอะๆ ศัพท์ไหนที่เราเจอบ่อยๆในโจทย์ มันจะค่อยๆซึมซับเข้าไปเอง


วิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่งคือ ท่องศัพท์เป็น groupๆ รวมถึงการท่องเป็นเพลงใน Memolody ก็ใช้ได้เช่นกัน


สำหรับใครที่อยากให้ศัพท์มันค่อยๆซึมเข้าสมอง เราแนะนำให้เปิด Vdo YouTube แบบภาษาอังกฤษบ่อยๆนะ จะได้ทั้ง Conver และศัพท์ด้วย


หนังสือศัพท์ที่เราแนะนำ...ก็มีหนังสือ MAX NOTE ของ Enconcept รวมถึงหนังสือสรุปเข้ม Vocab + ตะลุยโจทย์ของ ดร.ศุภวัฒน์ ด้วย และ Enconcept ก็มีช่อง Memolody ด้วยนะ ถ้าใครอยากฟังเพลงของ Enconcept อย่างพวก Medley ก็ไปฟังได้ น่าจะได้ศัพท์ใหม่ไปเยอะเลย


ปล. มันมี App “ติวฟรี” ที่ Enconcept ก็มาสอนอังกฤษให้ฟรีทั้งคอร์สเลยด้วย ใครอยากไปเรียนก็เรียนได้นะ


27.ในการทำข้อสอบ Reading แนะนำให้อ่านคำถามก่อนนะ เพื่อที่เราจะได้เห็นว่าโจทย์เค้าถามอะไร และเราจะได้หาจุดที่โจทย์ถามได้เร็วขึ้นใน passage โดยเฉพาะถ้ามีคำถาม Vocab หรือ พวก from line.... / paragraph... ให้ลองทำก่อนนะ


28.สิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อสอบเข้า นอกจากการเรียนเนื้อหาและอัดศัพท์แล้ว คือ การทำโจทย์เยอะๆ เพราะมันจะทำให้เราเห็นภาพรวมแนวโจทย์มากขึ้นว่ามันจะออกยังไงได้บ้าง (แนวที่มันออกก็น่าจะคล้ายเดิม) ทำให้เราทำข้อสอบได้คล่องขึ้น และทำให้เรารู้จุดอ่อนของตนในทางเนื้อหาด้วย ทั้ง Grammar , Vocab , Reading และ Conver แหล่งข้อสอบที่เราแนะนำให้ทำคือ :


ONET M3 (วัดพื้นฐาน) > ONET M6 > GAT (สำหรับคนอยากฝึก Cloze Test กับ Error , Vocab ด้วย) > 9 วิชาสามัญ (สำหรับคนอยากได้ Reading โหดๆ)

0
simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 16:01 น. 5

Strategy ในการเรียนและการทบทวน

29.เราขอแบ่งสายการทบทวน เป็น “สายเรียนพิเศษ” กับ “สายหนังสือ” (สำหรับคนที่ผสมทั้งคู่ ก็ดูทั้งคู่นะ) สำหรับเรา เราเป็นสายเรียนพิเศษซะมากกว่าอ่านเอง 555


30.(ทั้ง 2 สาย) ถึงแม้ ม.3 เป็นช่วงที่กระชั้นชิด งานเยอะ และแถมเป็นช่วงที่สอบเข้าเตรียมอีก เราแนะนำว่าห้ามทิ้งงานโรงเรียนไปซะทุกอย่างนะ อาจจะหย่อนลงบ้างเพื่อเป้าในการสอบ เพราะอย่าลืมว่าบางโรงเรียนอาจใช้คะแนนเกรดในการคัดนักเรียนเข้า รวมถึงถ้าไม่ตั้งใจเรียนในบางวิชา แล้วครูทำโทษบางอย่างหรือเราต้องสอบซ่อม มันจะเสียเวลาในการทำสิ่งที่เรามุ่งหวังจริงๆ


31.(ทั้ง 2 สาย) พยายามฉวยโอกาสเล็กๆในการทำการบ้านโรงเรียนที่ครูสั่ง ในโรงเรียน เช่น ใช้ช่วงระหว่างคาบ , ช่วง freestyle , คาบที่ไม่มีใครเข้ามา , พักกลางวัน ฯลฯ เพื่อที่จะได้มีเวลาในการเตรียมสอบในช่วงอื่นๆ ไม่ควรกักตุนงานเอาไว้ เพราะยังไงเดี๋ยวครูก็ตาม และเราจะเหนื่อยในการตามงานเสียเปล่าในภายหลัง


