Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

How to เลือกซื้อและบริโภคเนื้อวัวให้ปัง!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
                           
                                ปัจจุบันผู้บริโภคเนื้อโคในประเทศไทยเริ่มมีความนิยมในการบริโภคเนื้อโคที่มีคุณภาพมากขึ้นมีการนำเข้าเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะเนื้อโคคุณภาพ อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการมีความเชื่อหรือค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งบางคนไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพของตนเอง ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกซื้อ หรือเลือกรับประทานอาหาร บางครั้งบริโภคมากจนเกินความจำเป็น และบางครั้งบริโภคน้อยเกินไป หรือไม่บริโภคเลย ก็อาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย ในช่วงที่ร่างกายต้องการวิตามินในการเสริมสร้างช่วงเวลานั้นๆ 

เอาล่ะเพ่ื่อไม่ให้เยิ่นเย้อ... เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า   wink
 


รูปภาพจาก  :  https://www.thespruceeats.com/cuts-of-beef-chuck-loin-rib-brisket-and-more-995304


6 ส่วนต่างๆ  ยอดฮิตของเนื้อโค

1. เนื้อสันคอหรือเนื้อสันหน้า (Chuck) เนื้อสันคอเหมาะที่จะนำไปย่างบนเตามากกว่าการจี่บนกระทะ เนื้อส่วนนี้มีคอลลาเจนที่หลอมละลายเร็วเมื่อโดนความร้อน ทำให้มีรสชาติที่เข้มข้น 
2. เนื้อสันส่วนหลัง (Short loin) สามารถทำอาหารได้โดยไม่ต้องใช้ความชื้นน้ำหรือใช้เวลานานๆ เช่น ผัด ทอด ต้ม และย่าง
3. เนื้อสันสะโพก หรือเนื้อตะเข้ (Sirloin) เป็นส่วนหลังกระดูกทางด้านสะโพก นิยมนำมาทำการทอด ต้มในกระทะ การย่าง การผัด การต้ม เช่น เนื้อเซอร์ลอยด์ (Sirloin Steaks) นิยมนำมารับประทานทั้งแบบที่ติดกระดูกและไม่ติดกระดูก และเนื้อปลายสันสะโพก (Sirloin Tip Roast) สามารถทำมาย่างหรือถนอมอาหารได้ดีเยี่ยม
4. เนื้อพื้นท้อง (Flank) เป็นเนื้อที่มีไขมันน้อย มีกล้ามเนื้อและรสชาติดีมาก มักใช้ทำเนื้อสเต็ก และเคบับซึ่งเป็นอาหารชาติตะวันออกกลาง
5. เนื้อพับหรือเนื้อสะโพก (Round) เป็นเนื้อไขมันน้อย เหมาะกับการประกอบอาหารที่ใช้ความชื้นและเวลายาวนาน ประกอบด้วย เนื้อพับใน (Top Round) เนื้อส่วนพับที่นุ่มที่สุด สามารถนำมาทำการอบในหม้อ หรือตัดเป็นชิ้นเล็กๆเพื่อทำการตุ๋นได้ และเนื้อสันสะโพก (Rump Roast) นิยมนำมาย่างผสมเคี่ยวอาจใช้ไฟปานกลาง
6. เนื้อน่อง (Shank)   และ เนื้อเสือร้องไห้ (Brisket) มักนำมาทำคอร์นบีฟ และเนื้อเสือร้องไห้ (Brisket) มักนำมาใช้ประกอบอาหารโดยมีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น สตู การตุ๋น การย่างในหม้อ ประกอบด้วย เนื้อขาหน้า/น่องหน้า (Foreshank) นิยมนำมาทำสตู เนื้อเสือร้องไห้ส่วนแรก (Brisket First Cut) เป็นเนื้อเสือร้องไห้ส่วนที่มีไขมันน้อย และเนื้อเสือร้องไห้ส่วนหน้า (Brisket Front Cut)  

อ่ะ... แล้วถ้าเราจะไปนั่งกินที่ร้าน และพนักงานถามว่าเอาความสุกระดับไหนดี สตั้นไป 3 วิ ..เอ่ออออ ต้องตอบยังไงดี ตัดสินใจไม่ถูก งั้นเรามาดูว่าแต่ละระดับมันแตกต่างกันอย่างไร   yes

