Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำว่า ฉิบหาย คือภาษาวิบัติ ของคำว่า ชิบหาย ที่มีที่มาจาก ชีพ-หายนะ มาดูที่มากัน และเข้าใจใหม่ครับ จากกระทู้เก่าของผม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คำว่า ฉิบหาย



*มันเป็นภาษาที่เกิดการวิบัติของคนไทยครับ*



ชิบหาย ต่างหากที่ถูกต้อง



แล้วจึงผกพันมาเป็น ฉิบ ในที่สุด



แต่ถ้าให้ถูก ผมยึดตามหลักไทยแท้ดั้งเดิม





เรียกกันอย่างสมเหตุสมผลว่า ชิบหาย





คือรูปที่เลิกใช้แล้ว ของ ฉิบหาย





แต่มีคนไม่เห็นด้วย บอกว่า ควรใช้ตามราชบัณฑิตยสภากำหนด ผมเลยขอชี้แจงถึงที่มาของคำๆ นี้นะครับ อิอิ

 มาดูกันเลย




ความจริง ภาษาวิบัติ หมายความว่า คำที่เปล่งออกมาแล้วไม่มีความหมายนะครับ คำว่า ฉิบ มันไม่มีความหมายใดๆ ในภาษาเลย



ผมเป็นนักสังคมและภาษาศาสตร์ ย่อมรู้ในส่วนนี้ที่มีความเป็นมา



จะอธิบายให้ฟังว่า



ภาษาวิบัติ กับการเปลี่ยนแปลงทางภาษา มันต่างกัน แต่ก็ใกล้เคียงกันนิดเดียว





เช่น คำว่า โดนทิ้ง เมื่อก่อน ก็ใช้เปรียบเปรยว่า อกหักรักคุด



แต่สมัยนี้ ก็ใช้คำว่า โดนเท



แบบนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางภาษาครับ เพราะคำว่าเท มันมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าทิ้ง และมันมีความมายทางภาษา ดังนั้น จึงไม่ใช่ภาษาวิบัติ แบบนี้ผมพอรับได้ เพราะไม่วิบัติ





แต่พอมาเป็น คำว่า ชิบหาย หรือ ชิพหาย มันเลยเกิดการวิบัติขึ้น ผมจะอธิบายที่มาของคำนี้นะครับ





ตามจริงแล้ว ชิบหาย มีที่มาจากคำว่า ชีพหาย ครับ



ชีพคือ ชีวิต ที่ลดเสียงลงเป็น ชิพ ออกเสียงว่า ชิบ



ส่วนหาย คือ หายนะ ตัด นะ ออก เหลือ หาย



รวมกันมีความหมายว่า หายนะแห่งชีวิต





ดังนั้น เมื่อคราวก่อน เราเขียน ฉิบหาย ว่า ชิพหาย หรือ ชิบหายครับ ตามความหมายและที่มาของคำนี้ครับ





แต่พอมีการวิบัติ เอาคำว่า ฉิบ ที่ไม่มีความหมาย มาใช้แทน



มันเลยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาที่เกิดขึ้นมาจากภาษาวิบัติขึ้น





ดังนั้น ไม่ผิดที่ผมจะบอกว่า ฉิบหาย คือภาษาวิบัติครับ





เพราะตามหลักภาษาศาสตร์แล้ว





คำว่า ภาษาวิบัติ มีความหมายว่า คำที่เปล่งออกมาแล้วไม่มีความหมาย





และคำว่า การเปลี่ยนแปลงทางภาษา หมายถึง คำที่ผกผันกันไปตามยุคสมัย โดยอาจจะแปลงมาจากคำที่มีความหมายอยู่แล้ว หรืออาจจะเกิดจากการวิบัติของภาษาก็ได้





ซึ่งในกรณีแรก หากการเปลี่ยนแปลงทางภาษานั้น นำคำที่มีความหมายอยุ่แล้วมาประยุกต์ใช้ใหม่ จะเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการประยุกต์ใช้ทางภาษา





ส่วนถ้าหากเกิดการวิบัติมาจนใช้คำวับัตินั้นแทนคำที่ถูกต้องตามเดิม



จะเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางภาษาอันเนื่องมาจากความวิบัติแห่งภาษา นั้นแล





คงเข้าใจนะครับผม



แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

MyName's.x.x.x. 11 มิ.ย. 60 เวลา 00:47 น. 1

กราบเรียนเจ้าของกระทู้ รบกวนยื่นหนังสือไปที่กระทรวงที่รับผิดชอบค่ะ รวมทั้งกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ออกแบบเรียนใหม่ ย้อนยุค ใช้คำเก่า นะคะ


มาตั้งในบอร์ดมันก็ไม่ได้ช่วยอะไรหรอก เชื่อว่ามีคนเข้ามาแล้วก็จะผ่านไปค่ะ


ขอความกรุณาอีกหนึ่งเรื่องค่ะ กราบขอร้องเลยก็แล้วกัน


กดปุ่ม Enter บ้างค่ะ เว้นบรรทัดบ้าง ผู้อ่านจะได้ไม่ปวดหัวค่ะ ขอบคุณค่ะ



1
ศิตย์ตถาคต 11 มิ.ย. 60 เวลา 01:49 น. 1-1

ผมไม่ได้มีเจตนาจะเปลี่ยนแปลงอะไรไปในทางเก่าหรือพัฒนาเก่ามาใหม่ ผมไม่จำเจครับ แค่อยากแสดงถึงที่มาของคำที่ถูกต้องจริงๆ เท่านั้น

