Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นอนยังไงห่างไกลโรคซึมเศร้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

นอนยังไงห่างไกลโรคซึมเศร้า

                เชื่อว่า วัยรุ่นกับการนอนดึกเป็นของคู่กัน  ในช่วงปิดเทอมหลายคนก็คงอยากที่จะดูซีรีย์หรือเล่นอินเทอร์เน็ตกันแบบยาวๆ  อีกทั้งซีรีย์บางเรื่องยังน่าติดตามจนทำให้หยุดดูไม่ได้ ก็เลยต้องดูกันต่อแบบโต้รุ่ง ใช่ค่ะเราเองก็เคยเป็นเหมือนกัน จนเราได้มาอ่านวิจัยที่เค้าอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการนอนดึกกับโรคศึมเศร้าที่ทุกคนอาจมองข้าม ไป

                เหมือนที่ทุกคนทราบกันอยู่แล้วว่าประโยชน์เบื้องต้นของการนอนเร็วแล้วตื่นเช้า คือ ทำเราให้มีเวลามากขึ้น เรามาสามรถตื่นมาออกกำลังกายได้ การได้รับประทานข้าวเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญ สุขภาขจิตใจแจ่มใส แต่เราเชื่อว่าคงมีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าการนอนดึกทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย จากงานวิจัย ที่ศึกษาเกี่ยวกับ นาฬิกาชีวิต ภายในร่างกายของเรา ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ผ่าน Journal of Psychiatric Research โดยที่นักวิจัยได้ศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้หญิงวัยเฉลี่ย 55 ปีจำนวน 32,740 คน แต่ละคนในวันที่เริ่มต้นการศึกษานั้นยังมีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรงดี เมื่อเวลาผ่านไปราว 4 ปี นักวิจัยกลับไปศึกษากลุ่มตัวอย่างเหล่านี้อีกครั้ง พบว่า มี 2,581 คนที่เป็นโรคซึมเศร้า  และได้รับวินิจฉัยแล้วจากแพทย์ ทั้งนี้ยังพบข้อมูลอีกว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนชอบตื่นเช้า (Early Bird) มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีนิสัยชอบนอนดึก (Night Owl) ข้อมูลที่พบนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์บางอย่าง ระหว่างนาฬิกาชีวิตภายในร่างกาย กับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้า (อย่างไรก็ดี งานวิจัยยังทิ้งข้อสังเกตว่า จำเป็นต้องศึกษาในปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติมทั้งเรื่องสภาพแวดล้อมรอบข้าง และพันธุกรรมของแต่ละคน เพื่อที่จะเข้าใจปัญหานี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น)  นอกจากนี้การนอนดึกยังส่งผลถึงอารมณ์หลังตื่นนอน เช่น ความคิดในเชิงลบ หรือการวิตกกังวลต่างๆ อีกด้วย

                แล้วลักษณะการนอนที่ดีเป็นอย่างไร คือ ปกติเวลานอนที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละวันคือ 6-8 ชั่วโมง เราควรหลับและตื่นให้เป็นเวลาแม้ว่าจะเป็นวันหยุดเพื่อความเคยชิน ไม่ควรเล่นโทรศัพท์หรือดูทีวีก่อนนอน เพราะ แสงสีน้ำเงิน ที่ออกมาจากหน้าจอทำให้เรานอนไม่หลับ ไม่ควรออกกำลังกายใกล้เวลานอน เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นซึ่งจะกระตุ้นให้สมองไม่หลับ จึงควรออกกำลังกายเบาๆ หลังจากตื่นนอนตอนเช้าอย่างน้อย 15 นาที เพื่อช่วยให้สมองและร่างกายตื่นตัวทำให้การปฏิบัติภารกิจประจำวันดีขึ้น และอาจออกกำลังกายในตอนเย็นหลังเลิกงานเพื่อช่วยคลายความตึงเครียดจากการทำงาน แต่ไม่ควรปฏิบัติใกล้เวลานอน ทีนี้ควรนอนเวลาไหน ต้องเกริ่นก่อนเลยว่าร่างกายของเราจะมีฮอร์โมนอยู่ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า  Growth Hormones มันจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตในเด็กและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในผู้ใหญ่ ซึ่งเจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะหลั่งออกมาได้ดีในตอนที่เราหลับสนิท แต่ช่วงเวลาที่แบบมันออกมาได้ดีมากๆก็คือช่วงเที่ยงคืนถึงตีสี่แม้ว่าเราจะหลับสนิทแล้วก็ตาม เพราะฉะนั้น  การเข้านอนเที่ยงคืนจึงไม่เป็นผล ดังนั้น เวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนอนคือ สี่ทุ่มถึงห้าทุ่ม นั่นเอง

                อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายังไม่มีงานวิจัยไหนออกมาพูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า ข้อเสียของการนอนดึกมีอยู่มากมาย ดังนั้น เราเลยอยากมาแนะนำเพื่อนๆให้ลองปรับวิธีการนอนของตัวเองกันวันละนิด เพื่อสุขภาพที่ดีของเรากันนะคะ

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://new.smartteen.net/infographic/143

https://www.nytimes.com/2018/06/20/well/depression-sleep-chronotype-circadian-rhythm.html?fbclid=IwAR1MXPYYK5TOFtwA0nLAE2EfKIfxD6hUJLBwZCk9wlAbPyZjK9qQexmjNjs

https://www.facebook.com/thematterco/posts/2068430713372320/

https://med.mahidol.ac.th/sleep_disorders/th/content/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A

https://zzz.dreamingmoby.com/%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99-19bea156ea16

แสดงความคิดเห็น

>