ระดับความสุกของเนื้อโค แบ่งออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1 บลูแรร์ (Blue Rare) สุกแค่ผิวเนื้อด้านนอกด้านในยังดิบแบบเป็นสีแดงเกือบทั้งชิ้น
ระดับที่ 2 แรร์ (Rare)   ย่างแบบเนื้อด้านนอกสุกพอประมาณ (เป็นสีน้ำตาลอมเทา) ส่วนด้านในยังเป็นเนื้อแดงอม  ชมพูอยู่ ส่วนมากจะใช้เวลาย่างประมาณ 1 นาที
ระดับที่ 3 มีเดียม แรร์ (Medium Rare) เนื้อกึ่งสุกกึ่งดิบ ด้านในยังเป็นเนื้อแดงประมาณ 50%
ระดับที่ 4 มีเดียม (Medium) ย่างให้สุกขึ้นมาอีกนิด พอให้เนื้อด้านนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ เนื้อด้านในอมชมพู
ระดับที่ 5 ดัน (Done) ย่างแบบให้เนื้อสุกทั่วถึงกัน แต่ยังคงหลงเหลือเนื้อสีชมพูเล็กน้อย
ระดับที่ 6 เวล ดัน (Well Done) เนื้อสุกทั่วถึงกันทุกส่วน ไม่เหลือเนื้อส่วนที่เป็นสีชมพูอยู่เลย ลักษณะเนื้อที่ย่าง  แบบนี้จึงไม่ค่อยมีความฉ่ำของรสชาติเนื้อเท่าไรนัก เหมาะสำหรับคนที่ชอบกินเนื้อสุกแบบจริงจัง

รู้หมือไร่!   ว่าการที่เรากินเนื้อโค ไม่ใช่ว่าเราได้รับแต่ไขมันอย่างเดียวนะ!!   ประโยชน์ของมันก็มีครับ

ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อโค

- โปรตีนสูง และมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการ ทั้ง 8 ชนิด ซึ่งเป็นชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ ซึ่ง โปรตีนในเนื้อวัวมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยหลังผ่าตัด และนักกีฬา เพราะล้วนต้องการโปรตีนในการสร้างกล้ามเนื้อ 
 - วิตามินและธาตุเหล็ก เช่น วิตามิน B6 วิตามิน B12 วิตามิน D วิตามิน E และธาตุเหล็ก โดยพระเอกของสารอาหารเหล่านี้คือ วิตามิน B12 ที่จะพบในอาหารประเภทอื่นน้อย
- แหล่งสำคัญของกรดไขมันโอเมก้า 3 สำหรับมนุษย์ ต้องบอกว่าโดยเฉพาะเนื้อวัวที่มาจากวัวที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มากกว่าการกินอาหารข้น หรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับวัว นอกจากนี้ใน เนื้อวัว ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ทั้ง ธาตุเหล็ก สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม และแมกนีเซียมอีกด้วย

                           เมื่อเรารู้จักเนื้อโคและวิธีเลือกซื้อแต่ละส่วนแล้ว ต่อไปหากจะต้องนำเนื้อวัวมาปรุงอาหารแล้วล่ะก็ อย่าลืมเอาวิธีเลือกซื้อเนื้อโคให้เหมาะกับการนำมาปรุงเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการเลือกซื้อด้วยนะค้าบบ   heart

                      ก่อนจะพบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ... ตอนไปเดินจ่ายตลาด กำลังเลือกซื้อเนื้อวัวอยู่แล้วเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อส่วนไหนดี ลองมาเปิดเพลงผ่อนคลายในช่อง Youtube  ของเราได้เด้ออ ถ้าใครชอบฟังเพลงออกไปทาง Jazz หริอ Bossa Nova ล่ะก็ -->

    

รับรองได้เนื้อคุณภาพกลับไปกินที่บ้านแน่นอน ;)
งั้นลาไปก่อนนะค้าบบ... มอร์  ~~~ 

แสดงความคิดเห็น

>