Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นักเศรษฐศาสตร์...อาชีพที่ใครหลายๆคนใฝ่ฝัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


เบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจทุกธุรกิจบนโลกใบนี้ ย่อมมีนักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งกาจเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์จึงนับว่าเป็นอาชีพที่สำคัญมากๆ รวมถึงเป็นอาชีพในฝันของผู้คนมากมาย รวมถึงตัวข้าพเจ้าเองด้วย แต่ทว่าใครๆหลายๆคนยังสงสัยว่าอาชีพนักเศรษฐศาสตร์นั้นคืออะไร และมีลักษณะงานเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าจึงสร้างกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อคลายความสงสัยเหล่านั้น

นักเศรษฐศาสตร์คือใคร?
นักเศรษศาตร์ คือ ผู้ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และนำหลักเศรษฐศาสตร์มาใช้ในงานที่เกี่ยวกับที่มาของรายได้ รายจ่าย การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การบริโภคสินค้าและบริการ รวมถึงการพัฒนาทฤษฎีต่างๆ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเป็นหลัก วางแผนงานเพื่อ ส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การวางแผนงาน ด้านการเงิน การคลัง ภาษีอากร เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า และแรงงาน

ลักษณะของงานที่ทำ

1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย จัดทำรายงาน และวางแผนงาน เพื่อส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า และบริการ การลงทุน แรงงาน 
2. ศึกษากรรมวิธีทั้งหมดที่เกี่ยวกับการดำรงชีพของมนุษย์ และจัดหาสิ่งต่างๆ มาบำบัด ความต้องการของมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่อาศัย บริการ หรือการบันเทิง ตลอดจนการศึกษาสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ หรือสิ่งที่ช่วยให้การพัฒนาเศรษฐกิจบรรลุผลสำเร็จ 
3. ค้นหา วิธีเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ รวบรวม และตีความข้อมูลดังกล่าว 
4. จัดทำรายงาน และวางแผนงานตามผลการศึกษางานทางเศรษฐกิจ และตามข้อมูลที่ได้ ตีความและวิเคราะห์แล้ว 
5. ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่หน่วยงานประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมของเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล ในเรื่องต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพของการทำงานการตลาดและปัญหาเกี่ยวกับการเงิน เป็นต้น 
6. อาจเชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น เศรษฐกิจการเกษตร เศรษฐกิจการคลัง หรือเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ การแรงงาน หรือราคา หรือเชี่ยวชาญในเรื่องการเก็บภาษีอากร หรือ การวิจัยตลาด และอาจมีชื่อเรียกตามความเชี่ยวชาญ 
7. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วางแผน เก็บรวบรวมข้อมูล ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐและ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับที่มาของรายได้ รายจ่าย การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อการส่งเสริม พัฒนา และแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีคณะเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 
2. มีความรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ มีความถนัดและสนใจด้านคณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ 
3. มีบุคลิกดี มีความสามารถในการเจรจาต่อรองและประนีประนอมได้ดี 
4. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีใจกว้าง ยอมรับฟังการติชมจากผู้อื่น 
5. ซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อความคิดเห็นของตนเอง เสนอข้อคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ และเป็นกลาง 
6. รักความเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น 


สภาพการทำงาน
นักเศรษฐศาสตร์ทำงานในสถานที่ทำงานที่มีสภาพการทำงานเป็นสำนักงานที่มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่นสำนักงานทั่วไปในการทำงานอาจจะต้องใช้เครื่องคำนวณ และหรือเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ช่วยงานศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ในการวางแผนในเชิงธุรกิจของหน่วยงาน

สภาพการจ้างงาน
อาชีพนักเศรษฐศาสตร์เป็นอาชีพที่มีโอกาสก้าวหน้าได้สูงและมีผลตอบแทนค่อนข้างดี ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชนจะ ได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาตินักเศรษฐศาสตร์ที่จบปริญญาตรีจะได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยตอบเริ่มบรรจุ12,169 บาทต่อเดือน เงินเดือนเฉลี่ยต่อปี : $40,000 - $200,000 คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1,379,080 - 6,895,400 บาท 
นอกจากค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนแล้วในภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนอาจได้รับผลประโยชน์พิเศษอย่างอื่น เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินสะสม เงินช่วยเหลือสวัสดิการในรูปต่างๆ เงินโบนัส ค่าล่วงเวลา เป็นต้น ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ มีชั่วโมงทำงานโดยปกติวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมงและอาจต้องทำงานล่วงเวลา หรือวันเสาร์ วันอาทิตย์ หรือวันหยุด เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนต้องทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลา

โอกาสในการมีงานทำ
สามารถประกอบอาชีพเป็นพนักงานในธนาคาร พนักงานในองค์การระหว่างประเทศ เจ้าของธุรกิจส่วนตัวนักวิจัย นักวิชาการด้านธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจ สถาบันการเงินทั่วไป อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ในตลาดแรงงานยังมีความต้องการนักเศรษฐศาสตร์อีกมาก เพื่อพัฒนาธุรกิจของหน่วยงานและประเทศให้สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและสามารถแข่งขันทางการค้าในภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปให้ทันต่อเหตุการณ์ เวลา และถูกต้อง เนื่องจากทุกประเทศมีจุดมุ่งหมายให้มีรายได้เข้าประเทศให้มากที่สุด เพื่อให้ประชากรมีการกินดีอยู่ดี และสร้างประเทศให้มั่งคั่ง การแข่งขันทางการค้าและมาตรการกีดกันทางการค้าจึงมีความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นโดยลำดับ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์สามารถเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ และหน่วยงานที่ตนปฏิบัติได้เสมอ อาจจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบ นักวิจัยและนักวางแผนทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้สามารถประกอบอาชีพได้หลายประเภท และในสถานที่ต่างๆได้หลายแห่งทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน บริษัท ห้างร้านต่างๆ องค์กรพัฒนาเอกชน และได้รับการเลื่อนตำแหน่งจนถึงตำแหน่งหัวหน้างาน หัวหน้าฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้อำนวยการ ผู้จัดการใหญ่ในภาคเอกชน ส่วนในภาครัฐ ถ้ามีการศึกษาในระดับที่สูงกว่าระดับ ปริญญาตรี มีประสบการณ์ และมีความสามารถในการบริหารงานจะสามารถเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งจนถึงระดับบริหารสูงสุดในหน่วยงานนั้น โดยทั่วไปผู้ที่มีโอกาสได้รับการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ หรือวิชาการบริหารธุรกิจ ก็สามารถเลื่อนวิทยฐานะหรือตำแหน่งงานที่สูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หรืออาจเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย



yesyesyesyesyesyesyesyesyesyes

 

อ้างอิงข้อมูลจาก http://ess.eco.ku.ac.th/economist.htm และ 
http://mefuturecareer.blogspot.com/2015/10/blog-post.html
 

แสดงความคิดเห็น