ส่วนที่เรียนให้ผมไปติดต่อหน่วยงานี่เกี่ยวข้อง ต้องขอบคุณมากนะครับ

ที่แนะนำ

แต่ไม่จำเป็นต้องทำหรอกครับ เพราะเจตนาของผมคือ ตั้งกระทู้เพื่อให้ความเข้าใจของคำๆ นี้ และการใช้งาน ว่ามันมีที่มาที่ไปยังไง คำไทยมันควรอนุรักษ์ หากเปลี่ยนแปลงก็ย่อมได้ เพราะภาษาเรามันไม่ตาย

แต่หากนำกฎวิบัติมาใช้เปลี่ยนแปลง มันดูขัดแย้งกันในตัวนะครับ

ไม่ถือครับ เพราะบัดนี้ ฉิบ มีความหมายไปแล้วในพจนานุกรมแล้ว

ฉิบ เป็นคำวิเศษ ที่แปลว่า หายไปอย่างรวดเร็ว ที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้

มีความหมายในเชิงการใช้งาน

ดังนั้น มันเลยไม่มีกฎอะไรตายตัวของคำ


ทั้งนี้ ไม่ขอเรียกร้องอะไร แค่อยากแสดงทัศนติอีกมุมของนักเขียนนิยายคนนึงเท่านั้น

เพื่ออนุรักษ์ภาษาไว้ และพัฒนาไปในทางที่ถูกควร

และทั้งนี้ หากจะสร้างคำใดมาเพื่อใช้ทดแทนกัน ควรให้คำนั้น มีความหมายสอดคล้องกันก่อน เพราะหากนำคำผิดไปจากความหมาย มันจะกลายเป็นความวิบัติแห่งภาษาจริงๆ

0
TheGreatManatee 11 มิ.ย. 60 เวลา 10:51 น. 2

ดีใจที่ในบอร์ดนี้มีอะไรที่เป็นวิชาการและมีสาระบ้าง

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ

0
Shalnark T Diabolus 11 มิ.ย. 60 เวลา 11:55 น. 3

คุณจะใช้อะไรก็แล้วแต่คุณเลยครับ แต่ถ้ามันเป็นคำที่ถูกรับรองและบันทึกลงพจณานุกรมราชบัณฑิตยสถานไปแล้ว ต่อให้มันจะเป็นคำที่เพี้ยนมาหรืออย่างไรก็ตาม มันก็คือคำที่ "ถูกต้อง" สำหรับ "ยุคปัจจุบัน" นะครับ ถ้าคุณมีปัญหาคุณก็ยื่นเรื่องขอให้เขาเปลี่ยนแปลง แค่นั้น แล้วก็หยุดบ่น

2
ศิตย์ตถาคต 12 มิ.ย. 60 เวลา 09:54 น. 3-1

การแสดงความคิดเห็นควรให้เกียรติ จขกท. ผมแค่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องจริงๆ

หากคิดว่าผมบ่นคงช่วยอะไรไม่ได้ สุดแล้วแต่ปัญญาของคุณ

คุณค่าทางภาษาควรอนุรักษ์ไว้ หากมีการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมได้

แต่ต้องอธิบายที่มาของคำให้ชัดเจน ไม่สักแต่ว่าเปลี่ยนแล้ว

ลืมความถูกต้องอย่างแท้จริงไป

0
ศิตย์ตถาคต 12 มิ.ย. 60 เวลา 09:59 น. 4-1

ด่าผมหรือเปล่านี่

ความหมายของฉิบหายมีทั้งดีและลบ

หากแต่ชิพหาย มีแต่ลบอย่างเดียว

0
Akimoto 27 ก.ย. 61 เวลา 07:55 น. 5

ตรรกะของคุณถูกต้องครับ

แต่ว่าในการวิเคราะห์นั้น มีข้อมูลหลายอย่างที่ผมว่าไม่ถูกต้อง เป็นเหมือนคิดเอาเอง โดยขาดหลักฐานมากกว่าครับ

ลองศึกษาให้มากขึ้นกว่านี้นะครับ คุณต้องเป็นนักวิชาการที่เก่งมากได้แน่ ๆ

ผมขอสรุปข้อมูลที่ถูกต้องให้นะครับในส่วนที่สำคัญกับกระทู้นี้นะครับ

1 คุณบอกว่า ฉิบ ไม่มีความหมายในภาษาใดเลย แต่! จริง ๆ แล้ว ฉิบ มีความหมาย แปลว่าหาย หรือ เร็วเกินคาด รากศัพท์ " น่าจะ " มาจากภาษาจีน

2 คุณบอกว่า หาย เป็นคำลดรูปของคำว่า "หายนะ" แต่! จริง ๆ แล้ว หายนะ เป็นคำบาลี โดยทั่วไปแล้วไม่มีการลดรูปคำในบาลีสันสกฤตสักเท่าไหร่

3 คุณบอกว่า ฉิบหาย มาจาก ชีพหาย แปลว่า หายนะแห่งชีวิต

แต่! จริง ๆ แล้ว ฉิบหาย มันแแปลว่า หายไปแบบไวมากแบบตั้งตัวไม่ทันจนเละเทะป่นปี้ ประมาณนี้

โดยปริยายก็จะเป็นคำสาปแช่ง ว่า ขอให้ชีวิต-ฉิบหาย ก็คือ ขอให้ชีวิต-เละเทะป่นปี้ ชีวิต-หายไปโดยไว

แบบตายโหงนั่นเอง

ป.ล. "ผมเป็นนักสังคมและภาษาศาสตร์ ย่อมรู้ในส่วนนี้ที่มีความเป็นมา" ไม่มีนักสังคมและภาษาศาสตร์คนไทย พูดแบบนี้ในงานด้านวิชาการครับ

0