Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิว "ฉายาลักษณ์สยาม" งานภาพถ่ายโบราณที่ต้องไปชม หวนรำลึก+งามคุณค่า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 


          เราไปนิทรรศการมา ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะเอาลงกระทู้มั้ย เพราะช่วงนี้เราควรแสดงความอาลัย แต่กระทู้ของเราก็ไม่ได้รื่นเริงเนอะ เรียกว่าเป็นความรู้ เป็นประโยชน์ มีสาระ และคุณค่าดีๆ ที่เหมาะสมกับช่วงนี้อีกด้วย เราเลยนำมาลงกระทู้ฝากชาวเด็กดีดูกันนะ

*ภาพถ่ายจากมือถือ
คุณภาพแค่พอดูได้ ขอแนะนำให้ดูที่นิทรรศการจริง ภาพสวยกว่า รายละเอียดคำอธิบายก็ชัดกว่า คุณค่ามากจริง
*ใช้ราชาศัพท์หรือใดๆ ผิด ขออภัย คำอธิบายภาพเราเขียนย่อจากคำอธิบายในนิทรรศการอีกที



           นิทรรศการ "ฉายาลักษณ์สยาม" เป็นงานแสดงผลงานภาพถ่ายหายากของฝีมือช่างชาวต่างประเทศ (คนไทยก็มีบางส่วน) ที่เข้ามาถ่ายภาพในอดีตของสยามบ้านเรา งานนี้ทรงคุณค่ามาก ทั้งในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และฝีมือการถ่ายภาพ มีรูปถ่ายหายากที่เราๆ ไม่เคยได้เห็นกัน และเกิดไม่ทันแน่นอน (ยกเว้นชาติก่อน!!!) 

งานจัดที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (ใกล้มาบุญครอง) ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559
ทางเข้างานมีโต๊ะสอบถามข้อมูล แจ้งรายละเอียดงาน เขียนสมุดเยี่ยมชม
และป้ายใหญ่ๆ แวะถ่ายรูป เช็คอินงานได้ (แบบภาพด้านบน)
เข้าชมฟรี 


งานแสดงแบ่งออกเป็นส่วนๆ มีธีมมีหัวเรื่องกันไป
เช่น บุคคลและราชวงศ์ วิถีริมแม่น้ำลำคลอง สถาปัตยกรรมวัดและวัง ช้างสยาม ผู้หญิง เป็นต้น 









มีภาพให้เราดู มีคำอธิบายประกอบภาพให้เราอ่าน ว่าใครเป็นคนถ่าย ถ่ายที่ไหน ภาพต้องการสื่ออะไร 



รูปที่ลงนี้ไม่ได้เรียงตามลำดับธีมตามนิทรรศการนะคะ ไปดูรูปกันรัวๆ เลยค่า


ภาพโดย คาร์ล บิสมาร์ค Carl Bismarack
ภาพในหลวงรัชกาลที่ 4 ฉายร่วมกับพระราชโอรสและพระราชธิดา คาดว่าถ่ายในช่วงปี 2405 
ร.4 ทรงชุดแบบยุโรป หมวกมีพู่ขนนกด้านบน ในภาพมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5) อยู่ด้วย 


ภาพโดย กุสตาฟ แลมเบิร์ท Gustave R. Lambert
เป็นภาพในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ตามโบราณราชประเพณี ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ (พระที่นัางราชยานพุดตานทอง) ครั้งเสด็จไปถวายพระกฐิน พ.ศ.2428



ภาพโดย ฟรานซิส จิตร
ภาพเจ้านายเล็กๆ ทรงช้างภายในพระบรมมหาราชวัง 
สมเด็จฯ เจ้าฟ้าวชิรุณหิศ สยามกุฏราชกุมาร และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถประทับในพระประทุนหลังช้าง มีมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธประทับอยู่ในพระประทุนหลังช้างอีกเชือก ซึ่งถ้าเราเพ็งภาพดีๆ จะเห็นว่ามี ร.5 ประทับยืนทอดพระเนตรอยู่บนปราสาทด้วย เป็นภาพที่องค์ประกอบทางบุคคลสวยงามและมีคุณค่ามากจริงๆ 



ภาพโดย ฟรานซิส จิตร
พระเมรุมาศ ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2410 ด้านขวาในภาพจะเห็นราชรถน้อยจอดอยู่ พระเมรุมาศมีความยิ่งใหญ่ตามโบราณราชประเพณีสมพระฐานะพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ที่สอง ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งสยาม 




ภาพโดย เอมิล กรูท  Emil Groote
ซุ้มรับเสด็จของกระทรงโยธาธิการ
ซุ้มมีความสูง 40 เมตร สร้างบนถนนราชดำเนิน ทำเป็นแท่นมีรูปปั้นพระพฤหัสทรงกวาง ซึ่งตัวซุ้มกับรูปปั้นอยู่ห่างกันราว 10 เมตรออกไป เป็นซุ้มรับเสด็จ ร.5 กลับจากยุโรป


ภาพโดย ฟรานซิส จิตร Francis Chit
หน้าพระบรมมหาราชวัง ด้านตะวันออก เป็นภาพการตั้งแถวทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ทางดานนอกประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ เป็นทางเข้าสู่หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ที่ประทับของรัชกาลที่ 5 ในภาพจะเห็นหอนาฬิกาหรือพระที่นั่งภูวดลทัศไนยด้วย

