Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สิ่งมีชีวิตใต้ทะเล
 
1.ฟองน้ำทะเล
ฟองน้ำฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น  รูปร่างมีความต่างกันมาก  บางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการัง  บางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก    ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน   บางชนิดเล็กประมาณ  1  เซนติเมตร  จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร  อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน
ลำตัวของฟองน้ำนั้นมีรูฟุนขนาดเล็กจำนวนมาก  เป็นช่องให้น้ำไหลเข้าไปในโพรงลำตัวและบุไว้ด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่กินอาหารโดยใช้แส่จับ   ฟองน้ำมีลักษณะอ่อนนุ่ม  ยืดหยุ่นได้  ภายในลำตัวมีโครงค้ำจุนให้คงรูปร่างอยู่ได้ฟองน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเป็นผลแบบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยวิธีการแตกหน่อ  แล้วหน่อยังคงติดอยู่กับตัวเดิม  ทำให้มีสมาชิกหลายตัวอยู่ติดกันแผ่ขยายคลุมพื้นที่กว้างออกไปเรื่อยๆ  ฟองน้ำกินอาหารโดยอาศัยระบบท่อน้ำที่ไหลผ่านเข้าไปในโพรงลำตัวและมีเซลล์จับเหยื่อโดยใช้แส่  อาหารที่ปนมากับน้ำได้แก่  สาหร่าย  ไดอะตอม  โปรโตซัว  แบคทีเรีย
ฟองน้ำเป็นสัตว์กลุ่มเดียวที่ไม่มีเซลล์ประสาท  ไม่มีอวัยวะหรือโครงสร้างในการรับความรู้สึก  การมองเห็น  การรับรส กลิ่นเสียง    ทั้งยังไม่มีปฎิกริยาตอบสนองใดๆต่อสิ่งกระตุ้นเลย  เว้นแต่บริเวณช่องน้ำออกเท่านั้นที่นักชีววิทยาพบว่ามีการหดและขยายบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารและน้ำที่ไหลผ่านระบบท่อน้ำ  สัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่กับฟองน้ำ  เช่น กุ้ง  ปู  ใส้เดือนทะเล  ดาวเปราะ  ปลิงทะเล  และจะเก็บกินเศษอาหารที่ติดอยู่ตามผิวลำตัวของฟองน้ำ  เพราะฟองน้ำมีเศษอินทรีย์และจุลินทรีย์ติดอยู่ที่ผิวด้านนอก   นอกจากนี้ปูบางชนิดยังชอบเก็บฟองน้ำไปแบกไว้บนหลังเพื่อใช้เป็นเกาะคุ้มกันทางด้านหลัง  และเมื่อฟองน้ำเจริญต่อไป  ก็อาจคลุมตัวปูจนมองไม่เห็นตัวปูจากทางด้านบน
ส่วนสัตว์ที่นิยมกินฟองน้ำเป็นอาหารก็คือทากทะเล  ซึ่งฟองน้ำนี้ส่วนมากแล้วไม่มีสัตว์ชนิดใดที่นิยมกินมันเพราะว่าฟองน้ำมีหนามหรือเส้นใยเยอะอีกทั้งยังทีรสชาติที่ไม่น่ากิน  อายุของฟองน้ำแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป  บางชนิดมีอายุพียงฤดูกาลเดียว  บางชนิดอยู่ได้หลายปี
ฟองน้ำส่วนใหญ่ส่วนใหญ่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ  นอกจากนี้ฟองน้ำยังสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  โดยฟองน้ำแต่ละตัวสร้างเซลล์สืบพันธ์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  อยู่ภายในตัวเดียวกันแต่เซลล์สืบพันธุ์ทั้งสองเพศ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
2. ขนนกทะเล
ขนนกทะเลจัดอยู่ในกลุ่มซีเลนเตอเรทพวกไฮโตรซัวอาศัยอยู่รวมเป็นโคโลนีที่แตกกิ่งก้านคล้ายกิ่งไม้เล็กๆหรือแตกแขนงคล้ายขนนกตัวขนนกทะเลแต่ละตัวเป็นโพลิปขนาดเล็ก  โพลิปจะกินอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กหรืออินทรียวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในทะเล    ขนาดของขนนกมีความแตกต่างกัน  ส่วนใหญ่โคโลนีที่คล้ายกิ่งไม้มีความสูงประมาณ  30  เซนติเมตร  อาศัยเกาะอยู่ตามปะการังต่างๆ   ขนนกทะเลเป็นสัตว์มีพิษหากสัมผัสกับผิวหนังของเรา  จะทำให้เกิดรอยไหม้เป็นผื่นคัน  เนื่องจากเข็มพิษจากโพลิปของขนนกทะเลมีน้ำพิษอยู่ด้วย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
