Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เศษเงินเยียวยา กับความไร้ค่าในการแก้ปัญหา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากการยกระดับมาตรการล็อคดาวน์เมื่อ อาทิตย์ก่อน ส่งผลให้ห้างร้านซึ่งเป็นธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กมีต้องจำใจปิดกิจการชั่วคราวตามมาตรการขอความร่วมมือของรัฐบาล ตลอดกลุ่ม 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงของการระบาด
การล็อคดาวน์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่เป็นครั้ง ที่ 3 ที่รัฐบาลมีมาตรการคุมเข้มในการ ปิดห้างสรรพสินค้า ปิดสถาณที่ประกอบกิจการที่มีความเสี่ยงที่จะสามารถแพร่เชื้อได้ ถ้านับจากการระบาดรอบแรกในปี 2563
มาตรการล็อคดาวน์ส่งผลให้ ธุรกิจจำนวนมาก เลือกที่จะปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนในการจ้างแรงงาน และธุรกิจบางประเภทปิดกิจการไปโดยอย่างไม่มีกำหนดเลยก็มี ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ สถานบันเทิง และ ธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม และ ธุรกิจการบิน และรวมไปถึงธุรกิจการรับเหมาก่อสร้างที่เป็นต้นเหตุให้เกิดการระบาดในครั้งหลัง
หลายชีวิตตกงาน บ้างก็กลับภูมิลำเนา แต่ที่ย่ำแย่ที่สุดคือไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าจนถึงขนาดออกมานอนตามข้างถนน เนื่องจากไม่มีที่ไปนับเป็นภาพที่หดหู่มากตามภาพสื่อต่างๆที่เห็นกันอยู่
ทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นี้ คือภาพสะท้อนที่อยากให้ทุกคนมองหาสิ่งที่เรียกว่า “มาตรการเยียวยาจากภาครัฐ”
ในการระบาดรอบแรก ในปี 2563 รัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ คือปิดห้างสรรพสินค้า ร้านตัดผม สถานบันเทิง รวมไปถึงกำหนดให้ร้านอาหารขายเฉพาะกลับบ้านและงดรับประทานอาหารในร้านแต่แล้วมาตรการดังกล่าวส่งผลให้ คนตกงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการลดปริมาณแรงงานให้สอดคล้องกับภาวะและการเลิกจ้างแรงงานของธุรกิจที่ต้องปิดตัวชั่วคราว ในเวลานั้นรัฐบาลจึงได้ออกโครงการ เราไม่ทิ้งกัน
หลังจากที่นโยบายดังกล่าวออกมา ก็มีปัญหาหลายอย่างตามมา เช่นระบบคัดกรองผู้รับเงิน หรือ AI คัดคนที่เดือดร้อนไม่จริงให้ได้รับเงิน ส่วนคนที่เดือดร้อนจริงๆกลับไม่ได้รับ และการคัดกรองที่ตกหล่นกับปัญหาทางเทคนิคอีกมากมายจนมีข่าวคนฆ่าตัวตาย เนื่องจากปัญหาการจัดการเงินเยียวยาดังกล่าวจำนวนมาก
ในเมื่อการระบาดในรอบแรกจบไป การระบาดระลอกที่ 2 ก็เกิดขึ้นแต่ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้หนักเท่ารอบแรกมาก แต่ก็มีการสั่งในการงดนั่งรับปรัทานอาหารในร้านจึงทำให้ ร้านจำพวกหมูกระทะ และร้านปิ้งย่างต่างๆได้รับผลกระทบ และล่าสุด หลังจากคลายล็อคดาวน์เมื่อต้นเดือนพฤษภาแต่การระบาดระรอกใหม่ระลอกที่สาม ทำให้หลายร้านอาหารที่เปิดให้นั่งรับประทานอาหารตั้งแต่กลางเดือนพฤษภา ต้องกลับมาปิดใหม่อีกครั้งตั้งแต่กลางเดือนมิถุนาจนถึงปัจจุบัน หลายร้านพนักงานทำงานไม่ถึงเดือน หลายร้านกำลังจะฟื้นแต่ก็ต้องล้มอีกครั้งเมื่อรัฐบาลมีคำสั่งฟ้าผ่าให้ต้องปฏิบัติภายในระยะเวลาเพียงแค่ 2-3 วัน
และล่าสุดคำสั่งยกระดับ การแก้ไขปัญหาโควิดเพราะผู้ติดเชื้อ ณ ปัจจุบันนี้ยอดทะลุกว่า 15,000 คน ทำให้หลายกิจกาใหญ่ๆต้องปิดเพิ่ม ธุรกิจใหญ่ปิดเพิ่ม แต่ พนักงานและแรงงานหล่ะ จะอยู่รอดไหม?
ล่าสุดมาตรการเยียวยาในการระบาดรอบที่ 3 คือ การที่ทุกคนจะต้องไปลงประกันสังคมในมาตรา 40 มาตรา 39 และมาตรา 33 ผ่านระบบพร้อมเพย์ธนาคารที่ผูกกับบัตรประชาชน เหมือนในการเยียวยาเหมือนเราม่ทิ้งกันในรอบแรก
จะเห็นได้ชัดว่า การเยียวยาของรัฐบาลนั้นมีปัญหาในการจัดการ และปัญหาด้านการดูแลของระบบกันสังคมภายใต้การควบคุมของกระทรวงแรงงานในรัฐบาลชุดนี้นั้นมีปัญหาอย่างรุนแรง ตั้งแต่มาตรการล็อคดาวน์ในรบแรง ที่แม้แต่แรงงานในระบบประกันสังคม ก็ยังปัญหาในการเบิกจ่ายเงินเยียวยา
ในยามนี้แม้ปัญหาจะถูกแก้ไขตามอัตภาพ แบบถูๆไถๆ หลายชีวิต ก็มีที่หลายปากหลายท้องทีท่ต้องดูแลไหนจะค่าใช้จ่ายส่วนตัวจิปาถะต่างๆนานา ด้วยสภาพความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเรื้อรังของสังคมนี้ ทำให้คนที่ตกงานจำนวนมากบางรายต้องไร้บ้านเพราะ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าซึ่งเป็นที่ซุกหหัวนอน ต้องออกมาใช้ชีวิตข้างถนน
ทางภาครัฐทั้ง กระทรวงแรงงาน ท่านรัฐมนตรี สุชาติ ชมกลิ่น และ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุษย์ ท่านรัฐมนตรี จุติ ไกรฤกษ์ พวท่านเหล่านี้คือกลุ่มบุคคลที่ต้องออกมา แอคชั่นและเป็นหัวเรือใหญ่ในการแก้ไขปัญหาดงกล่าว แต่ในปัจจุบันปัญหาเหล่านี้ก็เงียบ และความหวังของประชาชนในการบรรเทาและเยียวยาเรื่องควาเดือดร้อนก็ค่อยๆสิ้นหวังและรวยรินเหมือนลมหายใจของภาคธุรกิจขนาดเล็กที่ล้มตายไปพร้อมกับ Covid19

