Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ดื่มชา...แล้วเป็นอมตะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
                        สวัสดีครับพี่น้องชาว   Dek-D ทุกคน   วันนี้เรามีสาระดีๆมากฝาก   ถ้าพูดถึงเรื่องความสวยความงาม            คงจะเป็นอีกหนึ่งอย่างที่มาพร้อมกับผู้หญิง งั้นเรามาลองอ่านกระทู้นี้กันดีกว่าที่มีวิธีทำให้เหล่าคุณผู้หญิงทั้งหลายดูเยาว์วัย  หน้าใส   อ่อนต่อวัย   ด้วยวิธีง่ายๆ ราคาไม่แพงไม่ต้องเข้าคอร์ดความงามไม่ต้องพึ่งเครื่องสำอางราคาแพง   เพียงแค่สิ่งที่เราทำกันเป็นประจำ   คือ   "การดื่มชา"
                    ถ้าพูดคำว่า "ชา"   คงจะไม่มีใครไม่รู้จักเพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีต   ชาได้รับการขนานนาม ว่าเป็น "เครื่องดื่มอมตะ" ในปัจจุบันหลายประเทศนิยมนำใบชาอ่อนและใบแก่มาประยุกต์เป็นเครื่องดื่มเพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกมีกำลังในเวลาที่ร่างกายสูญเสียพลังงาน   ปัจจุบันการหันมาดื่มชาได้รับความนิยมไปทั่วโลกทำให้มีการพัฒนาโดยการเพิ่มวัตถุดิบชนิดอื่น   เช่น   ชาใบหม่อน   ชามะขามแขก   เป็นต้น
                      "สารความเป็นอมตะ...ในชา"   ในกระบวนการผลิตชามีการยั้บยั้งเอนไซม์ที่จะมาเปลี่ยนแปลงสารต่างๆ          ในใบชาทำให้ในชามีสารคาเทซินในปริมาณมาก รวมไปถึงสารธีอาฟลาวิน (theaflavins) และธีอารูบีจิน (therarubigins)  ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการเปลี่ยนรูปของคาเทซินโดยเอนไซม์ต่างๆ ในปริมาณต่ำ   มีสรรพคุณ ช่วยต้านอนุมูลอิสระทำให้อ่อนต่อวัย
                    จากการศึกษาวิจัยชาพบว่าสารที่อยู่ในชามีมากกว่า 500 ชนิด โดยสารกลุ่มนี้จะมีผลต่อการทำงานของร่างกายมนุษย์และมีผลต่อเรื่องสุขภาพของมนุษย์   ได้แก่   สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ กรดอะมิโน วิตามิน คาเฟอีนและน้ำตาลหลายโมเลกุล
                      เป็นยังไงกันบ้างครับ   เราหวังว่ากระทู้นี้จะถูกใจเหล่าคุณผู้หญิงทั้งหลายรวมไปถึงคนที่ชอบดูแลตัวเองด้วยนะครับ วันนี้เราก็มีสาระมาฝากเพียงเท่านี้ แล้วกลับมาเจอกันในกระทู้หน้า ถ้าอยากรู้ว่ากระทู้หน้าจะเป็นสาระเกี่ยวกับเรื่องอะไรต้องราติดตามกันนะครับ!!!!  ก่อนจากกันไปอย่าลืมดื่นชากันนะครับ  cheeky


ที่มา :  ธีรพงษ์  เทพกรณ์. 2557. ชา. สำนักงานแห่นจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ
                   ชัยธวัฒน์  ธนภูวดล. 2562. จุดเริ่มต้นของชา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
                   https://chobchacom/category/บทความ/18 ธันวาคม 2563
ชิ้นงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการประชาสัมพันธ์ธุรกิจอาหาร สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

  

แสดงความคิดเห็น

>