Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รีวิวค่าย1,2สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (TESO/IESO)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับทุกคน วันนี้จะมารีวิวการเข้าค่ายสอวน.แบบย้อนหลังไปหลายเดือนหน่อย แหะๆcool
 เอาจริงคือคิดไว้นานแล้ว ว่าถ้าติดค่าย2 จบค่ายอยากจะมารีวิวให้คนอื่นฟังบ้าง เพราะเป็นรายการที่ค่อนข้างหาเจอรีวิวน้อยพอสมควรเลย แต่ก็... ดอง ใช่ ดองครับ555 ช่วงนี้พึ่งมีไฟเพราะเห็นรายการนี้เริ่มเปิดรับสมัครแล้ว

เอาล่ะ เข้าเรื่องกัน!

การจัดการแข่งขันวิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระดับชาติ (Thailand Earth Science Olympiad) หรือเรียกย่อๆว่า "TESO" เป็นการแข่งขันเพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Earth Science Olympiad) หรือเรียกย่อๆว่า "IESO"
โดยปี2021นี้ พึ่งเป็นการจัดการแข่งขันTESOครั้งแรกของประเทศไทย มีศูนย์สอวน.มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นเจ้าภาพ กำหนดการจะเป็นตามนี้ (ถ้าไม่มีสถานการณ์โควิด19รุนแรง) :ขอบคุณภาพจากงานแถลงข่าวเตรียมความพร้อมศูนย์สอวน.มหิดล กาญจนบุรี (ลิ้งค์: https://youtu.be/wLu6KA_s-Bs )

ซึ่งจะแบ่งศูนย์สอวน.กระจายทั่วประเทศไทย 7 ศูนย์ ดังนี้


ด้านเนื้อหา
วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศจะเป็นเนื้อหาครอบคลุมด้าน ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ดาราศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ปีที่เราเข้านี้การสอบเข้าจะเป็นการเน้นธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา มากกว่า )

Story
Intro
(ข้ามได้ๆ555)
-เราเป็นเด็กวิทย์-คณิตห้องธรรมดาคนนึงๆ ที่สนใจวิทยาศาสตร์ที่อธิบายสิ่งรอบตัว ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ //แต่ไม่ชอบคณิตศาสตร์blush
-ช่วงม.5เทอม1เราเริ่มค้นหาตัวเองว่าชอบอะไร จนรู้สึกมาสนใจศาสตร์ธรณีวิทยา เลยหาค่ายจนเจอค่ายthe next genของสาขาธรณีศาสตร์ มหิดล กาญจนบุรี เลยลองสมัครดู
-ปรากฏว่าเกรดคณิตไม่ถึงเกณฑ์สมัคร(เจ็บใจมาก!5555) จึงยอมตัดใจ แล้วคิดว่าสักวันนึงจะเลือกสาขานี้แล้วสอบให้ติดให้ได้เลยนี่
-กระทั่งวันนึง มีครูส่งรายการสอวน.นี้มาในไลน์กลุ่ม ตอนแรกก็ไม่ค่อยสนใจ เพราะขึ้นชื่อว่าสอวน.ก็ กลัวสอบไม่ติดแล้ว แต่เห็นชื่อศูนย์แข่งขันที่รับผิดชอบจังหวัดเรา เป็นศูนย์มหิดล กาญจนบุรี ก็เริ่มลังเลใจ
-ไม่กี่วันต่อมา มีครูที่เคยสอนเดินผ่าน แล้วทักว่า "หนูอยู่ม.ไรลูก ลองสมัครค่ายสอวน.นี้ไหม?" เราเลยคิดว่า เออ แต่โอกาสมันก็มาขนาดนี้ละ ลองไปก็ไม่เสียหาย สุดท้ายก็สมัคร555 ถ้าจำไม่ผิดเสียค่าสมัคร100บาท