 3.ปะการังไฟ
ปะการังไฟเป็นไฮโครซัวชนิดหนึ่งพวกเดียวกับขนนกทะเลและสร้างฐานรองรับเป็นหินปูนแข็งและสร้างฐานรองรับโพลิปเป็นหินปูนแข็ง  ตัวโพลิปปะการังไฟมีรูปร่างสองแบบ    แบบหนึ่งหนึ่งทำหน้าที่จับเหยื่อกินอาหารและมีหนวดเรียกว่าแดดทิลโลซูออยด์  และอีกแบบที่ไม่มีหนวด  มีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสและสร้างเข็มพิษ   ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว  โพลิปแบบนี้เรียกว่าแดดซิลโซลูออยด์  เมื่อเราไปสัมผัสปะการังไฟ  น้ำพิษจากเข็มพิษจึงทำให้เกิดอาการคันได้ รูปร่างของปะการังนั้นส่วนใหญ่จะคล้ายกับปะการังก้อน  ปะการังผักกาด  หรือปะการังเขากวาง  ปะการังไฟทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนี  กินแพลงตอนและอินทรียวัตถุในน้ำเป็นอาหาร   สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
4.แมงกะพรุน
แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่  200 ชนิด  เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว  ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้  แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป  แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่  บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร  การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง  ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย  จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน  พัทยา  ระยอง  จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้  รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ  ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป  แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก    เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยการสัมผัส  เข็มพิษจะถูกปล่อยออกมาคล้ายฉมวกพุ่งแทงเข้าไปที่ผิวหนังของเหยื่อหรือศัตรู  น้ำพิษที่อยู่ภายในกระเปาะอาจทำให้เหยื่อขนาดเล็กสลบและตายได้    ตามปกติแมงกะพรุนเป็นสัตว์กินเนื้อ  อาหารที่กินได้แก่  ปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กที่อาศัยตามผิวทะเลโดยแมงกะพรุนใช้เข็มพิษฆ่าเหยื่อ  และรวบจับใส่ปากเข้าไปย่อยภายในท่อทางเดินอาหาร  ส่วนกากอาหารที่ย่อยไม่ได้จะถูกคายทางปาก   แมงกะพรุนส่วนใหญ่มีเพศแยกกันเป็นตัวผู้และตัวเมีย  แต่ต่างจากรูปร่างภายนอกไม่ปรากฏลักษณะที่แตกต่างกันชัดเจน  การผสมพันธุ์เกิดโดยตัวผู้สร้างเสปิร์มส่งออกไปผสมกับไข่ตัวเมีย  หรืออาจเป็นการผสมกันภายนอกลำตัว  ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญพัฒนาเป็นตัวอ่อน  ดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนชั่วคราว  แล้วจากนั้นจะว่ายไปเกาะพื้นเปลี่ยนรูปร่างเป็นโพลิปสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัวออกเป็นชั้นๆ  หลุดไปเป็นแมงกระพรุนตัวเล็กๆแล้วเติบโตเป็นตัวเต็มไว้ในเวลาต่อมา  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
5.ดอกไม้ทะเล
