Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ธรณีวิทยา สาขาวิชานอกกระแส

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีค่ะ ตอนนี้เราเรียนม.ปลายอยู่ เราสนใจในสาขาวิชานี้ แต่พอหาข้อมูลแล้ว ส่วนมากจะมีเป็นข้อมูลขณะเตรียมตัวสอบเข้าเท่านั้น เราเลยอยากทราบว่าคณะนี้เรียนอะไรบ้าง ปฏิบัติหนักขนาดไหน แล้วต้องใช้สาขาวิชาไหนเรียนประกอบกันเป็นหลัก มันเป็นอาชีพนอกกระแสน่ะค่ะ ข้อมูลเลยค่อนข้างหายากสำหรับเรา เลยอยากวอนรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์แนะนำทีค่ะ ว่าจริงๆแล้วชีวิตก่อนเรียน ขณะเรียน หรือทำงานแล้วเป็นยังไงcrying

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Minerva P. 25 ส.ค. 61 เวลา 22:56 น. 1

สำหรับจขกท.เราไม่รู้นะว่านักธรณีวิทยาในความคิดของจขกท.เป็นยังไงแต่สายงานก็จะประมาณนี้

หน้าที่ของนักธรณีวิทยา (จบมาแล้วทำงานอะไร?)

นักธรณีวิทยามีหน้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะงานของแต่ละคน ผู้ที่จบจากสาขาธรณีวิทยา สามารถเลือกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

Coal geologists สำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรถ่านหิน ประเมินศักยภาพการทำเหมืองถ่านหิน และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติจากถ่านหิน

Computing geologists พัฒนาโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เช่น ระบบฐานข้อมูล ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นพี่และการวางแผนจัดการ

Economic geologists ศึกษาวิเคราะห์และประเมินศักยภาพแหล่งแร่เศรษฐกิจ

Engineering geologists วิเคราะห์ข้อมูลทางธรณีวิทยา เพื่อให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐ และเอกชน ในเรื่องของความเหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ เขื่อน ทางหลวง สนามบิน อุโมงค์ และในการสำรวจและผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ แหล่งแร่ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับวิศวกร

Environmental geologists ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้พื้นพูพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีค่าเหมือนเดิม

Geochemists ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแร่และหิน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายตัว และคุณภาพของแร่ในเปลือกโลก

Geochronologists วิเคราะห์อายุของหิน โดยการศึกษาจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี

Geomorphologists ศึกษาภูมิประเทศ และกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวโลก

Hydrogeologists ศึกษาปริมาณและคุณภาพของน้ำใต้ดิน ตรวจสอบการปนเปื้อน และพัฒนาน้ำใต้ดินมาใช้

Marine geologists ศึกษาสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลและมหาสมุทร ให้เข้าใจถึงวิวัฒนาการของแอ่งในมหาสมุทร เป็นประโยชน์ต่อการสำรวจแหล่งแร่และปิโตรเลียม

Mineralogists วิเคราะห์และจำแนกแร่และหิน จากองค์ประกอบทางเคมี และโครงสร้างของแร่ เพื่อนำไปพัฒนาในอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม

Mining geologists ค้นหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ วิเคราะห์และศึกษาแง่ของศักยภาพและความปลอดภัยในการทำเหมือง

Paleontologists ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การกำหนดอายุทางธรณีวิทยา การสำรวจปิโตรเลียม วิวัฒนาการของสภาพแวดล้อมในอดีต

Petroleum geologists ศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี เพื่อหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และให้ข้อมูลกับวิศวกรปิโตรเลียมในกระบวนการสำรวจและผลิต

Planetary geologists ศึกษาพฤติกรรมและวิวัฒนาการของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในจักรวาล

Sedimentologists ศึกษากระบวนการเกิดหินตะกอน คุณสมบัติทางการภาพและเคมีของหิน เพื่อนำไปประยุกต์กับการหาแหล่งถ่านหิน ปิโตรเลียม และทรัพยากรแร่

Stratigraphers ศึกษาการระบบของชั้นหินตะกอน วิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ เปรียบเทียบกับข้อมูลจากพื้นที่อื่น ในระหว่างการหาทรัพยากรธรรมชาติ

Structural geologists ศึกษารูปร่างและการเปลี่ยนรูปของหิน ในพื้นที่ศักยภาพต่อการสะสมตัวของแหล่งแร่ และปิโตรเลียม

Surficial geologists ศึกษาตะกอน และชั้นหินบริเวณผิวโลก เพื่อเป็นข้อมูลต่อการก่อสร้าง การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งปนเปื้อน การจัดการพื้นที่และการวางระบบผังเมือง

Volcanologists ศึกษาภูเขาไฟที่ยังปะทุและดับแล้ว ศึกษากระบวนการเกิดทั้งทางเคมี และกายภาพ เพื่อประเมินการเสี่ยงภัยในอนาคต

Wellsite geologists ทำงานใกล้ชิดกับทีมงานขุดเจาะในพื้นที่สำรวจ เพื่อให้มั่นใจว่าหลุมเจาะนั้นอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และทำการเก็บตัวอย่างจากหลุมเจาะมาวิเคราะห์


แต่ถ้าจขกท.ชอบทางด้านขุดหรือสำรวจดินจริงๆนอกจากสาขาธรณีวิทยาแล้ว สาขาปฐพีวิทยาก็คล้ายกันเพียงแต่จะเน้นไปทางการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร ร่วมถึงคิดค้นสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับดินและการเกษตรเช่นปุ๋ย อะไรจำพวกนี้ ถ้าสาขาปฐพีวิทยาเราขอแนะนำมอ.ตัวเองซึ่งก็คือ ม.เกษตร กำแพงแสน คณะเกษตร กำแพงแสน สาขาปฐพีวิทยา

1
Mameemme 2 ก.ย. 61 เวลา 18:00 น. 1-1

ขอบคุณสำหรับข้อมูลและคำแนะนำค่ะ ส่วนตัวจขกทชอบอะไรที่เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ ทะเล และโลกและหินมากค่ะ ตอนนี้เลยเล็งลงที่มช. กับ มข. ยังไงก็ขอบคุณอีกครั้งสำหรับข้อมูลค่ะ

0