การสอบเข้า
-เราอ่านหนังสือก่อนสอบ1เดือนกว่าๆ อ่านทุกวัน วันละอย่างน้อย15นาที หนังสือที่ใช้ก็คือ หนังสือESSAC โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ของพี่บุ้งกี๋ หาซื้อได้จากซีเอ็ดบุ๊คเลย
-เราพึ่งมารู้ว่า เนื้อหาที่ออกเป็นเนื้อหาที่มีเรียนในหนังสือวิทยาศาสตร์โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ (รายวิชาเพิ่มเติม) ของสสวท.เล่ม1-4 (เราคิดว่าถ้าไม่สามารถหาหนังสืออื่นได้ หนังสือทั้ง4เล่มนี้ก็ทำให้เข้าใจครอบคลุมได้ประมาณนึงเลย) เพราะเราได้เรียนแค่หนังสือพื้นฐาน...​สำหรับวิชานี้
-เราเลือกสอบที่ศูนย์สอบรร.ศรัทธาสมุทร 
-ข้อสอบมีเนื้อหาเน้นpartธรณีวิทยา กับ partอุตุนิยมวิทยา  แทบไม่เจอpartดาราศาสตร์ มีเรื่องกฏแก๊สกับความหนาแน่นให้คำนวณด้วย (เราไม่ได้เก็บไฟล์ขอบเขตเนื้อหาสอบไว้อ่าาา ถ้ายังเหมือนเดิมก้คือตามนี้เลย)

ประกาศผล
-ตอนแรกประกาศผลมาว่าติดก็ดีใจมากแล้ว แต่ ช่วงนั้นมีโควิดระบาดมากพอดี ค่ายเลยถูกเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด 
-ระหว่างรอเวลา ก็มีพี่ๆค่ายคอยส่งหนังสือสอวน.ธรณีวิทยา มาให้อ่าน มีควิซทุกสัปดาห์ด้วย
-จนเปิดเรียนไปหลายวันแล้ว ก็ไม่มีข่าวอะไร เราก็เกือบลืมแล้วด้วยซ้ำว่าจะมีค่ายblush
-แล้ววันหนึ่งก็ มีข่าวมาสักทีว่าจะจัดค่าย แต่ถ้าติดค่าย2จะมาราธอนมาก เพราะห่างจากค่าย1แค่สัปดาห์กว่าๆ


ค่าย1 (สักที)
-ขอรีวิวแบบภาพรวมนะฮะ เพราะนานจนจำไม่ได้หมด แหะๆ...
-เข้าค่ายเป็นเวลา11วัน10คืน

เนื้อหา
-ยึดตามที่อาจารย์สอนและหนังสือธรณีวิทยา2เล่ม+อุตุนิยมวิทยา1เล่ม ของมูลนิธิสอวน. ได้แก่


ธรณีวิทยา1,2

บทที่ 1 หลักธรณีวิทยาและระบบวิทยาศาสตร์โลก 
บทที่ 2 วัสดุโลก : แร่ 
บทที่ 3 วัสดุโลก : หิน 
บทที่ 4 การแปรสัณฐานแบบแผ่น 
บทที่ 5 โครงสร้างและองค์ประกอบภายในของโลก 
บทที่ 6 ภูเขาไฟและกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้อง 
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงเปลือกโลกและธรณีวิทยาโครงสร้างเบื้องต้น 
บทที่ 8 แผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ธรณีวิทยา
บทที่ 9 ซากดึกดำบรรพ์และมาตรฐานธรณีกาล 
บทที่ 10 กระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นผิว 
บทที่ 11 ธรณีสันฐานและธรณีวิทยาประเทศไทย 
บทที่ 12 ทรัพยากรธรณีวิทยา 
บทที่ 13 ธรณีพิบัติภัย

