Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ระเบียบทรงผมนักเรียนที่ละเลยความต้องการของเจ้าของศีรษะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ประเด็นการไว้ทรงผมของนักเรียนกลับมาเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง หลังจากมีการประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ต่อมาได้เกิด #ก็ผมหนูปะคะ บนโลกออนไลน์ โดยมีนักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการไว้ทรงผมของนักเรียน



ทบทวนสาระสำคัญบางประการของระเบียบนี้   (ดูฉบับเต็มที่แหล่งอ้างอิงท้ายกระทู้) 

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมของนักเรียน พ.ศ. 2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546

ระเบียบข้อ 4 ระบุถึงการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการไว้ทรงผมว่า
นักเรียนชายจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาวด้านข้าง ข้างหลังต้องไม่เลยตีนผม ด้านหน้าและกลางศีรษะให้เป็นไปตามความเหมาะสมและเรียบร้อย

ส่วนนักเรียนหญิงจะไว้ผมสั้นหรือยาวก็ได้ กรณีไว้ผมยาว ให้เป็นไปตามความเหมาะสมและเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ระเบียบข้อ 5 ห้ามมิให้นักเรียนดัดผม ย้อมสีผม ไว้หนวดหรือเครา และกระทำอื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการเป็นนักเรียน โดยมีข้อยกเว้นในระเบียบดังกล่าว มิให้นำมาใช้บังคับแก่นักเรียนที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติตนตามหลักศาสนาหรือการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษา

ระเบียบข้อ 7 ภายใต้ข้อบังคับข้อ 4 ให้สถานศึกษาวางระเบียบเกี่ยวกับการไว้ทรงผมของนักเรียนที่มีความเฉพาะเจาะจงได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ยึดถือหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนท้องถิ่น

จากระเบียบดังกล่าวข้อที่ 4 และ 5 เกิดคำถามขึ้นมาว่า การไว้ผมยาว การดัดผม การย้อมสีผม ไว้หนวด เครามีผลต่อการเรียนอย่างไร ทำไมผู้ใหญ่บ้านเราปลูกฝังความเป็นพลเมืองดี การเคารพสิทธิของผู้อื่นและไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น แต่กลับลิดรอนสิทธิของเด็กเสียเอง

ปีการศึกษาที่ผ่านมา เมื่อฝ่าฝืนกฎเรื่องทรงผม ครูส่วนมากมักลงโทษด้วยการตัดผมนักเรียน


 
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ระบุให้การลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ดังนี้
1.   ว่ากล่าวตักเตือน 
2.   ทำทัณฑ์บน 
3.   ตัดคะแนนความประพฤติ
4. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

เมื่อพิจารณาระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 แล้ว จะเห็นว่าการที่ครูลงโทษนักเรียนด้วยการตัดผมเป็นการกระทำการโดยไม่มีสิทธิ ด้วยเหตุนี้ จึ งเกิดคำถามว่า กรณีนี้เป็นการกระทำอันเกินสมควรแก่เหตุหรือไม่



กรณีศึกษา #ก็ผมหนูปะคะ

จากกรณีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งลงข้อความและรูปภาพ ขอความร่วมมือผู้ใช้ทวิตเตอร์รายอื่นๆให้ช่วย retweet เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในรูปภาพปรากฎข้อความของคุณครูท่านหนึ่งว่า
 
"ประกาศใช้ระเบียบทรงผมเดิมนะจ๊ะ ไม่อนุญาตให้ไว้ผมยาว เป็นระเบียบที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาฯของโรงเรียนแล้ว (เป็นตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนชุมชน ตัวแทนศาสนา ฯลฯ)"

ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้อ้างว่า โรงเรียนไม่ได้ถามความเห็นของนักเรียนสักคน

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า กรณีนี้เป็นการถามความคิดเห็นของบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือเป็นผู้ไม่ได้ถูกระเบียบนี้ใช้บังคับ     แต่กลับไม่ถามความคิดเห็นของนักเรียน แล้วการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการทำผิดระเบียบข้อที่ 7 ที่ว่า "การดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้ยึดถือหลักความเหมาะสมในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักเรียน และการมีส่วนร่วมของนักเรียน สถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชนท้องถิ่น" หรือไม่




แบบสอบถามความคิดเห็น เรื่องระเบียบทรงผมนักเรียนของโรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.จันทบุรี 

มีคำถามหนึ่งถามว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับทรงผมนักเรียนชาย ม.ต้น ด้านข้างเกรียน ด้านบนยาว 5 เซนติเมตร โดยมี 2 ตัวเลือก ระหว่าง 
1) เห็นด้วยให้คงเดิม เพราะแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของโรงเรียน ประหยัด เหมาะกับวัยเรียน ดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย ทั้งยังทำให้มีวินัย

2) ไม่เห็นด้วย โปรดระบุเหตุผล

จากตัวเลือกของแบบสอบถามข้างต้น ทำให้เห็นมุมมองเกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องทรงผมอีกด้านหนึ่ง   ทั้งนี้  ทำให้นักเรียนจำนวนหนึ่งสงสัยว่าเหตุผลดังกล่าวสมเหตุสมผลพอหรือไม่กับการคงไว้ซึ่งกฎเดิม   เมื่อได้เปรียบเทียบทั้งข้อดีและข้อเสียของการมีอยู่ของระเบียบทรงผมนี้แล้ว   




การตั้งคำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสุภาพและมีเหตุผลเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเป็นสิทธิที่พึงกระทำได้  มันจะไม่ดีกว่าหรือหากเราถือว่าเสียงของทุกคนมีความหมาย เคารพทั้งเสียงส่วนมากและเสียงส่วนน้อย หากมีกฎเกณฑ์ใดที่นักเรียน ผู้ปกครองหรือบุคลากรทางการศึกษาไม่เห็นด้วย เนื่องจากกฎนั้นลิดรอนสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลหรือสาเหตุอื่นใด ทุกคนย่อมมีสิทธิในการเรียกร้อง บ่อยครั้งผู้เขียนได้ยินวลีที่ว่า "ก็กฎมันเป็นอย่างนี้ ปฎิบัติตามกันมาอย่างนี้ตั้งนานแล้ว ถ้าปฏิบัติตามกฎไม่ได้ ก็ลาออกไปสิ" แล้วรู้สึกจุกอกอย่างบอกไม่ถูก การผลิตซ้ำชุดความคิดเช่นนี้ไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในมุมมองของผู้เขียน แต่มันกลับส่งผลกระทบทางความคิดโดยอ้อมราวกับว่าความคิดถูกจำกัดไว้อยู่ในกรอบเพียงเท่านั้น


 
อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/103/T_0006.PDF
http://kormor.obec.go.th/discipline/dis021.pdf
https://bit.ly/2BRt5dy
 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

เเเ 26 ม.ค. 64 เวลา 16:45 น. 1

ถ้าโรงเรียนเปลี่ยนจากการตัดหรือหนีบผมนักเรียนมาเป็นการตัดคะเเนนเเละไล่ออกหรือย้ายสถานศึกษานี้ถือว่าผิดไหม...

0