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

ใครหน่ะเก่งจัง 26 ก.ค. 64 เวลา 00:20 น. 1

ความคิดเด็กประถมมาก แค่นี้กู้กู้ใช้หนี้ระยะยาวมากแล้วยังเอาภาระมาเพื่มอีกหรอ

รัฐบาลดูแลทุกคนไหวหรอ ถ้าบอกไหวจะตบให้หายเอ่อเลย

ทุกคนในประเทศนี้มีหน้าที่ไม่ให้โรคระบาทแพร่กระจาย

ถ้าพูดถึงเดือดร้อนทุกคนในประเทศนี้เดือดร้อนกันทุกคน

หัวเรือใหญ่ที่พูดถึงก็คือตัวเอง หรือประชาชนทุกคน

การดูแลของรัฐมีปัญหาจริงแหละ ควรไปดูแลแต่พวกเสียภาษี ภดง.39 ที่ขับเคลื่อนเศษรกิจประเทศ แต่นี่อ่ะไรแจกเงินหมดแม้งก็เกลี้ยงคลังสิ พวกแม้งแจกข้าวแจอาหารก็พอแล้ว

ตกงานไม่เกียวกับภาครัฐ มันงานเอกชนเข้าใจปะ ประกันสังคมก็มี


มีสมองเยอะฯหน่อยนะฮวย

1
Jutafreedom 26 ก.ค. 64 เวลา 12:30 น. 1-1

แล้วภาครัฐต้องช่วยซัพพอร์ตไหม หล่ะ ตือไงตกงาน = ทางใครทางมันเหรอ

แล้วหมาตัวไหนออกนโยบายออกมาตรการหล่ะ เต็มใจหยุดเองเหรอ



0
มัณทนา [ถึงวันสิ้นโลกเพราะโควิด] 26 ก.ค. 64 เวลา 15:05 น. 2

เพื่อนเปิดร้านทำเล็บ แต่ต้องมาขาดรายได้และโดนสั่งปิด

เพราะโรคระบาดและความไร้ประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลนี่แหละ

แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือ แต่โดนตัดสิทธิ์

0