อุตุนิยมวิทยา
บทที่ 1 พลังงานและบรรยากาศโลก
บทที่ 2 การตรวจอากาศ
บทที่ 3 ความชื้น และเมฆ
บทที่ 4 การหมุนเวียนของอากาศ
บทที่ 5 ระบบสภาพอากาศ
บทที่ 6 การพยากรณ์อากาศ
บทที่ 7 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บทที่ 8 ปรากฏการณ์ทางแสง

*หาซื้อหนังสือได้ที่ซีเอ็ด/ศูนย์หนังสือจุฬา
- ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ทุกแขนงมาบูรณาการกัน เช่น ความร้อน ของเหลว ของไหล แก๊ส พันธะเคมี การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ฯลฯ อีกมากมาย
-partธรณีวิทยาเป็นเนื้อหาหลักในการเรียน เรียนกับอาจารย์หลายท่านมาก (แต่ถ้าอยากเรียนกับอ.ปริญญา ต้องไปให้ถึงตัวแทนศูนย์นะ แฮร่!)
-รองลงมาเป็นอุตุนิยมวิทยา เนื้อหาอาจจะเข้าใจยากไปบ้าง(หรือเราไม่เก่งอังกฤษด้วยก็ไม่รู้555) แต่ถ้ามีเวลามาทวน จะโอเคขึ้น  (เรียนกับอ.เอริกา ฉายเดี่ยวเลย)
-partดาราศาสตร์ขอบเขตจะเน้นไปเรื่องของการอธิบายกระบวนการและความเป็นไปของอวกาศเบื้องต้นมากกว่าจะเรียนกับอ.เดวิด (ฉายเดี่ยวเช่นกัน)

ลักษณะการเรียนการสอน
-เรียนแบบแลคเชอร์ ส่วนใหญ่จะมีชีทให้ แต่แนะนำให้มีสมุด/แทปเล็ตไปจดด้วย
-ส่วนใหญ่ใช้สไลด์ภาษาอังกฤษ ใครได้ศัพท์อังกฤษด้านวิทยาศาสตร์ จะได้เปรียบมากๆเลย
-มีทำlabบ้างของอุตุฯ และจะได้ไปเดินดูพิพิธภัณฑ์ธรณีศาสตร์กับparkด้วย
-เรียนใช้เวลาประมาณเช้า3ชม.บ่าย3ชม.(ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมก็อาจจะบวกลบได้) มีพักคั่นเช้าบ่ายประมาณ15นาที
-เวลาไม่เข้าใจไปถามอาจารย์ท้ายชั่วโมงหรือตอนพักได้เสมอ มีหลายๆครั้งที่เกือบอดกินชนมเพราะรุมถามอาจารย์จนเกือบหมดเวลาพัก55 

การใช้ชีวิตนอกห้องเรียน
-เช้า เที่ยง เย็น และมื้อว่าง มีอาหารเลี้ยงแบบอิ่มๆ บางอย่างคืออร่อยมากจนต้องตักเพิ่ม555 (นน.ขึ้น1โล คือดีใจ เหมือนคอร์สเพิ่มนน.)
-พักตอนเที่ยงๆ จะชอบไปเดินเล่นพักนึง เพราะม.เขาอากาศดี สงบดี หลังๆก่อนกลับมีตีแบตกับลุงเจ้าหน้าที่ด้วย
-เย็นๆ รถก่อนเข้าที่พักจะแวะโซน ตลาด ร้านสะดวกซื้อให้เราได้กระเป๋าตังค์แฟบด้วย555
-เนื่องจากม.อยู่บนเขา แล้วที่พักอยู่ด้านล่างติดแม่น้ำ ทำให้การเดินทางจะช้านิดนึง แต่วิวระหว่างทางคือดูเพลิน

