Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

น้องๆ รู้จักหมอกระเป๋าเขียวกันมั้ยคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
น้องๆไม่ต้องง ไม่ใช่คณะแพทย์เปิดใหม่ ที่ไหนนะคะ

หมอกระเป๋าเขียวคืออีกชื่อหนึ่งของหมอที่ออกตรวจในโครงการ พอ.สว.ค่ะ
พอ.สว. มีชื่อเต็มๆคือ

มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

เป็นกิจการแพทย์ที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จย่า ที่ได้ทรงพบเห็นความยากลำบากของชาวบ้านในถิ่นทุรกันดาล  ขณะที่พระองค์เสด็จเยี่ยมชาวบ้านพร้อมกับหน่วย ตชด.ค่ะ  พระองค์ได้ตระหนักถึงความยากลำบากในด้านการเข้าถึงการดูแลรักษาพยาบาลค่ะ    เริ่มก่อนตั้งโครงการตั้งแต่ ปี 2512 โดยเริ่มจากจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ  ในตอนเริ่มแรก จะมีทีมหมอ1คน และพยาบาลอีก2 -3คน พร้อมยา และเครื่องมือตรวจรักาาโรคเบื้องต้น  ไปช่วยออกตรวจในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ ให้ชาวบ้านในชนบทแบบไปเช้า เย็นกลับ

โดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ออกหน่วย พอ.สว.ทุกคนจะใส่ชุดเสื้อสีเทาที่มีกระเป๋าสีเขียว  มีรูปงูพันคบเพลิงสีขาวทับบนกระเป๋าอีกทีหนึ่งค่ะ   ชาวบ้านจึงมักเรียกหมอกระเป๋าเขียว ๆ (ไม่ใช่หมอกระเป๋า หมอเถื่อนที่ฉีดโบท้อกนะจ๊ะ)

บรรจุโครงการ พอ.สว.ได้พัฒนาไปมาก และมีสมาชิกอยู่ในทุกๆ จังหวัด  และในแต่ละจังหวัดจะตะเวนจัดหน่อยแพทย์ พอ.สว. วนไปตรวจ และเยี่ยมคนไข้ตามแต่ละอำเภอทุกสัปดาห์ ด้วยค่ะ

และเมื่อในปีแรก หากมีน้องใหม่คนไหน สนใจร่วมเป็นทีมแพทย์ พอ.สว. ก็สามารถสมัครได้เลยค่ะ  ยื่นใบสมัคร ที่รพ.ที่เป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะนั่นแหล่ะ
วันนี้มีบรรยาการการทำงานของแพทย์ พอ.สว. มาให้ดูค่ะ  เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ  ให้น้องๆที่อยากสอบหมอ  และได้ทำเพื่อผู้ป่วยจริงๆกันจ้า

แสดงความคิดเห็น

9 ความคิดเห็น

DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:27 น. 1

ภายในอาการจะมีการตั้งรูปของสมเด็จย่า สมเด็จพระพี่นาง และเจ้าฟ้าจุฬาภรณืเรียงกันค่ะ เนื่องจากทั้ง3พระองค์เป็นองค์ประธานผู้สนับสนุนโครงการ ก่อนให้บริการหน่วยทุกครั้ง ต้องมีพิธีแสดงความเคารพ ต่อพระรูปและ สวายสัตย์ว่าจะตั้งใจทำหน้าที่ดูแลรักษาประชาชนอย่างดีที่สุด ทุกครั้งต่อหน้าพระรูปค่ะhttps://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553708

0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:31 น. 2

โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. เป็นความร่วมมือระหว่างแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตแพทย์ และอีกหลายฝ่ายทางสาธารณสุขในแต่ละจังหวัด กับ โรงพยาบาลชุมชนของแต่ละอำเภอ กับ หน่วยงานฝ่ายปกครอง และตชด. ค่ะ อยู่กับแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

ภาพการช่วยกันออกแรงยกเครื่องไม้เครื่องมือเป็นภาพที่พบเห็นhttps://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553753https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553754ได้ทั่วไป


0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:35 น. 3

ชาวบ้านในแต่ละท้องที่ ที่ออกหน่วยก็มีส่วนร่วมเต็มที่ค่ะ

วันนี้เราไปออกหน่วย พอ.สว.ที่ บ้านวังวน อำเภอแก่งกระจาน เพชรบุรีค่ะ

กศน.และชาวบ้าน เตรียมน้ำมะนาว อัญชันมาเสริฟให้ดื่มกันทั้งเจ้าหน้าที่ และคนไข้ที่มาตรวจค่ะ ชื่นใจกันทั่วหน้า

https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553767https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553768

