Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

{สรุป}การวิเคราะห์วรรณกรรม [ภาษาไทย]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ความหมาย
   การวิเคราะห์วรรณกรรม คือการพิจารณาตรวจตรา แยกแยะประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ
 
วิธีการวิเคราะห์
1.ความเป็นมาของหนังสือและผู้แต่ง
2.ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะของคำประพันธ์ที่ผู้ประพันธ์ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่น
   -กาพย์ มักใช้แต่งเป็นทำนองเล่าเรื่อง มีจำนวนคำตามชนิดของกาพย์ ตัวอย่าง

            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังบังคับกาพย์่   

   -กลอน มักใช้แต่งเพื่อแสดงอารมร์ ความคิดเห็น เล่าเรื่อง มีสัมผัสระหว่างวรรและบท ตัวอย่าง

         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังบังคับกลอน

   -โคลง นิยมใช้โคลงแต่งทั้งเรื่อง บังคับจำนวนคำในวรรคสัมผัส บังคับเอกโท ตัวอย่าง
        
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผังบังคับโคลง



3.เรื่องย่อ
4.เนื้อเรื่อง 
เช่น โครงเรื่อง ฉาก ลักษณะการเดินเรื่อง การใช้ถ้อยคำ ทัศนะหรื่องมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น
5.แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง
6.คุณค่าของวรรณกรรม เป็นการพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยใช้วิธีแยกแยะรายละเอียดต่างๆ โดยทั่วไปจะวิเคราะห์และวิจารณ์กว้างๆ 4 ประเด็น คือ
      ๑) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้ เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน แบ่งเป็น
          
1.อุปมา การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง
          
2.อุปลักษณ์ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
          
3.บุคคลวัต สมมุติสิ่งต่างๆที่ไม่ใช่มนุษย์ ให้มากิริยาความรู้สึกเหมือนมนุษย์
          
4.อติพจน์หรืออธิพจน์ พูดผิดไปจากจริง อาจเกินความเป็นจริง(เรียกว่าอติพจน์) หรือน้อยกว่าความเป็นจริง(เรียกว่าอวพจน์)
          
5.สัทพจน์ เป็นการเลียนเสียงธรรมชาติ
          
6.ปฏิพจน์ การเปรียบเทียบคำที่มีความหมายตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน
นอกจากนี้ยังมีลีลาการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
          
1.เสาวรจนี(ชมโฉม) คือการพูดชมความงาม
         
 2.นารีปราโมทย์(โอ้โลม) คือการใช้คำพูดแสดงความรัก การเกี้ยวพาราสี
          
3.พิโรธวาทัง(บริภาษ) คือการแสดงความโกรธ
         
 4.สัลปังคพิสัย(คร่ำครวญ) คือการแสดงความโศกเศร้าเสียใจ
      ๒) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอ
      ๓) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย
      ๔) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้


      ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน (' ')  
ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ (. . ) อย่าลืมมาคอมเม้นต์คุยกันข้างล่างนี้เลยยยยยย ติชมได้ ไม่ว่ากัน ขออนุญาติเจ้าของรูปภาพด้วยค่ะ ^ ^

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น