ที่พัก
-พักบ้านริมแควแพริมน้ำทั้งค่าย1,2 (บรรยากาศสงบและสวยงามมากกกกกก) แต่ห้ามเล่นน้ำนะ ฮ่าๆ!
-อาหารที่พักมื้อเช้าจะเป็นบุพเฟ่ต์ มื้อเย็นแล้วแต่วัน แต่ทีเด็ดที่กินทุกวันคือ ปาท่องโก๋ อาโหร่ยยยย
-บ้านนึงมีหลายห้องนอน นอนต้องจับคู่นอนกับเพื่อนๆต่างรร.
-มีร้านรับซัก อบ รีด มารับเสื้อผ้าใช้แล้วที่ม. แล้วจะเอามาส่งให้ที่พักเลย
-มีคาราโอเกะให้ร้อง2วันก่อนกลับด้วย กินข้าวเพลินเลย

สังคม
-มีพี่ๆสาขาธรณีศาสตร์ มาสันทนาการตั้งแต่วันแรกเลย ทำให้สนิทกับคนอื่นไวมากๆ แถมมีจับคู่บัดดี้ด้วย วันเฉลยพี่ๆก็จัดงานให้ มีร้องคาราโอเกะเบาๆ สบายๆ
-เพื่อนๆต่างรร.คือ คุยด้วยได้ทุกคน ไม่เข้าใจถามเพื่อนก่อนไปถามอาจารย์ก็ได้ เย็นๆบางทีชวนกันไปเดินเล่น ไปเล่นเกม บลาๆ
-พี่ๆธรณีฯ จะคอยอยู่ดูแลห่างๆและมีติวให้น้องๆที่ที่พักด้วย 
-ขาดไม่ได้อีกพี่ก็คือ พี่เจ้าหน้าที่กับครูพี่เลี้ยง จะคอยดูแลพวกเราตั้งแต่อาหารการกิน เอกสาร การจัดสอบ การพาไปพากลับที่พัก ยันเล่นแบตมินตัน55555 เรียกได้ว่า อยู่อย่างสบายใจมากๆ

สอบเข้าค่าย2
-หลายๆคนตั้งใจมาก เราก็เช่นกัน หวังจะเข้าค่าย2ต่อให้ได้ เพราะ ยอมรับว่าส่วนนึงตอนนั้นหวังผลงานใส่พอร์ตโฟริโอด้วย และเราก็อยากจะไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนจบม.6อีกไม่กี่เดือน ท้าศักยภาพตัวเองไปในตัว
-สอบเข้าค่ายต่อไป ใช้เนื้อหาจากค่าย1ทั้งหมดที่ได้เรียน ซึ่งตรงนี้แหละคือจุดพิสูจน์ศักยภาพมากๆ เพราะเรียน10วัน แล้วสอบเลยวันสุดท้าย ดังนั้นจะมีเวลาทวนแค่ตอนกลับที่พักเท่านั้น


เดี๋ยวมาต่อพร้อมรูปนะงับบบ ขอพักสายตาก่อน อ่าห์

 

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

beamsdd 9 มิ.ย. 64 เวลา 16:30 น. 2

มาแล้วคร้าบบบ หายไปนานหน่อย55

บรรยากาศค่าย1

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025420 ณ ลานพระบิดา วันแรกที่ถึงม.

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025421

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025424

อีกมุมนึงจากอาคาร


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025427

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025429

วิวสวยๆระหว่างเดินทางเข้าที่พัก


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025430

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025431 

บรรยากาศรอบที่พัก(เห็นทางรถไฟสายมรณะด้วย)ภาพบรรยากาศการอยู่ค่าย (ขอบคุณภาพจาก พี่ๆเจ้าหน้าที่ของม.มหิดล กาญฯ)

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025452 เรียนกับอาจารย์แบบออนไลน์ ชิลๆไป

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025453

เรื่องภูเขาไฟ ต้องยกให้ อ.สุทัศชา (ระหว่างแนะนำตัว )

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025456

partอุตุนิยมวิทยากับ อ.เอริกา

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025457

คนนี้คือพี่สาขาธรณีศาสตร์ พี่นินจา ถามอะไรพี่เขาก็ตอบได้อารมณ์เหมือนหนังสือธรณีฯเดินได้ก็ใช่5555


