Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Ebola Virus #วิชาIS

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
Ebola virus

การระบาดครั้งแรกของไวรัสอีโบลา
เมื่อปี 2519 มีการระบาดเป็นครั้งแรกของโรคไข้เลือดออกชนิดใหม่ที่อุบัติใหม่อีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศซูดานและประเทศซาอีร์ ชื่อ "อีโบลา" ชื่อนี้ได้มาจากชื่อแม่น้ำอยู่ตรงบริเวณที่พบโรคในตอนเริ่มแรกคือ ที่แถบลุ่มแม่น้ำอีโบลา ในประเทศซาอีร์ ก็เลยตั้งชื่อโรคและชื่อของไวรัสตัวก่อเหตุตามชื่อแม่น้ำดังกล่าว

การวิจัยและการทำยารักษาอีโบลา
วันที่ 2 ต.ค. เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมา ที่อาคารศรีสวรินทิรา โรงพยาบาลศิริราช ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ครั้งแรกของไทยศิริราชผลิตแอนติบอดีรักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาสำเร็จ" ซึ่งมีกองทัพสื่อมารอฟังแถลงข่าวเป็นจำนวนมากร่วม 100 คน จนเต็มแน่นห้องประชุม ว่า โรคไข้เลือดออกมีการแพร่ระบาดในทุกทวีปทั่วโลกโดยประเทศไทยเป็นสายพันธุ์เด็งกี ส่วนแอฟริกาเป็นสายพันธุ์อีโบลา ซึ่งการแพร่ระบาดในครั้งนี้ของกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตกถือว่ามีความรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี ข้อมูลองค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 16 ก.ย. มีผู้ติดเชื้อ 6,574 ตาย 3,091 ราย โดยศิริราชมีการศึกษาค้นคว้าเรื่องไข้เลือดออกมาโดยตลอด ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับอีโบลา จึงนำมาพัฒนาในการวิจัยรักษาอีโบล ซึ่งพบว่าการผลิตแอนติบอดีรักษาไข้เลือดออกอีโบลาได้สำเร็จในระดับห้องทดลอง (ห้องแล็บ)
แอนติบอดีที่ศิริราชผลิตขึ้นเป็นแบบโพลิคลอนอลแอนติบอดี ซึ่งจะตอบสนองต่อโปรตีนหรือแอนติเจนของเชื้ออีโบลาหลายตัว โดยสามารถตอบสนองต่อโปรตีน GP1 ทำให้ไวรัสเข้าเซลล์ไม่ได้ โปรตีน GP2 ทำให้ไวรัสจะออกจากกระเปาะไปเพิ่มจำนวนไม่ได้ โปรตีน VP35 ทำให้ไวรัสกดภูมิคุ้มกันของโฮสต์และเพิ่มจำนวนไม่ได้ และโปรตีน VP40 ทำให้ไวรัสที่เพิ่มจำนวนแล้วประกอบร่างเป็นไวรัสรุ่นลูกตัวใหม่ไม่ได้และออกจากเซลล์ไปเผยแพร่เซลล์อื่นไม่ได้ ต่างจากยาซีแมปของสหรัฐฯ ที่แอนติบอดีตอบสนองต่อแอนติเจนเฉพาะตัวที่ไวรัสจะจับกับเซลล์คนเพียงจุดเดียว ทำให้เมื่อไวรัสปล่อยโปรตีนดังกล่าวล่อออกไปในกระแสเลือด ยาซีแมปจึงไปจับโปรตีนที่อยู่ในกระแสเลือดแทน จึงไม่สามารถเข้าไปจับไวรัสที่จะเข้าไปในเซลล์ได้ รวมถึงมีขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ได้ ทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสสุงในการกลายพันธุ์
สำหรับแอนติบอดีนี้ได้ยื่นจดสิทธิบัตรต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว และได้เสนอความสำเร็จนี้ไปลงในวารสารทางการแพทย์ด้านไวรัสโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นวารสารระดับนานาชาติ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาว่าต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนจึงจะได้ตีพิมพ์ อย่างไรก็ตาม การใช้แอนติบอดีนี้รักษาจะต้องใช้ในช่วงระยะเวลาเพิ่งเริ่มมีไข้เท่านั้น หากอยู่ในระยะที่เลือดออกแล้วจะไม่สามารถรักษาได้ โดยสามารถรักษาอีโบลาได้ทุกสายพันธุ์ เนื่องจากมีโปรตีนเฉพาะที่แอนติบอดีจะเข้าไปจับได้เหมือนกัน

สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอีโบลา
เชื่อว่าติดเชื้อมาจากสัตว์ป่า ปัจจุบัน ตรวจพบเชื้อในพวก กอริลลา ชิมแปนซี (ไอวอรี่โค้ด และคองโก) กอริลลา(กาบอนและคองโก) และในสัตว์พวกกวางที่มีเขาเป็นเกลียว (คองโก) ในการศึกษาทางห้องปฎิบัติการพบว่าค้างคาวติดเชื้ออีโบลาแล้วไม่ตาย ทำให้เกิดสมมติฐานว่าสัตว์จำพวกนี้เป็นพาหะของโรคและทำให้เชื้อไวรัสยังคงมีอยู่ในป่าแถบร้อนชื้น

