Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

บันทึกลับของแอนน์ในสมัยฮิตเลอร์ ที่กลายเป็นสมบัติของโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ถ้าพูดถึงบันทึกลับในสมัยฮิตเลอร์
เชื่อว่าหลายคนต้องรู้จักเธอคนนี้


" แอนน์ แฟรงค์ "
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ anne frank
12 มิถุนายน ที่ผ่านมา หากแอนน์ยังมีชีวิตอยู่
เธอจะมีอายุครบ 90 ปี
แต่น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่ 2 พรากชีวิตเธอไป
ซึ่งในขณะนั้นเธออายุเพียง 15 ปี



 
แอนน์ แฟรงค์ เป็นชาวยิว เกิดวันที่ 12 มิถุนายน ปี 1929 ที่เมืองแฟรก์เฟิร์ต
ประเทศเยอรมนี สี่ปีต่อมาหลังจากแอนน์เกิด พรรคนาซีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น
พ่อของเธอ 'ออทโท แฟรงค์ ' (Otto Frank) สามารถคาดการณ์ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
ว่าวันข้างหน้าชาวยิวจะต้องเดือดร้อนเพราะความบ้าอำนาจของฮิตเลอร์
ครอบครัวแฟรงค์จึงตัดสินใจอพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์
และเริ่มมีกิจการเป็นของตัวเอง มีฐานะที่ดีขึ้น อยู่ในชนชั้นสูง



 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ otto frank
Otto Frank

 

แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น กองทัพเยอรมันเข้ายึดเนเธอร์แลนด์ในปี 1940 ฮิตเลอร์เริ่มออกกฎหมายแบ่งแยกเชื้อชาติ ชาวยิวถูกตั้งเคอร์ฟิวจำกัดเวลาในการออกนอกบ้าน และต้องติดสัญลักษณ์ดาว 6 แฉกไว้ที่เสื้อ แอนน์ต้องย้ายไปเรียนโรงเรียนสำหรับชาวยิวเท่านั้น และห้ามชาวยิวเป็นเจ้าของกิจการ พ่อของเธอจึงต้องเซ็นใบมอบอำนาจให้เพื่อนชาวดัตซ์ แต่เขาก็แอบบริหารงานลับๆกับเพื่อนได้




วันเกิดของแอนน์ในปี 1942 เธออายุครบ 13 ปี ได้รับของขวัญจากพ่อเป็นสมุดบันทึก
ความใฝ่ฝันของเธอคือการเป็นนักเขียน เธอจึงเริ่มบันทึกมันตั้งแต่วันนั้น ตั้งชื่อสมุดบันทึกนี้ว่า 'คิตตี้ ' ซึ่งเปรียบเสมือนเพื่อนของเธอ


 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 
"ฉันหวังว่าจะไว้วางใจเธอได้ทุกเรื่อง อย่างที่ฉันไม่อาจไว้วางใจผู้ใดมาก่อนเลย
และหวังว่าเธอจะเป็นพลังยิ่งใหญ่ในการปลอบประโลมฉัน"


 
ข้อความแรกที่เธอเขียนลงใสสมุดบันทึก
กล่าวถึง 'คิตตี้' เพื่อนในจินตนาการของเธอ


เธอเขียนเรื่องราวทั่วไปของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความสุขจากการไปโรงเรียน ได้เจอเพื่อนๆที่เล่นสนุกด้วยกัน จนกระทั่งวันที่ 8 กรกฎาคม ปี 1942 พี่สาวของเธอ 'มาร์กอทแฟรงค์ ' ถูกเรียกตัวไปที่ค่ายกักกัน ทุกคนรู้ดีว่ามันคืออะไร จึงตัดสินใจย้ายไปอยู่ 'ที่ซ่อนลับ' ซึ่งเป็นห้องอพาร์ทเมนต์ด้านหลังโรงงานของออทโท มีตู้หนังสือปิดบังประตูทางเข้าอย่างแนบเนียน จากกำหนดการเดิมที่จะย้ายไปอยู่ที่ซ่อนลับคือ 16 กรกฎาคม ก็ต้องเปลี่ยนเป็นวันรุ่งขึ้นแทน เขาได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนชวาดัตซ์ที่นำเสบียงอาหารมาให้ และได้รับข่าวสารจากโลกภายนอกบ้าง