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025458

ขณะที่พี่ๆสาขามาติวให้หลังเลิกเรียนถึงที่พัก 


(หมายเหตุ:เป็นพื้นที่เปิดโล่งประกอบกับเป็นช่วงก่อนการระบาดโควิดรอบที่สอง)


ค่าย2

-เข้าค่ายเป็นเวลา9คืน9วัน(ให้เข้าที่พักก่อน1คืน)

-หลังจากค่าย1จบไม่ถึง2สัปดาห์ (ถือว่าจะได้ไม่ลืมของเก่าละกัน)


เนื้อหา

-ทบทวนของเดิม เพิ่มเนื้อหาให้ลึกขึ้นกว่าเดิม

-partธรณี จะเพิ่มเนื้อหาที่อาจารย์คัดมา และของภาคสนาม+labบรรพชีวินเข้ามาด้วย

-partอุตุนิยมวิทยา จะเพิ่มการทำlabนอกห้องเรียน

-partดาราศาสตร์ จะเพิ่มเรื่องสมดุลพลังงาน และ ร่องรอยธรณีศาสตร์บนดาวต่างๆด้วย


ลักษณะการเรียนการสอน

-เรียนแลคเชอร์เช่นเคย เพิ่มเติมคือได้ออกนอกห้องบ่อยขึ้น เพื่อไปทำlab กับ ภาคสนาม

-labอุตุนิยมวิทยาจะทำให้ทุกคนได้รู้จักส่วนต่างๆของม.มากขึ้น เป็นlabกลางแจ้งกระจายทั่วม. มีพี่สาขาวิศวะสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติมาเป็นคนดูแล

-lab บรรพชีวินกับหิน+แร่ จะมาราธอนหน่อย เพราะเวลาจำกัด เก็บความรู้ให้ได้มากที่สุด

-ภาคสนามของจริงแบบจุใจ2วันเช้ายันเย็น ทีเด็ดอยู่ตรงนี้555 จะได้เจออะไรที่ไม่เคยเห็น หรือเห็นแต่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าสามารถบอกอะไรเราได้บ้างด้วยวิทยาศาสตร์ โดยพี่ๆสาขาธรณีศาสตร์จะคอยคุมคอยดูแลเช่นเคย

-อ้อ ก่อนออกภาคสนามต้องออกกำลังกายกันตอนเย็นด้วยนะ พี่ๆจะพาวิ่งรอบม.ประมาณ3กิโลเมตร

-มีอยู่วันนึงได้นอนดูดาวที่หน้าลานพระบิดาด้วย มีอ.เดวิด อ.ปราโมทย์ และพี่ๆคอยสอนดูดาว ดาวสวยมากกกกกกก


*การใช้ชีวิตนอกห้องเรียน,ที่พัก,สังคม จะคล้ายเดิมเลย แต่เพื่อนในค่ายจะน้อยลง ต้องจับคู่คนที่นอนด้วยใหม่ และทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันเวลาออกภาคสนามและlabต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเปิดโลกมากๆ


การสอบคัดเลือกผู้แทนศูนย์

-สำหรับเราแค่ค่าย2คือเกินคาดหมายมากๆแล้ว เลยคิดที่จะเอาแค่เท่าที่ไหว เพราะการสอบครั้งนี้เป็นอัตนัย!

-เนื้อหาการสอบจะครอบคลุมตั้งแต่ค่าย1ถึงค่าย2ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นlab ภาคสนาม เนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์คัดมา


**ลืมบอกอีกแล้ว การสอบเข้าค่าย1,2ใช้การสอบปรนัยล้วน

***ทริคของเราคือ ทุกอย่างที่อาจารย์เน้น/ถาม คือ หลักสำคัญที่ใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆ ถ้าไม่เข้าใจหรือตามไม่ทัน ให้จดคำถามที่อาจารย์ถามในห้อง แล้วหาข้อมูลเพิ่มเติม และถ้าเนื้อหามันกว้าง พยายามหาจุดมุ่งหมายของเนื้อหาที่อาจารย์เอามา ว่าเขาต้องการให้เรารู้และอธิบายอะไรบ้าง


