Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เด็กยุคนี้ เอาแต่สังคมก้มหน้า ชีวิตบนโซเชียล ตรงข้ามกับความจริง แล้วไงมันผิดเหรอ!?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
         
 
          ในสังคมทุกวันนี้ที่แทบจะถูกนิยามว่าเป็นสังคมก้มหน้า โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยีไร้สายและสมาร์ทโฟน จนทำให้บางครั้งเกิดคำถามที่ว่าสังคมก้มหน้านั้น เป็นสิ่งที่ผิด หรือ ถูก ?

          หลายครั้ง หลายคนเป็นห่วงเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ ซึ่งโดนมองว่าจะทำให้เด็กอย่างเราๆ เติบโตมาโดยมีประสิทธิภาพและปฏิสัมพันธ์ที่น้อยลง บางครั้งอาจเลยเถิดไปจนคิดว่าเด็กเหล่านี้อาจไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตก็เป็นได้...

          มีเรื่องเล่าของเด็กชายคนหนึ่งที่มีความชอบการเล่นเกมตั้งแต่อายุเพียง 6-7 ขวบ โดยเครื่องแรกที่คุณพ่อซื้อให้คือรุ่น อาตาริ เรียกได้ว่าพูดและฝันออกมาเป็นภาษาเกมรัวๆ ช่วงเรียนก็เริ่มเข้าสู่การเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งคนภายนอกอาจมองว่ามันเป็นสิ่งที่ไร้สาระ แต่เด็กชายก็มีความฝันว่าวันหนึ่งจะต้องได้ทำงานเกี่ยวกับการผลิตเกมในแบบที่เขาชอบ แต่เส้นทางนั้นไม่เรียบง่าย ครั้งแรกเขาไม่ได้เรียนในคณะที่เกี่ยวกับด้านไอทีด้วยซ้ำ และด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้เขาต้องออกมาทำงานช่วยเหลือที่บ้าน จนความฝันได้ถูกพับเก็บใส่กล่องไป งานที่เขาได้ทำ ณ ช่วงเวลานั้นดูจับฉ่ายและไร้ทิศทาง เช่น ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ ช่างแอร์ หรือแม้กระทั่งดูแลร้านอินเตอร์เน็ต! และแล้วเด็กหนุ่มได้ค้นพบว่ามีมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเกี่ยวกับเรื่องเกม เขาจึงยอมละทิ้งทุกอย่างกลับไปศึกษาในมหาวิทยาลัยในวัยยี่สิบปลายๆ ซึ่งเพื่อนๆและคนส่วนใหญ่มองว่าแก่เกินเรียน

          แม้นเหรียญเองยังมีสองด้าน เทคโนโลยีก็เช่นกัน

          ใช้ปากพูดกันน้อยลง!... แต่พวกเราอาจเข้าใจกันมากขึ้น ผ่านตัวอักษรที่ถูกคิดก่อนพิมพ์ออกไป ซึ่งบางครั้งสามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้ครบถ้วนมากกว่า... แล้วทำให้เราสื่อสารไม่รู้เรื่อง และเข้าใจกันน้อยลงถูกหรือ?...เด็กชายได้ใช้เวลากับความคิดของตนเองมากขึ้น

          ฟังกันน้อยลง! ...แต่ได้อ่านกันมากขึ้น ผ่านข้อความที่ถูกส่งมา มีเวลาให้หยุด ได้ฉุกคิด ก่อนจะโต้ตอบออกไปในทันทีเหมือนเวลาที่รู้สึกเหมือนถูกโต้เถียง  และรับฟังอีกฝ่ายผ่านตัวอักษรมากขึ้น ...แล้วทำให้เราไม่เปิดกว้างถูกหรือ?...เด็กชายได้รับฟังโดยการอ่าน และ ชม จากการศึกษารีวิวเกม

          มีความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ที่น้อยลง!...ในขณะที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและแม่นยำขึ้น ซ้ำยังมีความหลากหลายของข้อมูล ก่อให้เกิดคำถามซึ่งนำไปสู่ความคิดริเริ่มใหม่ๆ ทำให้ก่อเกิดวิทยานิพนธ์ที่ชื่อว่า THE HOSPITAL HAUNTED BE LOST VR GAME

         ปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง ... กับเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ หลากหลาย และผู้คนเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด มันจะทำให้เรามีปัญหาเรื่องคอนเนคชั่น หรือการรู้จักคนอื่น ถูกหรือ ? จากเกม BE LOST  ที่ทำเพื่อเป็นวิทยานิพนธ์สำหรับการเรียนจบ ได้ถูกส่งต่อออกไปให้ทดลองเล่น จนเขาได้พบกับ ‘คู่หู’ ที่จะช่วยเติมเต็มความฝันของเขา และเครือข่ายนี้เองที่ทำให้วิทยานิพนธ์ของเขา ถูกรู้จักเป็นวงกว้างไปทั่วโลก !

          ถ้าวันนั้นเขาไม่กล้านำความฝันออกจากล่องอีกครั้ง... วันนี้เราคงไม่ได้เห็นเกม ARAYA เกมสยองขวัญจากฝีมือคนไทยแท้ ที่กำลังออกหลอนเกมเมอร์ทั่วโลก และเพิ่งล่าสุดนี้ได้รับรางวัล Excellent Game of The Year จาก BIDC ฝีมือการสร้างจากบริษัท MAD Virtual Reality  Studio โดย CTO หนุ่ม
 
“คุณก๊อก จัตุพร รักไทยเจริญชีพ

จากเด็กหนุ่มที่ชอบเล่นเกมออนไลน์เป็นชีวิตจิตใจ
จากเด็กหนุ่มที่เคยคิดว่าความฝันในการสร้างเกมจะเป็นไปไม่ได้
สู่สองเจ้าผู้ก่อตั้งบริษัทสร้างเกม ที่มาแรงที่สุดของไทยในยุคนี้

 
          เด็กรุ่นใหม่แบบเราๆ ที่สังคมออนไลน์แห่งนี้ ทุกครั้งที่เรากำลังก้มหน้าอ่านตัวหนังสือผ่านสมาร์ทโฟน รู้หรือไม่ เราอาจกำลังจะพบกับโอกาสที่ดีได้ภายในชั่วอึดใจ ไม่ต้องฝ่ารถติด รบกวนคุณพ่อคุณแม่ หรือการเล่นเกมออนไลน์ได้ฝึกสมองและได้ฝึกภาษาไปในเวลาเดียวกัน คำศัพท์อาจได้เยอะเหมือนไปเรียนพิเศษกันก็ได้นะครับ…และวันหนึ่งเราอาจสร้างฝันได้สำเร็จแบบคุณก๊อก ผู้บริหารหนุ่มจาก  ARAYA ก็เป็นได้
 
มาถึงตอนนี้ หาคำตอบได้หรือยังว่าสังคมก้มหน้า
ถึงจะพูดน้อยแต่ใช้ใจที่ใหญ่มากในการสื่อสารของเด็กยุคนี้ ถูกหรือผิด?
#TalkLessFeelMore #Bigpack
 
credit :  https://bit.ly/bigpackdekd

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

lurpang 25 มี.ค. 60 เวลา 12:20 น. 1

ผมคิดว่ายังมีอีกหลายๆอย่าง และอีกหลายๆเรื่อง ที่มีสองด้านเหมือนเหรียญ ครับ ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าจะใช้มันแบบไหน #แรงบันดาลใจที่ดี

0