0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:40 น. 4

ต่อมาจะพาไปดู บริเวณการตรวจรักษาค่ะ เพราะพื้นที่จัดหน่วยเป็น ศาลากลางหมู่บ้าน

ห้องตรวจก็เป็นแบบเปิดโล่งค่ะ มีโต๊ะ1ตัว มีคุณพยาบาล1คน วัดความดัน และซักประวัติ ว่าวันนี้คนไข้มีปัญหาสุขภาพอะไรจึงมาหาหมอ หลังจากนั้นก็ส่งต่อให้คุณหมอ (ที่นั่งข้างๆ กันั่นแหล่ะ) ตรวจรักษาค่ะ

ส่วนใหญ่จะเป็นโรคทางระบบกล้ามเนื้อค่ะ ปวดเอว ปวดเมื่อย ปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม

แต่หากคนไข้คนไหน มีอาการฉุกเฉิน หรือต้องส่งตัวไปรักษาต่อที่รพ. ก็จะมีการเขียนใบส่งตัวให้ เพื่อไปยังรพ.ที่มีเครื่องมือ เครื่องไม้ทางการแพทย์พร้อมกว่าค่ะ

https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553811https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553812

0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:42 น. 5

ทีมเภสัชกร ก็เตรียมยามาให้พร้อมค่ะ ทั้งยาแก้ปวดท้อง ยาโรคกระเพาะ ก้เตรียมใส่ลังมานี่แหล่ะhttps://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553820https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553821

0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:46 น. 7

การออกหน่วย พอ.สว.จะแตกต่างกับการตรวจรักษาคนไข้ใน รพ.ค่ะ

เพราะการออกหน่วยเป๋นการทำงานรักษาแบบเชิงรุก คือออกมาค้นหาผู้ป่วย และตรวจรักษาให้ถึงพื้นที่ คนไข้ไม่ต้องลำบากหารถไปรพ. และไม่ต้องรอคิวนานด้วยค่ะ

แถมบบรยากาศดี และร่มรื่นมากๆ

https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553840https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553839

0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:55 น. 8

สิ่งหนึ่งที่เราทำต่อไปคือการออกเยี่ยมคนไข้ที่พิการ หรือ ติดบ้าน ติดเตียงไม่สามารถออกมารับบริการได้ค่ะ เราจะช่วยดูแลทั้งรักษาโรค เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาฒ โดยช่วยให้นักกายภาพไปสอนคนไข้และญาติให้ทำกายภาพได้ และดูแลไม่ให้เกิดแผลกดทับ

หากเป็นคนไข้ที่ใส่อุปกรณ์เช่น สายยางให้อาหาร หรือสายสวนปัสสาวะ เป็นคนไข้ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเพราะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เราต้องสอนญาติให้ดูแลอุปกรณ์ได้

คนไข้ใส่สายสวนปัสสาวะ ต้องเปลี่ยนสายทุก1เดือน และถือให้ระดับถุงต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะเพื่อป้องกันการไหลย้อน คนไข้ที่ใส่สายให้อาหาร ญาติก็ต้องรู้วิธีป้อน โดยไม่ให้คนไข้สำลัก หรือ ถ้าสายอุดตัน ก้ต้องแก้ปัญหาได้ และรู้ว่าเมื่อไรควรขอความช่วยเหลือจาก พยาบาลใน รพ.สต. หรืออาการแบบไหน ควรพามารพ.ค่ะ

เราไม่สามารถถ่ายรูปหน้าคนไข้มาได้นะจีะ เพราะละเมิดสิทธิ์ผู้ป่วย แต่มีบรรยากาศในจการเดินทาง มาให้ดูค่ะ ขึ้นเขาลงห้วย ได้ออกกำลังกายกันไปด้วยในตัวhttps://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553885https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553887https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553886https://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553888


0
DoctorPear 24 ต.ค. 62 เวลา 21:56 น. 9

และสุดท้ายกองทัพ ต้องเดินด้วยท้อง เสร็จภาระกิจแล้ว เราก็มากินอาหารกลางวันกันจ้าhttps://image.dek-d.com/27/0829/4187/129553954

0