-ผลออกมาว่า เราไม่ติดผู้แทนนะฮะ แต่ก็ไม่เสียดายเลย เพราะเรามองว่ายังมีคนที่เหมาะสมและสมควรได้มากกว่าเราจากความพยายามของตัวเอง


ภาพประกอบค่าย2 (ขอขอบคุณภาพบางส่วนจากพี่ๆเจ้าหน้าที่เช่นเคย)

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025459


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025460

ช่วงทำlabอุตุ ว่าแต่เครื่องพวกนี้เอามาทำอะไรน้า ไม่เฉลยๆละกัน

https://www0.dek-d.com/assets/article/images/sticker/bb-06.png 

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025462 

ช่วงเตรียมวิ่งออกกำลังกาย

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025465

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025464

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025467

เอ... เขาเอาค้อนกับกรดมาทำไรกันนะ ณ ภาคสนาม


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025469

https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025470

เชื่อไหมว่าคนละที่กันเลย


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025471

นอนดูดาว ณ ลานพระบิดา สวยงามมาก เสียดายถ่ายได้แค่นี้


https://image.dek-d.com/27/0836/9909/132025461

สุดท้ายละ ขอปาท่องโก๋เพิ่มมมมมมมมมมมมมม กินเป็น10วันก็ไม่เบื่อจริงๆ


จบแล้วคร้าบ สำหรับการรีวิวค่าย ขอใช้เป็นพื้นที่ขอบคุณสักนิดนึง ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทั้งในค่ายและนอกค่ายที่สนับสนุนและคอยช่วยเหลือเรามาตลอดไม่ว่าจะเรื่องความรู้ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การวางแผนต่างๆอย่างการเรียนต่อ และอยากจะขอบคุณครูรร.ที่จบมา แม้ว่าจะไม่ใช่เด็กห้องเรียนพิเศษ แต่พอติดค่าย1 ก็จัดการติวให้เพื่อปรับพื้นฐานให้ดีขึ้น จัดรถไปรับไปส่งตลอด2ค่าย


สุดท้าย... ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาดูรีวิวกันนะฮะ มีผิดถูกหรือพลาดประเด็นไหนไป เข้ามาคุยมาเพิ่มเติมกันได้น้า อยากให้กระทู้นี้เป็นข้อมูลส่วนนึงที่เป็นประโยชน์แก่คนที่สนใจศาสตร์นี้แต่ไม่เคยลองเข้ามาสัมผัส ถ้ามีโอกาสเข้ามาเราเชื่อว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีกับทุกคนที่สนใจแน่นอน



จาก.... เด็กค่าย2ห้องวิทย์คณิตธรรมดาคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสดีๆให้มาแชร์กัน



0
beamsdd 8 ก.ย. 64 เวลา 10:02 น. 3-1

ถ้ายังขอบเขตเดิม จะเน้นหนัก2อย่างครับ คือ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา ส่วนดาราศาสตร์ และความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น คำนวณความหนาแน่น กฏแก๊สในอุดมคติ ฯลฯ จะออกเป็นส่วนน้อย ครับ


0
Wannaknow 8 ก.ค. 64 เวลา 22:42 น. 4

ขอถามหน่อยได้ไหมคะ เกรดวิทย์ที่เอามาคิดนี่ต้องเป็นของม.ไหนเหรอคะ ปล.เราอยู่ม.4ค่ะ

1
beamsdd 8 ก.ย. 64 เวลา 10:11 น. 4-1

อันนี้ต้องลองถามทางศูนย์ดูนะครับ แต่ที่ผมใช้ถ้าจำไม่ผิดเป็นเกรดวิทย์เฉลี่ยม.ปลายครับ

0