 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
มาร์กอท แฟรงค์








ที่ซ่อนลับ : ด้านหน้าเป็นโรงงาน ด้านหลังคืออพาร์ทเมนต์ที่ซ่อน
เห็นแบบนี้ทุกคนอาจจะคิดว่าสบาย แท้จริงแล้ว เธอต้องพบกับความอัดอั้น ทั้งการห้ามส่งเสียงดัง ห้ามกดชักโครกในเวลาเท่านี้ถึงเท่านี้เพราะคนที่ทำงานในออฟฟิศอาจได้ยินเสียง หรือห้ามเปิดม่านหน้าต่างโดยเด็ดขาด เพราะเพื่อนบ้างข้างๆอาจรู้ว่ามีคนซ่อนตัวอยู่



 
“การไม่สามารถออกไปข้างนอกได้มันทำให้ฉันอารมณ์เสียจนไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร
และฉันกลัวมากว่าที่ซ่อนของเราจะถูกพบ และเราทุกคนจะถูกยิงตายกันหมด” 

 
เธอเขียนลงในบันทึกในเดือนกันยายนปี 1942
 


เธออยู่ในที่ซ่อนลับ ตลอดระยะเวลา 2 ปีกับชาวยิวอีก 7 คนรวมเธอเป็น 8 คน
เธอได้เรียนรู้อะไรมากมาย ดูจากการเขียนในปีหลังๆที่เธอมักจะพูดถึงตัวเองว่า
เธอนั้นเขียนอะไรไปตามอารมณ์อ่อนไหว (เช่นเขียนถึงแม่ในตอนที่ทะเลาะกัน)
เธอมีจูบแรกกับปีเตอร์ วานดาน ชาวยิวที่อาศัยอยู่ในที่ซ่อนลับด้วยกัน
เธอเฝ้าคอยถึงชีวิตหลังสงคราม (มักจะพูดถึงชีวิตหลังสงครามบ่อยๆ)
ในขณะเดียวกันก็พูดถึงจุดจบว่าสักวันหนึ่งอาจมีคนมาพบเราก่อนก็ได้
ใช้ชีวิตอย่างหดหู่หวาดกลัวเพราะมักจะได้ยินเสียงระเบิดบ่อยครั้ง


 
"คงจะตลกพิลึกถ้า 10 ปีหลังสงครามแล้วชาวยิวถูกให้เล่าว่าอยู่กินกันอย่างไร 
ถึงแม้ฉันจะเล่าให้ฟังมากมาย เธอก็ยังรู้ชีวิตเราเพียงเล็กน้อยเท่านั้น 
เพราะถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนที่ประสบจริงๆ"

 
"พวกผู้หญิงอกสั่นขวัญแขวนกันมาก ระหว่างมีภัยทางอากาศ เป็นต้นว่าเมื่อวันอาทิตย์ก่อน เครื่องบินอังกฤษ 350 ลำ ได้ทิ้งระเบิดหนัก 550 ตัน ที่อิจมุยเด้น
บ้านทุกหลังสั่นไหวเหมือนกอหญ้าต้องลม"

 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



บันทึกสุดท้ายของแอนน์คือวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1944 ทุกอย่างยังคงดำเนินต่อไปเหมือนอย่างที่เคยเป็น จนเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 1944 (สามวันต่อมา) มีอะไรบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป รถยนต์คันหนึ่งมาหยุดอยู่ ณ บ้านเลขที่ 263 ถนนพริ้นเซิ่ลกรัคต์
หน่วยราชการลับในชุดเครื่องแบบพร้อมอาวุธครบมือออกมาจากรถ และได้จับกุม
คณะ 8 คนที่ซ่อนอยู่ในที่ซ่อนลับรวมทั้งผู้ช่วยเหลือ 2 คน (วิคเตอร์ คูเกล้อร์ และ โจฮานเนส ไคล์แมน) แต่ยังมีผู้ช่วยเหลืออีก 2 คนหนีไปได้ (เมี้ยป กีส์และอลิซาเบธ หรือ เบ็ป)


