Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ฉากหนึ่งใน #นาคี ทำไมใช้คำว่า "สยุมพร" แทนคำว่า "อภิเษก"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

 

ในฉากหนึ่งของ #นาคี ที่พระเจ้านิรุทธราช พูดกับ แม่ทัพไชยสิงห์ ว่า 
ข้าจะจัดพิธี "สยุมพร" ให้เจ้ากับกรรเจียก ซึ่งหมายถึง "แต่งงาน" 


แล้วทำไมไม่ใช้ "อภิเษกสมรส" ????????


เมื่อได้ค้นข้อมูลมาจึงพบว่า "สยุมพร" กับ "อภิเษก" มีความหมายเดียวกันคือ "แต่งงาน"
แต่จะแตกกันที่ฝ่ายใดเป็นคนขอ

อภิเษก = ฝ่ายชายไปขอ เป็นปกติทั่วไป
สยุมพร = ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเลือก 


ตัวอย่างเช่น กรณีที่นางรจนาเสี่ยงพวงมาลัยเลือกคู่ใน
เรื่องสังข์ทองที่เราเรียนกันตอนประถม เอาง่ายๆ ใช้คำว่า สยุมพร นะจ๊ะ 



ทำความรู้จัก "พิธีสยุมพร" หรือ "“พิธีคเณศวิวาหะ" เพิ่มเติม


            พิธีนี้เป็นพิธีของศาสนาพราหมณ์ฮินดู คือพิธีที่สำคัญของศาสานาฮินดูอันเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมพิธีมงคลสมรสของชาวเอเชียอุษาคเณย์ โดยเฉพาะพิธีสู่ขอและของหมั้นเริ่มจากการบูชาเทพเพื่อมาเป็นสักขี เพื่อทำการสักการะต่อพระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ ผู้ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จของศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพระชายาทั้งสองพระองค์ อันได้แก่พระนางสิทธิ (ความสำเร็จ) และพระนางพุทธิ(ปัญญา) 

           พิธีคเณศวิวาหะถือกำเนิดจากตำนานตอนหนึ่งกล่าวถึง พระศิวะมหาเทพทรงทดสอบความสามารถของพระโอรสทั้งสองของพระองค์คือพระคเณศ และพระขรรถกุมาร โดยให้ทรงแข่งขันเดินทางรอบโลกสามรอบ ผู้ใดถึงเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ และพระอุมาเทวี ก่อน จะเป็นผู้ชนะและได้สยุมพรก่อน

          โดยพระคเณศทรงใช้ปัญญาความสามารถโดยเดินวนรอบพระศิวะ พระอุมา สามรอบ แล้วกล่าวว่า พระบิดา และพระมารดา เปรียบเสมือนโลกของบุตร จึงได้รับชัยชนะ แล้วทรงประทานพิธีสยุมพร พระคเณศ กับ พระเทวีสิทธิ-พุทธิ

          กล่าวว่าผู้ใดได้กระทำ พิธีบูชาพระคเณศวิวาหะ จะมีแต่ความสมบูรณ์พูนสุข , มั่งคั่ง ,บังเกิดความปรองดองและความสมหวังในรักตลอดชีวิต พิธีนี้จะจัดช่วงคาบเกี่ยวก่อนหรือหลังพิธีจตุรถีในอินเดียใต้ เราจะเห็นพิธีวิวาหะนี้มากที่สุดคือ พิธีสยุมพร ของพระแม่มินากษิ แห่งนครมาดูไรกับพระศิวะที่ยิ่งใหญ่มากในอินเดีย โดยจะอัญเชิญเทวรูปทั้งสององค์มาประทัปบนชิงช้า

          ในช่วงพิธีนี้จะถูกจัดคล้ายพิธีแต่งงานของชาวฮินดู ซึ่งจำลองมาจาก พิธีสยุมพร ของเทพอันเป็นมงคลอันสูงสุด มีการประดับตกแต่งปะรำพิธี(ฆณฑป) การจัดแต่งทรายสีรังโคลี และผงแป้งมงคลการจัดแท่นปีฐ์(บิฐ) คือการจำลองที่ประทับของเทวะแต่ละองค์ทำเป็นช่องมีข้าวย้อมสีและขมิ้น

          ที่ภายหลังคนทั่วไปใช้เป็นพิธีมงคลสมรสของศาสนาฮินดูโดยเฉพาะพิธีจุ่มเจิมในงานมงคลเป็นรากฐานของพิธีแต่งงานของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเดินประทักษินรอบกองไฟเพื่อให้เทวะมาเป็นสักขี ฝ่ายเจ้าบ่าวจะเป็นผู้เดินนำก่อนโดยใช้ผ้าคล้องไหล่ไปผูกกับผ้าคลุมศรีษะของเจ้าสาวและมีพืธืสาบานตน ตามด้วยพิธีมงคลอารตี(วนประทีปบูชา) รับเทวประสารท หรือขนมที่ได้จากการบูชาพระคเณศและพระชายาถือเป็นของมงคลสูงสุดที่ประทานให้แก่ผู้ศรัทธาในพระองค์          

ตัวอย่างพิธีสยุมพรที่จัดขึ้นในไทย




 

เรียบเรียงโดย จขกท
ข้อมูลอ้างอิง วิกิพีเดีย
http://www.komchadluek.net/news/detail/103291
เพจ คณะโหร-พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีกรรม ศาลบรรพชนเลี่ยมเพ็ชรรัตน์

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น