การติดต่อของโรคอีโบลา
สัมผัสโดยตรง กับ เลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือน้ำจากร่างกายผู้ติดเชื้อ ญาติที่สัมผัสร่างกายของผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิต ผู้ดูแลลิงชิมแปนซี กอริลลาที่ป่วย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยโรคอีโบลา โดยไม่ได้ป้องกัน

ระยะแพร่เชื้อ:ตั้งแต่เริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ

ระยะฟักตัว: 2-21 วัน

อาการ: ไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ตับและไตวาย บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรวจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ

การวินิจฉัย: โดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง ระดับ 4


วิธีป้องกันโรคอีโบลา
ก. การหลีกเลี่ยงการติดต่อจากสัตว์ คือ ไม่กินสัตว์ที่อาจเป็นพาหะโรค โดยเฉพาะปรุงไม่สุกทั่วถึง รวมทั้งการไม่เข้าไปในถิ่นที่มีสัตว์ที่เป็นพาหะโรคอาศัยอยู่ และยังรวมถึงการไม่สัม ผัสสารคัดหลั่ง และ/หรือ ซากสัตว์ต่างๆ นอกจากนั้นถ้าพบสัตว์ตายหรือซากสัตว์ตาย ที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือที่สงสัยการตายจากติดโรค ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มาดูแลเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ข. ส่วนการหลีกเลี่ยงการติดต่อจากคนสู่คน คือ การหลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย ถ้าต้องดูแลผู้ป่วย เช่น คนในครอบครัว หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาโรคนี้ จะต้องเคร่งครัดในการรักษากฎระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆในการดูแลผู้ป่วย และในการดูแลตนเอง เช่น ความสะอาดของเสื้อผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ที่นอน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เครื่องใช้ส่วนตัวต่างๆ การใช้ถุงมือ การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือ การรักษาความสะอาด จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ การดูแลสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ที่รวมถึง เหงื่อ แผล น้ำมูก น้ำลาย อา เจียน การไอ จาม ปัสสาวะ และอุจจาระผู้ป่วย

5 สายพันธุ์ย่อยที่สามารถติดต่อในคน ได้แก่
1. สายพันธุ์ย่อย Bundibugyo ebolavirus (BDBV)
2. สายพันธุ์ย่อย Zaire ebolavirus (EBOV)
3. สายพันธุ์ย่อย Sudan ebolavirus (SUDV)
4. สายพันธุ์ย่อย Reston ebolavirus (RESTV)
5. สายพันธุ์ย่อย Tai Forest ebolavirus (TAFV)
ทั้งนี้ สายพันธุ์ในข้อ 1 - 3 เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงที่ก่อการระบาดในแอฟริกา ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ที่เหลือยังไม่พบว่าก่อให้เกิดการระบาด และสายพันธุ์ RESTV เป็นสายพันธุ์ที่พบในจีนและฟิลิปปินส์ ที่ยังไม่เคยก่อการระบาด และยังไม่เคยเป็นเหตุให้เสียชีวิต


ประเทศไทยกับมาตรการรับมือภัยโรคอีโบลา
มี 4 มาตรการ ได้แก่
1.เพิ่มความร่วมมือด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อข้ามพรมแดนต่างๆ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล การฝึกอบรมบุคลากร และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในการสอบสวนโรคและตอบสนองการระบาดร่วมกัน รวมทั้งการสนับสนุน การตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว เพื่อผลในการตรวจรักษาและการควบคุมเชื้อให้อยู่ในวงจำกัด ไม่มีการแพร่กระจาย และการส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการมีกลไกการติดตามผู้สัมผัสโรคได้ครบถ้วน ตามมาตรฐานสากล
2.สร้างกลไกการเตรียมความพร้อมตอบโต้โรคอีโบลาและโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดในอนาคต โดยมีการสนับสนุนวิชาการจากองค์การอนามัยโลกภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก เร่งรัดให้ผ่านการรับรองตามเกณฑ์ของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548ขององค์การอนามัยโลก
3.จัดช่องทางสื่อสารการเตือนภัยล่วงหน้า มีสายด่วนตรงระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสาธารณสุข เพิ่มความรวดเร็วในการรับมือสถานการณ์ในประเทศ และระดับนานาชาติ และ
4.ความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาและเพิ่มความพร้อมเครื่องมือในการป้องกันโรค การตรวจจับสัญญาณการระบาด การรักษาพยาบาล และการควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่เช่นการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคอีโบลา ซึ่งขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนายาต้านไวรัสอีโบลา ชื่อว่าฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งผ่านขั้นตอนการทดลองในสัตว์ ได้ผลดี อยู่ระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพในพื้นที่ระบาด


Power point นำเสนอโครงงาน : http://www.upload-thai.com/dl/be658ddf4b8aa465e14726c9408a86f9

อ้างอิง :
การระบาดครั้งแรกของไวรัสอีโบลา
เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?newsid=9570000046473
การคิดค้นและผลิดยารักษาโรค
เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000113339
5 สายพันธุ์ย่อยของอีโบลา
เข้าถึงได้จาก: http://haamor.com/th/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B2
การติดต่อของอีโบลา
เข้าถึงได้จาก: http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=499
4 มาตรการรับมือภัยโรคอีโบลาในไทย
เข้าถึงได้จาก: http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=69774


*** 26 , 39 (4/6) ***
กดLIKE

แสดงความคิดเห็น

>