 
ผู้ชาย 2 คนที่ยืนอยู่คือ คุณไคล์แมน และคุณคูเกล้อร์
ผู้หญิง 2 คนที่นั่งอยู่คือ เมี้ยปและเบ็ป



 
ผู้หลบซ่อนทั้ง 8 คนถูกส่งตัวไปยังคุกอัมสเตอร์ดัมในวันนั้น ก่อนจะถูกย้ายไปยัง
ค่ายเวสเตอร์บอร์กซึ่งเป็นค่ายกักขังชั่วคราว ในวันที่ 3 กันยายน 1944 พวกเขาก็ถูกย้ายไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ที่โปแลนด์ ซึ่งเป็นค่ายที่ชาวยิวถูกสังหารมากที่สุด
ท่ามกลางความวุ่นวายขณะลงรถไฟตอนมาถึงค่าย พวกผู้ชายจะถูกแยกออกจากลุ่มของผู้หญิงและเด็ก ออทโทจึงไม่ได้เจอกับครอบครัวของเขาอีกเลย ซึ่งเขาเป็นคนเดียวใน 8 คนที่รอดชีวิต

 


 

ส่วนแอนน์กับผู้หญิงคนอื่น ๆ  ถูกบังคับให้เปลือยกายและฆ่าเชื้อ พวกเธอถูกจับโกนผมและสักหมายเลขประจำตัวไว้บนแขน ในเวลากลางวัน พวกผู้หญิงจะถูกใช้งานเป็นทาส เมื่อตกกลางคืนพวกเขาต้องเบียดเสียดกันอยู่ในคุกแคบ ๆ พยานหลายคนให้ปากคำในภายหลังว่า แอนน์จะหวาดผวาและร้องไห้ทุกครั้งที่เห็นเด็ก ๆ ถูกนำตัวไปยังห้องรมแก๊ส แต่ก็มีพยานอีกหลายคนบอกว่าบางครั้งเธอก็แสดงความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ความอารีและความเป็นผู้นำในตัวเธอ ทำให้เธอมักได้รับส่วนแบ่งขนมปังเพิ่มขึ้นสำหรับให้เอดิธ(แม่ของเธอ) มาร์กอท และตัวเธอเอง 



ในค่ายสกปรกมาก ไม่ช้าเชื้อโรคก็แพร่ระบาด ผิวของแอนน์ติดเชื้อหิดอย่างรุนแรง เธอกับมาร์กอทถูกแยกไปห้องผู้ป่วย ที่ซึ่งมีแต่ความมืดสลัวตลอดเวลา และเป็นที่อยู่ของหนู 
เอดิธ แฟรงค์(แม่) เลิกกินอาหารส่วนของตน แต่เก็บเอาไว้เพื่อส่งไปให้ลูกสาวทั้งสอง โดยส่งผ่านรูเล็ก ๆ ที่เธอแอบเจาะไว้ทางด้านหลังกำแพงห้องผู้ป่วยเมื่อถึงวันที่ 28 ตุลาคมก็มีการคัดเลือกผู้หญิงที่จะย้ายไปยังค่ายกักกันแบเกิน-เบลเซิน ผู้หญิงกว่า 8,000 คน รวมทั้งแอนน์และมาร์กอท แต่เอดิธ แฟรงค์ไม่ได้ไปด้วย เธอเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากอดอาหาร



 