ภาพโดย ฟรานซิส จิตร Francis Chit
วัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร เป็นภาพถ่ายยุคแรก พื้นน้ำมีผิวเรียบเหมือนน้ำแข็ง วัดนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ.2400 ในรัชกาลที่ 4 ซึ่งถือว่าเป็นนอกเมืองในขณะนั้น แต่ตอนนี้วัดปทุมฯ ถูกห้อมล้อมด้วยตึกสูงต่างๆ และก็ถือว่าอยู่ในกลางเมืองกรุงเลยทีเดียว สระขนาดใหญ่ที่เห็นในภาพเชื่อมกับคลองในบริเวณใกล้เคียงขณะนั้น ซึ่งตอนนี้กลายเป็นถนนพระราม 1 ไปแล้ว


ภาพโดย คาร์ล บิสมาร์ค Carl Bismarck
เป็นภาพ #เจ้าจอมชาวมาเลย์ เจ้าจอมตนกูซาเฟีย บินดี หรือเจ้าจอมสุเบีย ธิดาในสุลต่านแห่งลิงกาในอินโดนีเซีย เป็นเจ้าจอมใน ร.4 



ภาพโดย โรเบิร์ต เลนซ์ Robert Lenz 
พระฉายาลักษณ์พระเจ้าลูกเธอสององค์กับตุ๊กตา
เป็นพระราชธิดาสองพระองค์ใน ร.5 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม (ไกรฤกษ์) ทรงชุดแบบฝรั่งเต็มเครื่องประดับอย่างดี  มีผ้าคลุมโต๊ะลายสิงห์และเทพพนม (เป็นจุดเด่นการถ่ายภาพของช่างภาพคนนี้) ด้านหน้ามีตุกตาและรถม้าแบบยุโรป



ภาพโดย โจคิม แอนโทนิโอ Joaquim Anto/nio
ในชื่อภาพ สาวปากลัด ซึ่งน่าจะหมายถึงบ้านปลากลัด อำเภอหนึ่งในสมุทรปราการ เป้นภาพผู้หญิงมอญ ไม่มองกล้อง มือถือดอกไม้



ภาพโดย กุสตาฟ แลมเบิร์ท Gustave R. Lambert
ภาพชื่อ กลุ่มหญิงชาวสยาม ถ่ายในสตูดิโอของช่างภาพเอง เคยตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ออสเตรีย เมื่อ พ.ศ. 2433 *ภาพจริงที่จัดแสดงนั้น หญิงสาวเปลือยอก ตามลักษณะหญิงสยามโบราณ 
 
โจคิม แอนโทนิโอ Joaquim Anto/nio
เป้นภาพคณะละครเด็กผู้หญิง มีใบหน้าขาวจากการปะแป้ง คนในภาพตั้งท่าเดียวกัน คือ ท่ากินรรำ ตัวละครในภาพนี้จะออกมา "รำถวายมือ" เพื่อเป็นการบูชาครูก่อนการแสดง

 
ภาพโดย เอมิล กรูท Emil Groote 
เป็นภาพตัวละครสองคนจากละครหลวงนฤมิตร
นักแสดงหญิงคนซ้าย คือ หม่อมแก้ว วรวรรณ ณ อยุธยา ส่วนนักแสดงหญิงอีกคนที่แสดงเป็นชาย คือ ช้อย 

 

ภาพรวมๆ การจัดแสดงก็เรียงๆ ไปแบบนี้แหละ สถานที่โอ่โถง ให้เราเดินได้ไม่อึดอัด
 
ภาพโดย โรเบิรต์ เลนซ์ Robert Lenz
เป็นวิวแม่น้ำปิง แม่น้ำสายหลักในภาคเหนือใช้ขนส่งสินค้าหรือเรือโดยสารขึ้นล่องระหว่างเชียงใหม่และนครสวรรค์ ในภาพขวาเป็นเรือหางแมงป่อง ซึ่งเรือหางแมงป่องนี้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ก็เคยทรงใช้เสด็จขึ้นล่องระหว่างพระนครและเชียงใหม่ด้วย (แต่คำอธบายในงานเขาไม่ได้บอกว่า หมายถึงรำในภาพหรือเปล่านะ) 


                    ยังมีภาพอีกมากกๆๆๆๆ เลย ส่วนใหญ่ถ่ายโดยช่างภาพชาวต่างประเทศ ยังมีภาพพระราชวงศ์ไทย อีกหลายหลายภาพ บรรยากาศสยามอีกมาก ร่วมถึงภาพภาพวิถีชาวต่างชาติในสยามช่วงนั้นอีกด้วย ใครชอบแนวประวัติศาสตร์ หรือชอบศึกษาการถ่ายรูป ควรไปงานนี้มากๆ สร้างแรงบันดาลใจได้มาก และยังรุ้สึกถึงความสาวยงามของสยามในอดีตอีกด้วยค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

zai.goaround 22 ต.ค. 59 เวลา 20:22 น. 2

เห็นแล้วอยากไปเลยค่ะ ก่อนวันที่ 7 พ.ย. ต้องหาเวลาไปให้ได้แน่นอน

ขอบคุณที่ทำกระทู้มาให้ชมนะคะ

1
teenagerdreamdramaever 28 ต.ค. 59 เวลา 07:25 น. 2-1

ไปเลยค่าา ยังมีภาพมากกว่านี้อีกเยอะเลย นี่ก็ถ่ายมาเต็มเครื่อง แต่ว่า มันเยอะ เลือกมาลงไม่ถูกจริงๆ

0