Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โง่มาตั้งนาน..!! “ค่าปรับจราจร” ที่ต้องรู้ แต่ ตร. ไม่บอกพวกคุณ…คนไทยต้องอ่านด่วน !!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

มีทนายความบางท่านแนะนำให้ผู้ที่ได้รับใบสั่ง ไม่ต้องไปชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจ โดยให้ไปชำระค่าปรับที่ศาลแทน เมื่อไปถึงศาล ถ้าผิดก็รับสารภาพ ศาลก็ปรับ ครึ่งหนึ่ง ส่งผลให้ ไม่เสียค่าปรับล่าช้า ไม่ถูกอายัดทะเบียน เพราะถือว่าชำระค่าปรับตามคำพิพากษาแล้ว และที่สำคัญเงินค่าปรับในศาล ตำรวจจะไม่ได้รางวัลนำจับ และตำรวจก็มีงานมากขึ้นจนล้นมือ นั้น

เรามาดูกันครับว่าการเสียค่าปรับใบสั่งที่โรงพัก กับ เสียค่าปรับที่ศาลมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไรครับ

1. การเสียค่าปรับที่ศาลเป็นการต้องโทษทางคดีอาญา มีประวัติคดีอาญาติดตัว แต่การปรับชั้นพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจไม่เป็นการต้องโทษคดีอาญา แต่เป็นการเปรียบเทียบทำให้คดีอาญาเลิกกัน จึงไม่มีประวัติว่าถูกต้องโทษทางอาญา

คำอธิบาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28 บัญญัติว่า “ผู้ใดต้องโทษปรับ(โทษทางอาญา) ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล” ซึ่งหมายถึง การปรับจะเป็นการต้องโทษทางอาญาเฉพาะการปรับตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้นไม่รวมถึงการเปรียบเทียบคดีอาญาของพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจ เพราะการชำระค่าปรับชั้นพนักงานสอบสวน เป็นการทำให้คดีอาญาเลิกกันในชั้นพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37

2. การปรับชั้นศาล จะต้องถูกพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อส่งข้อมูลไปเก็บที่ทะเบียนประวัติอาชญากร แต่การเปรียบเทียบปรับชั้นพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจไม่ต้องถูกพิมพ์ลายนิ้วมือ จึงไม่มีประวัติไปเก็บไว้ที่กองทะเบียนประวัติอาชญากรแต่อย่างใด (ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ.2554 ข้อ 1.1.1 )

จะเห็นได้ว่าการปรับใบสั่งที่สถานีตำรวจ กับ ปรับในชั้นศาลจะมีความแตกต่างกัน และส่งผลแตกต่างกัน อาทิเช่น เวลาเราไปสมัครงานที่ต่างๆ มักมีใบประวัติให้กรอกว่า เคยต้องโทษคดีอาญาหรือ ไม่ ถ้าเราไปปรับชั้นศาลก็ต้องกรอกว่าเคยต้องโทษคดีอาญา แต่ถ้าปรับชั้นพนักงานสอบสวนก็กรอกว่าไม่เคยต้องโทษคดีอาญา หรือ การไปสมัครงานบางที่มักส่งข้อมูลผู้สมัครงานไปตรวจสอบที่กองทะเบียนประวัติอาชญากร ก็จะพบข้อมูลว่าเราเคยทำผิดกฎจราจร เป็นต้น

และการชำระค่าปรับที่ศาลเราต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาโรงพักเพื่อมาพบพนักงานสอบสวน และต้องไปศาลอีก รวมค่าใช้จ่ายในการเดินทางแล้วการปรับที่ศาลอาจเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าปรับที่ต้องชำระที่สถานีตำรวจเสียอีก และยังส่งผลให้มีประวัติติดตัวด้วย เมื่อทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นของการเสียค่าปรับทั้ง 2 ทางแล้ว เมื่อเราทำผิดกฎหมายจราจรและได้รับใบสั่ง ก็ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจกันนะครับ ว่าจะไปปรับที่ศาลตามคำแนะนำของทนายความบางท่าน หรือชำระค่าปรับที่สถานีตำรวจดี


แต่ถ้าเราไม่ผิดเลยแต่ตำรวจออกใบสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เราก็ควรปฏิเสธเพื่อสู้คดีในชั้นศาลเพื่อพิสูจน์ความจริงกันดีกว่านะครับ

ปล.การออกใบสั่งจราจรเป็นการบังคับใช้กฎหมายซึ่งเป็นวิธีที่ลดอุบัติเหตุวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่ทุกประเทศทั่วโลกใช้ จากสถานการณ์ปัจจุบันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในประเทศไทย อยู่อันดับ 2 ของโลก เพราะคนไทยยังเข้าใจว่าการออกใบสั่งเป็นการกลั่นแกล้งประชาชนหรือหากินจากค่าปรับ แต่เหตุผลที่แท้จริงของการออกใบสั่งเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายจราจร ส่งผลให้ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางท้องถนน

ที่มา : http://www.naarn.com/15484/

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

TheGrinner 19 เม.ย. 60 เวลา 09:14 น. 1

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ ตอนสงกรานต์เรานั่งมอ'ไซค์พ่อไปซื้อไอติมเซเว่นที่อยู่อีกซอย ทางใกล้ๆ แค่ซอยเดียวเรากับพ่อเลยไม่ใส่หมวกกันน็อค (โอเคค่ะ ผิดก็ผิด) แต่ตรงถนนใหญ่ระหว่างซอยเรากับเซเว่นมีตำรวจตั้งด่าน (อยู่มานานเพิ่งเห็นมาตั้งตรงนี้ครั้งแรก) แล้วเรากับพ่อก็โดนโบกไปเรียกค่าปรับ..


ค่าปรับ 300 หรือ 500 นี่ล่ะค่ะถ้าจำไม่ผิด...


แถมบริการดีมากต่ะ มีโต๊ะเก็บตังค์ถึงที่ ไม่ต้องไปโรงพัก.. ชื่นชม


อยากถามจริงๆ เลยว่าปีนึงตั้งด่านเพื่อความปลอดภัยของประชาชนแค่ครั้งสองครั้งช่วงเทศกาลยังงี้ มันจะทำให้ประชาชนมีจิตสำนึกขึ้นมั้ย ถ้าจะพูดตรงๆ ว่าระบบค่อนข้างจะล้มเหลวก็คงแรงไป.. แต่พูดตรงนั้นไม่ได้ค่ะ เดี๋ยวโดนข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานเพิ่ม ล่อซะตังค์เราหมดกระเป๋า ไม่ต้องซื้อมันล่ะ กลับไปแทะน้ำแข็งที่บ้านดีกว่า =_=


ส่วนเรื่องการเสียค่าปรับในศาล เราว่าร้อยละ 99.99 คงยอมจ่ายให้ตำรวจล่ะค่ะ จากเหตุที่จขกท.ยกมา ดังนั้นตำรวจบางคนก็จะยังคงเอาตังค์ค่าปรับไปซื้อกาแฟต่อไป---


จบบริบูรณ์

0
ИЄMEŚIS 19 เม.ย. 60 เวลา 09:17 น. 2

แต่จากสถิติแล้ว อุบัติเหตุที่เกี่ยวกับท้องถนนส่วนใหญ่เกิดจากรถมอเตอร์ไซค์ไม่ใช่เหรอคะ

0