 
แอนน์ได้พบกับเพื่อนเก่าสองคนคือ กอสลาร์ และบลิตซ์ เป็นเวลาสั้น ๆ พวกเธอถูกกักกันอยู่ในคนละพื้นที่ของค่าย กอสลาร์กับบลิตซ์มีชีวิตรอดจนสงครามสิ้นสุด ในภายหลังพวกเธอทั้งสองได้เล่าถึงบทสนทนากับอันเนอเมื่อทั้งหมดได้คุยกันชั่วขณะผ่านรั้วกั้นแดน บลิตซ์บอกว่าแอนน์ดูผอมมาก ศีรษะล้าน ตัวสั่นเทา คนทั้งสองไม่ได้พบกับมาร์กอท เนื่องจากเธออ่อนแอจนไม่สามารถลุกจากที่นอนได้ แอนน์บอกกับกอสลาร์และบลิตซ์ว่า เธอคิดว่าพ่อกับแม่คงจะตายไปแล้ว ด้วยเหตุนั้นเธอจึงไม่ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ต่อไป


เดือนมีนาคม ปี 1945 เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ระบาดในค่ายกักกัน ทำให้นักโทษเสียชีวิตไปประมาณ 17,000 คน พยานบางคนเล่าในภายหลังว่า มาร์กอทร่วงตกจากที่นอนและเสียชีวิตจากอาการช็อก หลังจากนั้นไม่กี่วัน แอนน์ก็เสียชีวิต ประมาณว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทหารอังกฤษจะสามารถเข้าปลดปล่อยค่ายกักกันได้ในวันที่ 15 เมษายน ปี 1945 แต่ไม่สามารถระบุวันที่ที่แน่นอนได้ ค่ายทั้งค่ายถูกเผาหลังจากได้รับการปลดปล่อยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด แอนน์กับมาร์กอทจึงถูกฝังอยู่ใต้กองดินขนาดใหญ่ โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่ชัดได้




 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ anne frank pictures

หลังจากสงครามสิ้นสุดออทโทได้กลับมายังที่ซ่อนและได้อ่านบันทึกของลูกสาว เขาน้ำตาไหลในตอนนั้นและตั้งใจจะเผยแพร่บันทึกนี้ให้สมดั่งความปรารถนาของแอนน์ และเพื่อให้ผู้คนเห็นถึงความโหดร้ายที่ชาวยิวต้องพบเจอ เขาจึงอุทิศบั้นปลายชีวิตให้กับงานเขียนของลูกสาว



 
"ฉันต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป แม้หลังความตายของฉัน"
ความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างหนึ่งของแอนน์ตามที่เธอได้เขียนบันทึกไว้ ซึ่งหมายถึง เธอประสงค์จะประกอบงานอันดีเด่นให้ผู้คนได้อ่านกัน แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่คนก็ยังจำเธอได้จากผลงาน



 
เรื่องเล่าจากหนังสือ บันทึกลับของแอนน์ แฟรงค์
 
หลังสงครามสิ้นสุดแล้ว ครั้งหนึ่งในเมืองอัมสเตอร์ดัมได้มีการแสดงละครเรื่อง 'ชีวิตของแอนน์ แฟรงค์' สมเด็จพระราชินีจูเลียน่าได้เสด็จทอดพระเนตรการแสดงรอบปฐมทัศน์ คนดูล้นหลาม ผู้แสดงแสดงได้ถึงบทบาทจริงๆ มีเสียงสะอื้นของคนดูจำนวนไม่น้อย ทั้งที่เป็นญาติผู้เสียชีวิตเองต้องถูกกระทำอันโหดเหี้ยมจากพวกนาซีและทั้งที่ไม่ใช่ เสียงคนดูกรีดร้องด้วยความระทึก เมื่อละครถึงตอนตำรวจลับมาทุบประตู'ที่ซ่อนลับ' ราวกับว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น

ครั้นเมื่อละครจบฉากสุดท้ายปิดลง คนดูต่างนั่งนิ่งงันกันอยู่ครู่ใหญ่ ไม่มีการปรบมือให้ผู้แสดงเหมือนที่ปฏิบัติกันหลังจบการแสดง เพราะจิตใจทุกคนเหี่ยวแห้ง หม่นหมองและปวดร้าว..


 

 
credit 
หนังสือบันทึกลึบของแอนน์แฟรงค์
www.clipmass.com
wikipedia
www.dek-d.com

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น