32.(ทั้ง 2 สาย) พยายามบริหารเวลาให้ดี ลดพวกสิ่งที่ไม่จำเป็นมาก เช่น การดู YouTube เล่มเกมช่วงพักกลางวัน หรือตอนเย็น เพื่อที่จะได้หาเวลามาทำการบ้านโรงเรียนให้เสร็จแล้วทบทวนเนื้อหาสอบเข้าเตรียมต่อ


33.(ทั้ง 2 สาย) สำหรับงานกลุ่ม แนะนำให้รีบวางแผนทำงานตั้งแต่วันแรกๆที่สั่งงาน และรีบปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ จะได้ไม่ต้องเหนื่อยในการตามงานเพื่อนและรีบปั่นงานในทีหลัง และแบ่งงานกันให้ดีๆ เราไม่ได้อยากเป็นคนที่ต้องแบกภาระแบบมหาศาลในขณะที่คนอื่นทำงานนิดเดียว


34.(สายเรียนพิเศษ) วิธีการเรียนพิเศษให้ไม่ต้องทวนหนักมาก

- ตั้งใจเรียน เวลาที่พี่เค้าสอน

- พยายามโต้ตอบคำถามกับพี่ที่สอนเสมอ พยายามมีส่วนร่วมในห้องเรียน (สำหรับนักเรียน self จะยากนิดนึง ในตอบคำถามในใจละกัน 555)

- พยายาม highlight จุดประเด็นสำคัญที่พี่เค้าบอกว่าออกสอบ และถ้าประเด็นที่พี่เค้าให้จดพร้อมกับพี่ ก็จดให้ละเอียดและจดให้สวย (ใครมีปากกาหลากสี ก็ให้จดหลายๆไปนะ)

- ถ้าพี่เค้าบอกให้ทำโจทย์เอง ก็แนะนำให้ทำโจทย์ด้วยตามที่พี่สั่ง เพื่อวัดความรู้และประสบการณ์การทำโจทย์ของตัวเอง

- ถ้าใครอยาก โดยเฉพาะในวิชาพวกคณิต ฟิสิกส์ ระหว่างที่พี่เค้าเฉลยข้อสอบ ให้ทำโจทย์เองก่อน แล้วค่อยเงยหน้าดูเฉลย ถ้าไม่เข้าใจให้ถามพี่เค้าหรือย้อนดูเทป

- ทำการบ้านที่พี่ติวเตอร์สั่งทุกครั้ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของตัวน้องเอง จะได้จำเนื้อหาที่พี่เค้าสอนได้

- อย่ากลัวที่จะเรียนของใหม่ๆ เวลาเรียนของใหม่ๆตอนแรก เราจะไม่ชินและรู้สึกว่ายาก แต่ถ้าเรายอมรับเปิดใจกับมันไปเรื่อยๆ มันจะง่ายลงเอง

- ถ้าใครยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่พี่สอน ให้ถามกับทีมงานวิชาการหรือพี่ที่สอนโดยตรง เพื่อผลประโยชน์ของน้องเอง

- พยายามทำโจทย์การบ้านหรือข้อที่เหลือที่พี่ไม่สอน อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ เพื่อให้ความรู้ที่พี่เค้าสอน คงอยู่ในหัวเรา

- หากหัวข้อไหนเรายังไม่แม่น ให้ทำความเข้าใจผ่านการจดที่เราเขียนในห้อง เนื้อหาในหนังสือ ทำโจทย์การบ้าน หรือ จดสรุปเพิ่มเองก็ได้ ถ้าไม่ไหวจริงๆ


35.(สายเรียนพิเศษ) การเรียนคอร์สตะลุยโจทย์ให้มีประสิทธิภาพ

- ทำโจทย์ด้วยตัวเองก่อนทุกครั้ง (ถ้าพี่ที่สอน สอนข้อสอบเป็นชุดๆ) เพื่อวัดหาจุดอ่อน จุดแข็ง ของเราว่าอ่อนในเรื่องไหน

- ฟังเฉลยที่พี่เค้าสอนให้ดี และจด concept จากเฉลยลงในข้อนั้นๆ ยิ่งถ้าเป็นข้อผิด ยิ่งต้องจด (ยกเว้นสะเพร่า)

- ถ้า concept ไหนสงสัยให้ถามอาจารย์ในคอร์สสด หรือถามผ่านทางที่สะดวกในคอร์สแบบอื่นๆ (แนะนำให้ถามกับ อ. โดยตรง)


36.(สายเรียนพิเศษ) เวลากำลังจะเรียนกับติวเตอร์ที่ไหนสักที่ ต้อง check หนังสือว่าเนื้อหาเป็นอย่างไรบ้าง และ ต้องทดลองเรียนก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ make sure ว่าติวเตอร์คนนี้เหมาะสำหรับเราจริงๆ