ดอกๆไม้ทะเลจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก  มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน  ส่วนทางด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ  ขนาดของดอกไม้ทะเลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร  อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่  ปลาหรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นที่ว่ายเข้ามาในระยะที่หนวดจับได้  ดอกไม้ทะเลจะปล่อยนีมาโตซีสออกมาทำให้เหยื่อสลบ  แล้วรวบเข้าปากที่อยู่ตรงกลาง  ดอกไม้ทะเลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน  บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น  ความเค็มและอุณหภูมิรวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย  เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่งโดยหดตัวเป็นก้อนกลม  เพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง ดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสาหร่ายอาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื้อทั้งลำตัวและหนวด  จึงทำให้มีสีเขียวการอยู่รวมกันนี้ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์  เพราะสาหร่ายมีคลอโรฟิลสามารถสังเคราะห์แสงได้   ซึ่งผลจากการสังเคราะห์แสงนั้นจะได้แป้งและออกซิเจน  ดอกไม้ทะเลสามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการหายใจ  ส่วนสาหร่ายนอกจากจะมีที่อยู่อาศัยแล้ว  ยังสามารถนำเอาของเสียจากการขับถ่ายของดอกไม้ทะเลเป็นแร่ธาตุไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต  ดอกไม้ทะเลขนาดใหญ่มักเป็นที่อยู่อาศัยของปลาการ์ตูนและปลาอินเดียแดงและปลาสลิดหินหลายชนิด  เพราะหนวดของดอกไม้ทะเลมีพิษนีมาโตซีสใช้ฆ่าเหยื่อหรือศัตรูได้  ยกเว้นปลาที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลเท่านั้นที่สร้างเมือกออกมาคลุมลำตัว  สามารถป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเลได้
ดอกไม้ทะเลบางชนิดอาศัยอยู่กับปูเฉฉวนหรือปูป้  เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งที่ปูยอกให้ดอกไม้ทะเลเกาะอยู่บนหลัง  ดอกไม้ทะเลจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยด้านหลัง  เพราะสัตว์ผู้ล่ามักไม่กล้าเข้าใกล้ดอกไม้ทะเล  ทำให้ปูปลอดภัยส่วนดอกไม้ทะเลได้รับประโยชน์ในการย้ายที่อยู่เพื่อหาอาหาร  และหลีกเลี่ยงจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม  ดอกไม้ทะเลมีการสืบพันธุ์ได้สองวิธีคือ  แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสองตามความยาวจากฐานหนวดลงไปยังฐานยึดเกาะด้านล่างและการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ  โดยดอกไม้ทะเลบางชนิดมีสองเพศอยู่ภายในตัวเดียวกัน  หรือแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

6.กัลปังหา
กัลปังหา  กัลปังหาเป็นสัตว์ทะเลพวกเดียวกับปะการัง  ทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีแตโพลิปมีหนวดแปดเส้นรอบปาก  หนวดแต่ละเส้นมีแขนงแตกออกคล้ายใบปรงหรือเฟริ์น  กัลปังหากินแปลงตอนเป็นอาหาร  โดยใช้หนวดรวบใส่ปากตรงกลาง  การย่อยเกิดในกระเพาะที่มีลักษณะเป็นถุง  หลังจากย่อยแล้งกากอาหารจะถูกคายออกทางปาก  กัลปังหานั้นจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการังหรือกองหินใต้น้ำเท่านั้นเพราะต้องการยึดเกาะกับพื้นแข็งแต่จะไม่สามารถงอกอยู่ที่พื้นทรายหรือโคนได้  และการที่กัลปังหามีการแตกกิ่งก้านออกไป  สัตว์หลายชนิดจึงมักมาอาศัยพึงพาอยู่กับกัลปังหา เช่นปลาสลิดหินขนาดเล็ก  ใช้เป็นที่หลบกำบังศัตรู  หอยสองกาบใช้กัลปังหาเป็นที่ยึดเกาะ  ดาวตาข่าย  ดาวขนนก  กุ้งขนาดเล็ก  ใช้กัลปังหาเป็นที่เกาะสำหรับคอยดักจับอาหารที่ลอยมากับน้ำ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
                               
