Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รู้จักกับภาษาไทยในวัน #เสียงสูง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เนื่องในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 นี่เป็นวันเสียงสูง เอ๊ะ! ไม่ใช่สิ เป็นวันภาษาไทย 
วันนี้เรามาหาสาระดีๆ กับความรู้ในเรื่องเสียงสูงกันซักหน่อยดีกว่าครับ โดยเฉพาะน้องๆ ประถม มัธยมที่เรียนวิชาภาษาไทยอาจจะเจอหลักภาษากันเรื่องเสียงสูงเสียงต่ำอะไรพวกนี้ จะได้เข้าใจมากขึ้น...มากกว่าคำว่า "อีกะหรี๊" อะนะ
 

ภาพจาก : http://www.ท่องเที่ยวทั่วไทย.com/board/b-135/วันนี้-...วันภาษาไทยแห่งชาติ-..-รู้ยัง??

 
รู้มั้ยว่า พยัญชนะ ในภาษาไทยเขามีการจำแนกตามระดับเสียงและการผันวรรณยุกต์ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
 
พยัญชนะเสียงสูง (อักษรสูง) 
ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
 
พยัญชนะเสียงกลาง (อักษรกลาง)
ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

พยัญชนะเสียงต่ำ (อักษรต่ำ)
ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. อักษรต่ำคู่ = อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว 7 เสียง ได้แก่
ค, ฅ, ฆ (ข,ฃ) 
ช, ฌ (ฉ) 
ซ (ศ, ษ, ส) 
ฑ, ฒ, ท, ธ (ฐ, ถ) 
พ, ภ (ผ) 
ฟ (ฝ) 
ฮ (ห)
2. อักษรต่ำเดี่ยว = อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว ได้แก่
ง, ญ, ณ, น, ม, ย, ร, ล, ว, ฬ
 
ซึ่งแต่ละแบบก็จะผันวรรณยุกต์ได้แตกต่างกัน อันนี้สำคัญมากเลยนะเพราะวัยรุ่นสมัยนี้เวลาเขียนหรือพิมพ์มักจะใช้ผิด เช่นคำว่า "น่าร๊ากกกก" แบบนี้ผิด!!! เพราะ ร. เป็นอักษรต่ำผันกับไม้ตรีไม่ได้ ต้องเป็น "น่าร้ากกกกก" แบบนี้ใช้ไม้โท แล้วจะเป็นเสียงตรี
ส่วน "กะหรี๊" แบบนี้ใช้ไม้ตรีผันได้ เพราะ ร. อยู่กับ ห. เป็นอักษรนำ หร ซึ่งจะผันได้เหมือนอักษรสูง
 
ว่าแต่อักษรสูง กลาง ต่ำ ผันก็ไม้อะไรได้ไม่ได้บ้าง มาดูกันเลยดีกว่า
 
อักษรสูง
สามารถผันได้ทุกวรรณยุกต์ ยกเว้นไม้ตรีและจัตวา จึงผันได้สามเสียง คือ เอก โท และจัตวา
(เพราะโดยพื้นฐาน อักษรสูงเป็นเสียงจัตวาอยู่แล้ว ลองออกเสียงดูสิ ขอ หอ ผอ )
เช่น
ห่า ห้า หา
 
อักษรกลาง
ผันได้ทุกวรรณยุกต์ 
(ตั้งแต่สามัญยันจัตวา ไม่มียกเว้นหอยหลอดอะไรทั้งนั้น 5555)
เช่น
ปัน ปั่น ปั้น ปั๊น ปั๋น
 
อักษรต่ำ
ผันได้ยกเว้นไม้ตรีและจัตวา
เช่น
รา ร่า ร้า
จะเห็นได้ว่าผันได้สองไม้ แต่เสียงที่ผันได้จริงๆ จะได้ 3 เสียง คือ สามัญ โท และตรี
แล้วถ้าอยากผันเสียงเอก และเสียงสามัญล่ะทำยังไง
คำตอบก็คือถ้าเป็นอักษรต่ำคู่ ให้ใช้อักษรสูงที่เป็นคู่มันมาผัน แต่ถ้าเป็นอักษรต่ำเดี่ยว ให้ทำเป็นอักษรนำ แบบนี้
รา หร่า ร่า ร้า หราาาาาาาา
อันนี้กรณี ร. เป็นอักษรต่ำเดี่ยว ส่วนอักษรต่ำคู่จะเป็นแบบนี้
คา ข่า ค่า ค้า ขา
 
แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการผันกับคำเป็น แล้วคำตายล่ะ จะผันยังไง?
 
......................
 
ก่อนอื่นทำความเข้าใจกับคำเป็น-คำตายกันก่อนดีกว่าเนาะๆ 
คำเป็น-คำตายมีหลักการดูง่ายๆ แค่นี้ครับ
 
คำเป็น
สะกดด้วยสระเสียงยาว หรือตัวสะกดในมาตราแม่อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ แม่กก กบ กด
เช่น
บ้า ควาย ว้าย แม่ม ห่าน
 
คำตาย
สะกดด้วยสระเสียงสั้น หรือตัวสะกดในมาตราแม่กก กบ กด
เช่น
กระแดะ สะเออะ แสด ตบ ซัด กัด จิก
......................
 
กลับมาต่อกันที่การผันวรรณยุกต์สำหรับอักษรแต่ละประเภทกับคำตายกันดีกว่า
 
อักษรสูง
คำตายเป็นเสียงเอกอยู่แล้วดังนั้นจะผันกับไม้เอกไม่ได้นาจา และทั้งหมดแล้วผันได้แค่เสียงเอกและเสียงโท
เช่น
หัก หั้ก 
 
อักษรกลาง
คำตายเป็นเสียงเอกอยู่แล้วอีกเช่นเคย ดังนั้นจะผันกับไม้เอกไม่ได้นาจา
เช่น
จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ (แต่แบบไม้จัตวาไม่ค่อยเห็นเนาะ)
 
อักษรต่ำ
โดยพื้นเพอักษรต่ำคำตายจะเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว เช่น คะ ละ นะ เพราะฉะนั้นจะใช้ได้กับแค่ไม้เอกเท่านั้น และผันได้แค่เสียงโทและตรี
เช่น
ค่ะ คะ
ล่ะ ละ
 
เอาหละคิดว่าคงได้สาระกันไปพอแล้ว ยังไงก็ขอให้น้องๆ ใช้คำให้ถูกกับเสียง เขียนให้ถูกรูปวรรณยุกต์กันด้วยนะครับ ถ้าสงสัยตรงไหนหรือคิดว่าพี่อธิบายผิดหลักภาษาก็ทักท้วงมาได้นะครับ 
ขอให้มีความสุขกับวันเสียงสูง เอ้ย! วันภาษาไทย สวัสดีครับ
 

แสดงความคิดเห็น

>