37.(สายหนังสือ - ขอเป็นพวกหนังสือข้อสอบซะส่วนใหญ่ละกันนะ)

- ต้องมีวินัยการทำแบบฝึกหัด หาเวลาว่างๆในช่วงเรียนที่โรงเรียน มานั่งทำแบบฝึกหัดในวิชาที่เราสนใจ สัก 5 ข้อก็ยังดี

- หากข้อไหนเราทำไม่ได้ ให้เปิดเฉลยละเอียด ลองดูวิธีการทำโจทย์ข้อนั้น ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ให้เปิดหนังสือเนื้อหาในหัวข้อนั้นอ่านดู

- ห้ามซื้อหนังสือถ้าไม่รู้ว่าเนื้อในของมันเป็นยังไง และซื้อหนังสือให้ตรงกับจุดประสงค์ว่าเราจะใช้หนังสือนี้เพื่ออะไร

- ถ้าอยู่ในช่วงโค้งสุดท้ายแล้ว ให้ทำข้อสอบชุดแบบ “จับเวลา” เพื่อวัดความรู้และจุดแข็ง จุดอ่อนของตน และ feel ถึงความกดดันก่อนเข้าห้องสอบจริง

- สำหรับใครที่มีเวลา ให้สรุปประเด็นเนื้อหาในหนังสือที่อ่าน ลงในสมุดของตนด้วย ในเมื่อหนังสือที่ขายมักพิมพ์ครบอยู่แล้ว ไม่มีการเว้นว่างให้ดูแล้วจดเอง


38.(ทั้ง 2 สาย) พยายามหาเวลาไปทำ MOCK EXAM / SIMULATION TEST ของที่ดังๆ อย่างน้อยสัก 1 ที่ เพื่อวัดความพร้อมของตัวเอง และทำให้ feel ถึงความกดดันตอนสอบมากขึ้น จะได้ไม่ต้องกดดันเกินตอนสอบจริง (อย่าลืมอ่านเฉลยละเอียดข้อสอบ ถ้าเค้าส่งมาด้วย)

0
simsim_twl 2 พ.ค. 63 เวลา 16:03 น. 6

Strategy ในการทำข้อสอบในห้องสอบ

39.เราพักที่ NOVOTEL ก่อนสอบ 1 คืน ในวันนั้น จะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ทบทวนประเด็นวิชาหลักๆที่เราอาจจะตกหล่นหรือลืมไป (เช่น เรา 555) หรือ 2. ทำตัวให้สบายที่สุด ไม่สนเรื่องการเรียนมาก เพราะจะทำให้เรากังวลเสียเปล่า


40.ตอนก่อนนอนคืนก่อนสอบ ให้บอกกับตัวเองว่าเราทำเต็มที่ที่สุดแล้ว และอย่าไปกังวลกับข้อสอบที่จะมาในวันต่อไป ทำตัวให้สบายๆเข้าไว้ และไม่ควรนอนหลัง 5 ทุ่มนะ


41.เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบให้ครบถ้วน ตั้งแต่คืนก่อนสอบนะ จะได้ไม่ต้องลืมอะไรก่อนไปสอบจริงในตอนเช้าวันต่อไป


42.เวลาแจกกระดาษคำตอบและคำถาม ให้เขียนและฝนรายละเอียดทุกอย่างให้เรียบร้อยและครบถ้วน ถูกต้อง และอย่าลืม check ข้อมูลพวกนี้ก่อนส่ง เพราะถ้าข้อมูลผิดแม้แต่นิดเดียว อาจทำให้ฝันที่เข้าเตรียมสลายเพราะเรื่องเล็กๆอย่างนี้ได้ พวกเรื่อง เลขประจำตัวสอบ รหัสสีข้อสอบ (ข้อสอบเข้าเตรียม น่าจะใช้โจทย์เดียวกัน แต่แต่ละชุดจะสลับข้อกัน ทำให้ลอกกันไม่ได้) ฯลฯ


43.การทำข้อสอบในช่วงเช้า 9.00 - 11.30 (ไทย สังคม คณิต)

- ให้ทำข้อสอบไทยและสังคมก่อนให้เสร็จภายใน 40 นาทีแรก จากนั้นค่อยเวลาที่เหลือไปกับคณิต

- วิชาคณิตศาสตร์ให้ scan หาข้อง่ายทำก่อน ตามเนื้อหาที่ควรเก็บในด้านบน แล้วค่อยไปเก็บในส่วนคณิตที่เราถนัด เพื่อเก็บ T-score เพราะเราไม่ได้อยากที่จะไม่ทำข้อที่มันง่ายๆอ่ะ พลาดแล้วมันเสียดาย

