Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รมว.ศึกษาธิการ สั่งปรับแผนการสอน เรียนน้อยลง ลดการบ้าน ลดการทดสอบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
#dekdUpdate สั่งปรับแผนการสอน “ลดเวลาเรียนทุกรูปแบบ – ให้เรียนเรื่องที่ต้องรู้ – หั่นการบ้าน – งดกิจกรรมรวมกลุ่ม – ลดการทดสอบทั้งระดับโรงเรียนและระดับชาติ”
ตอนนี้หลาย รร. เริ่มออกประกาศลดการบ้าน ลดการสอน หยุดเรียนออนไลน์ให้ทบทวนบทเรียนเตรียมสอบ ฯลฯ มากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากคำสั่งของ รมว. ศึกษาธิการ ค่ะ
โดยนางสาวตรีนุช เทียนทอง รมว.ศธ. กล่าวว่า ได้ติดตามการเรียนออนไลน์ และเปิดรับฟังทุกความคิดเห็นจากนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามาโดยตลอด
เห็นว่า สถานศึกษาหลายแห่งยังไม่มีการปรับปรุงแผนการสอน มีการกำหนดตารางเรียนออนไลน์อัดแน่นถึงวันละ 9 วิชา จึงสั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษาเร่งปรับปรุงแผนการสอนโดยด่วน
การเรียน/ การบ้าน
เพื่อผ่อนคลายภาระด้านการเรียนที่เกินความจำเป็นของนักเรียนลง โดยกำหนดเป็นมาตรฐานกลาง "เรื่องที่ต้องรู้ และเรื่องที่ควรรู้" ในแต่ละสาขาวิชาให้เหลือเท่าที่จำเป็น
เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้ปฏิบัติมากขึ้น ลดวิชาการลง ลดเวลาเรียน ลดการบ้าน ชะลอ/ลด/งดกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องหรือมีการรวมกลุ่ม
การสอบ
ในส่วนของการทดสอบ เน้นการวัดผลจากสภาพจริง ปฏิบัติจริง และแฟ้มสะสมผลงาน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การประเมินผลระดับชาติ
นอกจากนี้ ยังได้หารือกับ ทปอ. เพิ่ม-ส่วน TCAS รอบ Portfolio และรอบโควตาให้มากขึ้น ไม่นำคะแนน O-NET มาใช้ และออกข้อสอบ GAT/PAT/วิชาสามัญ ให้เข้ากับหลักสูตรที่มีการปรับปรุงในช่วงโควิดนี้
รร. ใครเรียนน้อยลง การบ้านน้อยลงแล้ว หรือยังไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไร มาแชร์กันได้ค่ะ

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น

Prist 12 ก.ค. 64 เวลา 15:51 น. 1

คหสต. ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับวิธีการนี้ แต่มันอาจจะส่งผลแย่หน่อยในช่วง 2-3 ปีแรก เพราะต้องปรับตัว


1) ปัญหาทางคนสอน

"ปรับวิธีการสอน"... คงทำไม่ได้ง่าย ๆ

ถ้าแค่เปลี่ยนที่สอนจากห้องเรียนมาเป็นออนไลน์ (แต่วิธีการสอนก็สอนแบบเดิม) ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าเป็น การปรับการสอน ได้จริงรึเปล่า


2) การเรียนออนไลน์ใช้พลังงานสูงมาก

ครูต้องใช้จิตวิทยาในการดึงดูดความสนใจของเด็กให้มากกว่าเดิม และต้องรู้วิธี "การนำเสนอที่ดี" ..... หนึ่งในอาวุธที่ผมใช้ในการนำเสนอคือ เสนอ key concepts แล้วให้ผู้ฟังเอาไปประยุกต์ใช้เอาเอง ซึ่งแน่นอนว่ามันช่วยลดเนื้อหาและรายละเอียด แบบที่กระทรวงศึกษาธิการต้องการได้ แต่ว่ามันออกแบบมาสำหรับคนที่มีความรับผิดชอบ ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเอง ....ซึ่งไม่ใช่นักเรียนส่วนใหญ่


3) การสนับสนุน (ปลูกฝัง) จากทางฝั่งผู้ปกครองและความสามารถในการเข้าถึงสื่ออีก...

ผมคิดว่า ยังไง ๆ เรื่องความไม่เท่าเทียมเราไม่สามารถแก้ได้ในขอบเวลาที่จำกัด การตัดสินใจเลือกมาตรการใดมาตรการหนึ่งก็ต้องเปิดรับเสียงตำหนิจากฝั่งที่ไม่พอใจ


4) ข้อสอบหลายข้อหลายครั้งไม่ได้โฟกัสที่ key concepts แต่ลงลึกในรายละเอียด

ถ้าจะเปลี่ยนวิธีการสอน (ซึ่งทำได้ยากมาก) ต้องเปลี่ยนระบบใหญ่ด้วยนะ (ซึ่งก็ยากอีก)


แม้ผมจะไม่ใช่ครู แต่ด้วยความที่ผมชอบไปยุ่งเรื่องวิชาการและการสื่อสารบ่อย ๆ

ผมเห็นว่า ณ สถานการณ์นี้ความสามารถในการแข่งขันของโรงเรียน ค่อนข้างแพ้สื่อออนไลน์ที่ขายคอร์สตามเว็บต่าง ๆ (ในแง่วิธีการสอน) .... ถ้าไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องสำเร็จตามหลักสูตรนู่นนี่นั่น ผมว่าอยู่ยากเลยล่ะ

0