Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ช่วยทีครับใกล้สอบแล้วแต่มันยากจริงๆเรื่องความหนืดครับ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือผมอยากรู้เรื่องที่มาของสูตรนี้ครับคือมันจะมีสูตรที่เป็นของเหลวในอุดมคติแต่ที่ผมต้องสอบมันจะต้องทดลองแล้วใช้ในชีวิตจริงเลยต้องใช้อีกสูตรครับผมเอามาจากคลิปนี้นะครับ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Mr_C 20 ม.ค. 65 เวลา 21:51 น. 1

ความเห็นของพี่ สูตรนี้น่าจะมาจากการประมาณค่าในการทดลอง
ถ้าพิสูจน์ทางทฤษฎีตัวแปรที่เกี่ยวข้องน่าจะเยอะมาก
อันที่จริงสูตรปรับแก้ จะยาวกว่านี้อีกนิดหน่อย
สูตรเต็มจะเป็น [ 1+ 2.4 (r / R) ][ 1+ 3.3 (r / H)]
็H คือ ระยะทางในช่วงลูกเหล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
1 + 2.4 (r / R) จะเรียกว่า wall effect correction
1+ 3.3 (r / H) จะเรียกว่า end effect correction
แต่ที่ตัดส่วนของ end effect ออกไปได้ เพราะ r / H ตรงนี้จะมีค่าน้อยมากๆ

6
Username_dekd 21 ม.ค. 65 เวลา 14:34 น. 1-1

ขอบคุณครับพี่ ตอบได้ทุกข้อที่ถามเลยทำยังไงจะเก่งphtsicแบบพี่บ้างอะครับ

0
Mr_C 22 ม.ค. 65 เวลา 00:45 น. 1-3

พี่จะเน้นอ่าน กฏ ทฤษฎี นิยาม ให้เข้าใจระดับนึงก่อน
แล้วค่อยไปฝึกทำโจทย์เก็บประสบการณ์ เก็บมุมมองที่ขาด
เพื่อเสริมความเข้าใจให้มากขึ้น
หรือ ไม่ก็เริ่มทำโจทย์ก่อน แต่จะตั้งคำถามว่าทำไม เช่น ทำไมใช้สูตรนี้ เพราะอะไร
ทำไมคิดแบบนี้ เพราะอะไร ซึ่งผลสุดท้ายก็นำกลับมายังส่วนที่ต้องทำความเข้าใจ
กฎ ทฤษฎี นิยาม
อีกอย่างพี่เป็นพวกที่ชอบจำน้อยๆ แต่ใช้ได้มาก ซึ่งต้องแลกด้วยความเข้าใจที่ลึกพอสมควร แต่พี่ก็ยังไม่เก่งพอที่จะทำได้ทุกข้อ มีหลายๆ อย่างที่พี่ยังไม่รู้
ยังต้องเรียนรู้เพิ่มอีกเยอะ
------------------------------------
มุมมองของพี่ต่อการเรียนรู้จะคล้ายๆ แบบนี้
พี่จะเปรียบตัวเหมือนกระดาษเปล่าๆ แผ่นนึง
ถ้าเรามี พื้นฐานความรู้ หรือ อ่านทำความเข้าใจ มาก่อน
จะคล้ายๆ กับ กระดาษแผ่นนั้นมีการเขียนอะไรลงไปแล้ว พอเราทำโจทย์
ถ้าทำได้ = สิ่งที่เราเขียนอยู่บนกระดาษใบนั้นเพียงพอสำหรับโจทย์ข้อนั้นแล้ว
ถ้าทำผิด ทำไม่ได้ = สิ่งที่เขียนไปบนกระดาษนั้นมันยังไม่พอที่จะตอบ
เลยต้องเรียนรู้จากข้อนั้น ว่าเรายังเก็บมุมมองไม่ครบ หรือ ยังไม่เข้าใจตรงไหน
ซึ่งเราจะรู้ว่าควรเขียนความรู้ที่ได้เพิ่มขึ้นมาลงไปตรงไหน เพื่อให้สิ่งที่เราเขียนนั้น
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
-------------------------------------
ถ้าทำแต่โจทย์ โดยไม่มีการตั้งคำถามเลย
จะเหมือนกับเราเขียนอะไรลงไป มันก็จะมีอยู่แค่ตรงที่เราเขียน
ดังนั้นเลยนำมาซึ่งคำถาม
"เราต้องทำโจทย์มากขนาดไหนถึงจะเก็บมุมมองได้ครบ ? "
เพราะบางทีโจทย์เปลี่ยนคำพูด เปลี่ยนตัวแปรที่บอก ลักษณะโจทย์ก็เปลี่ยนไปแล้ว
แต่ พื้นฐาน กฎ ทฤษฎี นิยาม ยังเป็นตัวเดิมเหมือนเดิม

0
Username_dekd 25 ม.ค. 65 เวลา 11:02 น. 1-4

พี่พูดจนผมเข้่าใจเลยครับ ขอบคุณมากครับพี่ ปกติผมใช้วิธีนี้กับชีวะกับเคมีเหมือนกันครับ แต่พอทำกับฟิสิกส์ แล้วมัันจะงงๆอะคับ พี่มีเว็บหรือหนังสือแนะนำที่เขียนนิยามดีๆไหมครับแต่ปกติผมชอบงงนิยามครับ เช่นแรงลอยตัวกับแรงดันอย่างนี้อะครับ มันต่างกันยังไงครับ มันก็ดันจากของเหลวเหมือนกันครับ

0
Mr_C 25 ม.ค. 65 เวลา 20:18 น. 1-6

ไม่เป็นไรครับ
พี่แค่แชร์มุมมอง กับ แชร์ความรู้
ส่วนเรื่องแรงลอยตัว กับ แรงดัน
อันที่จริงมัน คือ สิ่งเดียวกัน เพราะมันเป็นแรง
ลองดูในกระทู้อันนี้ (เขียนไว้ตั้งนานแล้ว)
https://www.dek-d.com/board/view/3521580/2/2

ในความเห็นสุดท้าย น่าจะตอบโจทย์ของน้องได้

0