- เจอเรขาคณิต แนะนำให้ข้ามไปก่อน ยกเว้น ตรีโกณ pureๆ กับพื้นที่ผิวและปริมาตร

- ถ้าใกล้หมดเวลาแล้ว ข้อไหนไม่ได้ทำหรือทำไม่สุด ให้เดาข้อที่เป็นไปได้มากที่สุดจากการตัดช้อย หรือ ดิ่ง ถ้ายังไม่ได้แตะข้อนั้นเลย

- เวลาออกจากห้องสอบ อย่าไปเครียดกับข้อสอบในช่วงเช้า เพราะมันผ่านไปแล้ว และมุ่งเป้าสำหรับช่วงบ่ายต่อไป (เราว่าช่วงบ่าย ง่ายกว่า ช่วงเช้า เด้อ)


44.การทำข้อสอบในช่วงบ่าย 13.00 - 15.30 (วิทย์ อังกฤษ)

- สามารถทำวิชาไหนก่อนก็ได้ที่เราถนัด อยากทำ Eng ก็ทำก่อน ชอบวิทย์ฤดู ก็ทำวิทย์ก่อนในสาขาที่ถนัด (แต่ของเราทำสลับวิทย์ สลับอังกฤษ ไป 555)

- ข้อไหนใช้เวลานานเกินไปในวิทย์ให้ข้ามไปก่อน เราไม่ได้อยากที่เสียเวลากับข้อยากๆมาก เอาเวลาไปทำข้อง่ายๆดีกว่า

- ใช้เทคนิคการตัดช้อยที่มันไม่ตอบแน่ๆให้เป็นประโยชน์ อย่างน้อยจะมีโอกาสในเดาถูกสูงขึ้น

- ถ้ามีเวลาเหลือ อย่าลืม check คำตอบให้เรียบร้อย และตรวจรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน ใช้เวลาที่เหลือให้มีประโยชน์นอกเหนือจากการนอนฟลุบ

- หลังสอบเสร็จ อย่ากังวลอะไรมาก ให้บอกกับตัวเองว่า เราทำเต็มที่แล้ว ผลจะเป็นยังไงก็ตาม อย่างน้อยเราก็ได้ทำในสิ่งที่เราหวังเต็มที่แล้ว แล้วก็ระหว่างรอผล 7 วัน ก็อย่ากังวลมาก ใช้ชีวิตให้ปกติ พักผ่อนหลังจากที่เหนื่อยมาตลอดปี


45.ก็...จบไปแล้วสำหรับการรีวิวการเข้าเตรียมอุดมของเรานะ ทั้ง 3 EP ก็ขอบคุณทุกคนที่อดทนอ่านกระทู้มาถึงตรงนี้เนอะ เราหวังว่ากระทู้ series นี้จะช่วยให้น้องๆ มีกำลังใจในการเตรียมสอบเข้าเตรียมมากขึ้น และ มีแนวทางในเตรียมตัวที่ดีขึ้น ไม่มากก็น้อย...

สำหรับ EP4 จะไม่เกี่ยวกับเรื่องสอบเข้าเตรียมแล้วนะ แต่จะเป็นรีวิวการเรียนที่เตรียม ซึ่งเราจะเขียนเมื่อเรียนที่เตรียมไปแล้ว 1 เทอมนะหรือนานกว่าหน่อยนะ


สุดท้ายนี้ เราขอฝากช่องทางติดต่อของเราถ้าใครอยากถามคำถามอะไรเกี่ยวกับการสอบเข้าเตรียมหรือคำถามคณิต วิทย์ อังกฤษ อะไร ก็สามารถติดต่อเราได้ผ่านทาง Facebook : SimSim Makrungruengkrai โดยเราไม่รับเป็นเพื่อนถ้ายังไม่เคยรู้จักกันนะ และเวลาทักใน Messenger ต้องทักด้วยว่า “ชื่อเล่นอะไร มาจากโรงเรียนไหน และมาจากกระทู้รีวิว TU ที่ dek d” อะไรประมาณนี้นะ


ก็ขอบคุณที่ติดตาม series ของนักเรียนธรรมดาคนนึงเนอะ


ขอให้ทุกโชคดีในเรียนในการเรียนที่โรงเรียน การทบทวนเพื่อสอบเข้าเตรียมและโรงเรียนอื่นๆ และการสอบจริงนะ


แล้วเจอกันในรั้วเตรียมอุดมนะ Good luck to y’all

SiMSiM

2 May 2020

0