Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เมื่อพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายมหาสมุทร หากยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บทความ โดย Sarah-Jeanne Royer

Sarah-Jeanne Royer นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาย พร้อมทีมวิจัย พบว่าพลาสติกที่กำลังย่อยสลายสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก และก๊าซที่เพิ่งค้นพบนี้ไม่ได้รวมอยู่รายชื่อของก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก การปล่อยก๊าซเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพลาสติกมีการผลิตออกมาและเกิดการสะสมในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มย่อยสลายเมื่อเวลาผ่านไป

ก๊าซเรือนกระจกมีผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น ระบบนิเวศบนบกและในมหาสมุทร พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง และการกัดเซาะชายฝั่ง พลาสติกส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นจากก๊าซธรรมชาติดังนั้นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากขยะพลาสติกอาจไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยฮาวายเป็นที่แรกที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างก๊าซเรือนกระจกและพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความกังวลหลักต่อพลาสติกประเภทหนึ่งที่เรียกว่าโพลีเอธิลีน ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำลายสภาพภูมิอากาศสูงที่สุด พลาสติกชนิดนี้สามารถพบได้ทั่วไปในพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งมากที่สุด และเป็นพลาสติกชนิดเดียวกันที่ไหลลงสู่มหาสมุทรและแม่น้ำของเรา ข้อมูลของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อพลาสติกชนิดนี้แตกตัวในมหาสมุทร ระดับของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นเพิ่มขึ้นมากถึง 488 เท่ามากกว่าเม็ดพลาสติกเม็ดก่อนที่จะถูกผลิตเป็นถุงพลาสติกหรือขวดน้ำพลาสติก

แต่ยังไม่จบเพียงเท่านั้น พลาสติกที่อยู่กล้างแจ้งโดนแสงแดดและลม เช่น บนชายหาด แนวชายฝั่งทะเล ทุ่งหญ้า หรือสนามเด็กเล่น เป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกตัวสำคัญ ดังนั้นในขณะที่เราต้องปกป้องพลาสติกไม่ให้ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้ว เรายังต้องจัดการกับขยะพลาสติกบนพื้นดินอีกด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้มีความหมายอย่างมากต่อการจัดการของเสียรวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันมลพิษจากขยะพลาสติกอยู่ในระดับวิกฤตและเมื่อบวกกับข้อมูลใหม่ชิ้นนี้แล้วทำให้ปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ลองคิดเล่น ๆ ว่าจำนวนขยะพลาสติกที่ถูกพัดขึ้นมาบนชายฝั่ง พร้อมกับปริมาณพลาสติกที่อยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ถึงเวลาเราควรเพื่อปกป้องโลกของเราจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเราจำเป็นต้องหยุดมลพิษจากขยะพลาสติกที่ต้นตอ

หลอดพลาสติกที่เก็บได้จากการทำความสะอาดชายหาดที่เกาะฟรีดอม ประเทศฟิลิปปินส์  Daniel Müller / Greenpeace

อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับพลาสติกและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฉบับคลิกได้ที่นี่

บทความแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่านบทความต้นฉบับได้ที่นี่

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61823


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่

แสดงความคิดเห็น

>