7.ปากกาทะเล
มีลักษณะใกล้เคียงกับปะการังอ่อน  ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเช่นเดียวกับกัลปังหาและปะการังอ่อน  ด้านล่างเป็นด้ามใช้สำหรับฝังลงในพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน  หรือโคลนปนทราย  ส่วนบนที่อยู่ของโพลิบรูปร่างเป็นทรงกระบอก  สามารถยืดหดตัวจากเนื้อเยื่อของโคโลนีเพื่อจับเหยื่อ  แต่ละโคโลนีมีโพลิปหรือตัวปากกาทะเลนับร้อยตัว ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลโดยเฉพาะบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่านเพราะโพลิปจะได้รับแพลงตอนที่พัดพากับกระแสน้ำและได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ  ปากกาทะเลมีคุณสมบัติพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ  ความสามารถในการเรืองแสงได้ในที่มืด  การเรืองแสงอาจเกิดเป็นบางส่วนหรือเกิดพร้อมกันทั้งโคโลนีก็ได้  ด้วยเหตุนี้ท้องทะเลบางพื้นที่ที่มีปากกาทะเลอาศัยอยู่  จึงอาจมีแสงเรืองคล้ายไฟใต้น้ำส่องสว่างด้วย ปากกาทะเลนั้นไม่สามารถนำมาบริโภคได้จึงถูกนำไปทำอาหารสัตว์ปะปนกับปลาเป็ด  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
8.แม่เพรียง
เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวเรียวยาว  ร่างกายค่อนข้างแบนออกเป็นปล้องจำนวนมาก  ด้านหน้ามีลักษณะคล้ายหัวโดยมีปากและเขี้ยว 1 คู่ที่ปาก  มีอวัยวะรับสัมผัสคล้ายหนวด  ถัดจากหัวและลำตัวมีลักษณะเป็นปล้องขนาดเท่าๆกัน  อาหารที่แม่เพียงชอบกินได้แก่สาหร่ายทะเล  เศษอินทรีย์ตามพื้นทะเล  แม่เพรียงเป็นสัตว์แยกเพศแต่ละตัวมีเพียงเพศเดียวโดยอาจมีการเปลี่ยนรูปร่างและสีของลำตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์  บางชนิดมีการปล่อยร่างกายตอนปลายที่มีเซล,สืบพันธุ์ให้หลุดขาดออกไปทำให้เซลล์สืบพันธ์ผสมกันในน้ำทะเล  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
9.หนอนดอกไม้
หนอนดอกไม้เป็นหนอนปล้องที่มีลำตัวเป็นท่อนยาวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจน  มีการสร้างหลอดด้วยตะกอนดินหรือเศษวัสดุเล็กๆตามพื้นทะเล  บางชนิดสกัดสารออกมาละลายหินปะการังแล้วฝังตัวอยู่ภายใน  ช่อพู่ขนของหนอนดอกไม้หลายชนิดมีสีสันสวยงาม  หลากสี  นอกจากพู่ขนแล้วหนอนดอกไม้บางชนิดมีงวงยื่นออกมาจากหลอดทำหน้าที่ปิดปากหลอดขณะที่หดตัวเอาพู่ขนหลบเข้าไปข้างใน  การทำงานของงวงปิดหลอดนี้มีรูปแบบคล้ายกับหอยกาบเดี่ยวที่มีแผ่นฝาปิดปาก  เมื่อหดตัวเข้าไปอยู่ภายในเปลือก  หนอนดอกไม้เป็นสัตว์แยกเพศ  การปฏิสนธิระหว่างเสปิร์มกับไข่เกิดภายนอกลำตัวโดยการผสมกันในน้ำทะเล  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
10.ลิ่นทะเล
ลิ่นทะเลเรียกอีกอย่างว่า “หอยแปดเกล็ด”  จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่มหรือมอลลัสเช่นเดียวกับหอยและหมึกทั่วไป  รูปร่างคล้ายกับทากดิน  ไม่มีส่วนหัวและห่างที่ชัดเจนลำตัวเป็นรูปไข่  ด้านบนโค้งนู้น  และมีเปลือกคล้ายเกล็ดจำนวน 8 แผ่นเรียงซ้อนกันจากด้านหน้าไปยังด้านท้ายคล้ายกระเบื้องมุงหลังคายกเว้นบางชนิดเกล็ดอาจเรียงต่อกันเป็นแถวๆรอบๆเกล็ดเป็นแมนเทิลที่ปกคลุมด้วยหนามสั้นๆ  ด้านล่างตรงกลางมีกล้ามเนื้อเท้ารูปไข่เป็นพื้นแบนเรียบช่วยในการเคลื่อนที่  ปากของลิ่นทะเลอยู่ด้านหน้า  ภายในปากมีแผ่นลิ้นใช้ในการขูดสาหร่าย  ไลเคนซ์กินอาหาร  ที่อยู่ของลิ่นทะเลสามารถพบได้ตามโขดหินริมชายฝั่งทะเลและรอบเกาะ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
 
 
11.ทากทะเล
ทากทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดียวมีรูปร่างลีสันที่แปลกตา   จึงได้รับสมญานามว่า  ราชินีแห่งท้องทะเล  ทากทะลอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีฟองน้ำหรือสาหร่ายทะเลชุกชุม  เพราะฟองน้ำเป็นอาหารที่ทากชอบกิน ทากชอบกินอาหารที่มีรสและกลิ่นที่ไม่ค่อยเหมือนสัตว์อื่น  ทากทะเลสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบางชนิดมีทั้งเพศเดียวกันในตัวเดียวกัน  บางชนิดแยกเพศ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
12.หอยฟองน้ำ
หอยฟองน้ำหรือที่เรียกทั่วไปว่าหอยม่วง  จัดอยู่ในกลุ่มหอยกาบเดี่ยว     รูปร่างคล้ายหอยโข่ง  มีเปลืองม่วงขนาดประมาณ  2-3 เซนติเมตร  เป็นหอยที่สร้างฟองอากาศเป็นทุ่นลอยตัวไปตามผิวทะเลและจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่ง  เมื่อถูกคลื่นลมพัดเข้าสู่ชายฝั่ง  จึงถูกซัดขึ้นมาเกยแห้งอยู่บริเวณริมหาด  พบอยู่ทั่วไปตามทะเลเขตร้อน  หอยฟองน้ำเป็นสั่ตว์กินเนื้อ  ขณะที่ล่องลอยไปตามผิวทะเลจะจับแพลงตอนสัตว์อื่นๆกินเป็นอาหาร  เช่นแมงกระพรุนเหรียญ  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
 13.หอยเต้าปูน
หอยเต้าปูนหรือหอยมรณะ  มีลักษณะเป็นรูปกรวย  คล้ายถ้วยไอติมโคลนเปลือกมักหนาและหนัก  หอยชนิดนี้ชอบล่าสัตว์กินเป็นอาหาร  โดยอาศัยพิษจากภายในลำตัวฆ่าเหย่อให้ตายก่อนจับกินเป็นอาหาร  พิษของหอยเต้าปูนเป็นสารประกอบจำพวกโปรตีนในถุงน้ำพิษ  บีบตัวส่งไปทางท่อน้ำพิษผ่านไปยังคอหอยซึ่งมีแผงฟัน  ทำให้น้ำพิษเคลือบเข็มพิษซึ่งจะพุ่งออกไปคล้ายฉมวก  หอยเต้าปูนมีมากกว่า 400 ชนิดทั่วโลก  พบอาศัยอยู่ในมหาสมุทรต่างๆ  โดยเฉพาะเขตอินโดแปซิฟิกรวมทั้งในน่านน้ำไทยด้วย  หอยเต้าปูนที่มีพิษได้แก่  หอยเต้าปูนลายผ้า  หอยเต้าปูนลายแผนที่  หอยเต้าปูนลายหินอ่อนเป็นต้น  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
14.หอยแต่งตัว
หอยแต่งตัวเป็นหอยกาบเดียวรูปฝาชี  มียอดเป็นมุมป้าน  รูปร่างคล้ายหมวกเวียดนาม  จัดอยู่ในวงเดียวกับหอยหมวก    เปลือกมักมีสีครีมและสีเหลืองอ่อน  และมีเปลือกหอยชนิดอื่นติดไว้ตามเปลือกของตัวเอง  พฤติกรรมนี้เป็นการกระทำเพื่อปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่หอยชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีเศษวัสดุจำวกเปลือกหอยหรือซากปะการังกองทับถมกันอยู่  หอยแต่งตัวพบใกล้ชายฝั่งบริเวณแนวปะการังมีอยู่ไม่มากนัก  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
 
 
15.หอยมือเสือ
หอยมือเสือเป็นหอยสองกาบเปลือกด้านนอกมีลักษณะเป็นลอนคล้ายกระเบื้องลูกฟูกและมีเกร็ดเป็นแผ่นครึงวงกลมเรียงซ้อนกัน  เปลือกทั้งสองยึดติดกันไว้ด้วยบานพับและเอ็น  โดยมีช่องให้มัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ยื่นออกมายึดเกาะกับหินปะการังเอาไว้  หอยมือเสือที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะอ้ากากออก  ทำให้เห็นแมนเทิลเป็นสีเขียวปนน้ำเงินปนเขียวหรือเหลืองเป็นลวดลายต่างๆในแมนเทิลเป็นที่อยู่ของสาหร่าย   หอยมือเสือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังของไทย  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
16.ดาวทะเล
ดาวทะเลเป็นสัตว์มีหนาม  ร่างกายจะประกอบไปด้วยแผ่นกลางลำตัวและแขนที่ยืนออกไปจากส่วนกลางเป็นรัศมี  จำนวนแขนของดาวทะเลส่วนใหญ่มี 5 แฉก   น้อยมากที่จะพบ 8 แฉก    ตามผิวของลำตัวจะมีหนามขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน  มีปากอยู่ตรงกลางด้านล่าง  ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยอาศัยท่อน้ำทำให้เกิดแรงดันเข้าไปในเท้าท่อ  ระบบท่อน้ำประกอบไปด้วยท่อตะแกรงอยู่บนแผ่นกลางตัวระหว่างแขนคู่หนึ่ง  น้ำแนวรัศมีจะไหลลงสู่ท่อน้ำวงแหวนและแยกออกไปในแนวรัศมีสู่เท้าท่อที่ยืดหดได้     ตรงปลายของเท้าท่อมีปุ่มดูดช่วยในการยึดเกาะได้ดี  การเคลื่อนที่ของดาวทะเลเป็นไปอย่างเชื่องช้า  อาหารที่ดาวทะเลกินคือ  เนื้อสัตว์ตามพื้นทะเล  ดาวทะเลหายใจโดยใช้เหงือกที่เป็นลักษณะกลุ่มขนสั้นๆอยู่รวมกันเป็นกระจุก  ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนกับน้ำทะเล  ดาวทะเลสามารถอดอาหารนานๆได้  หากถูกทำร้ายจนร่างกายแยกออกเป็นสองส่วน  ส่วนที่ขาดไปสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
18.เม่นทะเล
          เม่นทะเลเป็นทรงกลม รูปไข่  ภายนอกมีหนามอยู่รอบๆอาศัยอยู่ที่พื้นทะเลใต้น้ำตื้นบ้างลึกบ้างตามก้อนหินหรือแนวปะการังชอบพรางตัวอยู่บริเวณปะการังที่ตายแล้วมีหนามจำนวนมากขนาดยาวสั้นไม่เท่ากันเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัว  เม่นทะเลเคลื่อนที่ได้ช้าๆชอบไต่ไปตามก้อนหิน  อาหารของเม่นทะเลคือ  สาหร่ายที่เกาะติดอยู่ตามก้อนหินหรือแนวปะการัง  หนามของเม่นทะเล  มีฐานเป็นรูปถ้วยยืดติดอยู่กับปมบนแผ่นเปลือกทำให้หนามเคลื่อนไหวไปมาได้ทุกทิศทางหนามแหลมด้านบนของตัวเม่นทะเลมีขนาดยาวกว่าหนามด้านล่างหลายเท่า  ส่วนหนามที่อยู่ด้านล่างของลำตัวจะสั้นกว่า  ช่วยในการเคลื่อนที่  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
19.ปลิงทะเล
ปลิงทะเลเรียกอีกอย่างว่าแตงกวาทะเล เพราะลำตัวเป็นท่อนสั้นบ้างยาวบ้าง  อ่อนนุ่มยืดหดได้  บางชนิดมีหนามแข็งบริเวณผิวหนัง  ด้านปากถือว่าเป็นส่วนหัว  โดยมีหนวดอยู่รอบปากใช้ในการจับเหยื่อและอาหาร  ส่วนอีกด้านจะเป็นด้านที่เอาไว้ขับถ่าย  ปลิงทะเลบางชนิดกินอินทรียวัตถุบางชนิดกินแพลงค์ตอนและสารแขวงลอยในน้ำ ปลิงทะเลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน  หรือดินทราย  แต่ละชนิดจะเลือกถิ่นที่อาศัยต่างกันไป ปลิงทะเลเมื่อถูกรบกวนจะปล่อยเส้นใยสีขาวที่เรียกว่า  “ท่อของคูเวียร์” ออกมาป้องกัน  เพื่อทำให้ศัตรูตกใจหรือพันลำตัวของศัตรู  เส้นใยนี้จะเหนียวเมื่อผสมกับน้ำทะเล  (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
 
20.ดาวขนนก
ดาวขนขนมีรูปร่างที่คล้ายกับต้นปรง  ร่างกายประกอบด้วยแผ่นกลางตัวขนาดเล็กและมีแขนยื่นยาวออกไปโดยรอบ  แต่ละแขนจะมีแขนงแยกออกไปคล้ายใบ  ด้านล่างจะมีแขนงยื่นออกไปทำหน้าที่ยึดเกาะกับพื้นและจะเคลื่อนย้ายที่อยู่ในอย่างเชื่องช้า  แต่ปกติมักจะอยู่กับที่  ดาวขนนกกินแพลงตอนและสารอินทรีย์ในน้ำทะเลเป็นอาหาร  โดยการใช้แขนงบนแขนรวบรวมอาหารให้เคลื่อนที่จากร่องแขนลงสู่ปากที่อยู่ตรงกลางของแผ่นกลางตัว  ส่วนใหญ่ดาวขนนกนั้นจะอาศัยอยู่ตามแถวแนวปะการัง  โดยจะเกาะอยู่บนปะการัง บางครั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันหลายตัว (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)

แหล่งอ้างอิง  https://amazingthesea.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น