Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปัญหาไฟไหม้ หมิงตี้ กับปัญหาโลกร้อนมันเกี่ยวกัน?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากเหตุการณ์เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมิคอลในต้นเดือนที่ผ่านมาทำให้เกิดประเด็นมากมายที่สังคมตั้งคำถาม ทั้งการจัดการด้านการกู้ภัย และการรับมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรับผิดชอบระดับเทศบาล รวมไปถึงระดับชาติ แต่มีอีกประเด็นหนึ่งที่คนในสังคมกลับมองข้ามกับประเด็น ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาการจัดการขยะที่ ที่น่าสนใจมากว่า ทำไม ในประเทศไทยยังต้องนำเข้าขยะพลาสติก และยังผลิตพลาสติกจำนวนมหาศาลเหล่านี้

ย้อนกลับไปไม่กี่ปีทางภาครัฐได้ออกฎหมายห้ามนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศเนื่องจากทำให้ราคาขยะในประเทศ ราคาตกต่ำ อีกทั้งทำลายรายได้ของคนรายได้ต่ำของประเทศที่ยึดอาชีพเก็บขยะพลาสติกขาย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมต้องมีส่วนในการรับผิดชอบในการต่อใบอนุญาตในการนำเข้ากับโรงงานรีไซต์เคิลต่างๆ หลายคนอาจมองว่ากระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติมีส่วนรับผิดชอบ แต่ทำได้แค่การรณรงค์ เพราะมันเป็นเรื่องทางเทคนิคและกฎหมายที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีส่วนรับผิดชอบ 100% ถ้าทุกคนมองบริบทขยะโลก จะพบว่า ปริมาณขยะพลาสติกโลกที่มากมาย การสร้างอุปทานให้น้อยกว่าอุปสงค์ จะทำให้หลายประเทศระบายขยะส่วนเกินในประเทศเพื่อให้ราคาขยะในประเทศแพงขึ้นและไทยเราก็ได้รับผลกระทบพอสมควรจากความหละหลวมของรัฐ https://www.bbc.com/thai/thailand-54445023 ไม่ว่าจะขยะเล็กขยะน้อย มันก็คือขยะ ที่เป็รพิษ ขยะที่เกิดมาจากการผลิตที่มีการทำลายสิ่งแวดล้อม ขยะที่เกิดจากทรัพยาการการผลิตในการตอบสนองความต้องการของมนุษยชาติในการดำรงชีวิต และในการดำรงอยู่ของธุรกิจหลายๆประเทศ กลับมาที่กรณีของ หมิงตี้ที่ระเบิด เมื่อมีความต้องการด้านพลาสติก ไม่ว่าจะพลาสติกใช้แล้ว หรือเม็ดพลาสติกที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเป็นสิ่งของต่างๆ กระบวนการการผลิต ส่งผลต่อการสร้าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และสารพิษอื่นๆสู่ธรรมชาตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเกิดปัญหา ผลกระทบต่างๆ ก็ส่งผลโดยตรงต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ปริมาณสารเคมีที่ออกมาในเหตุดังกล่าวควบคุมยาก และอยู่ในสภาพแวดล้อมเป็นเวลาที่นานกว่าจะสูญสลายไปตามธรรมชาติ ถามว่าไทยเรารับมือได้มากน้อยแค่ไหน เท่าที่เห็นตอนนี้คือมีการรณรงค์จากทางกระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รณรงค์เรื่องคาร์บอนเครดิต หลายคนถามว่าคาร์บอนเครดิตคืออะไร ? คาร์บอนเครดิตโดยสรุปอย่างสั้นๆเลย คาร์บอนเครดิตคือการที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบการผลิตให้ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ให้น้อยที่สุด หรือถ้าไม่สามารถลดได้ ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อคาร์บอนเครดิตจากบริษัทอื่นที่มีการผลิตที่ใช้คาร์บอนจนเหลือส่วนต่างในการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ที่ปล่อยออกมาตามกฎหมายกำหนด เพื่ออะไร? หลายคนตั้งแง่ว่าทำไมเราไม่ออกกฎหมายมาเลยและบังคับใช้อย่างเข้มงวดหละ ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด คือการใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาถือเป็นการมองภาพในแนวดิ่งที่มีการมองภาพอย่างผิวเผินทำให้อาจมีช่องว่างทางกฎหมายอีกมากมายในอนาคตที่อาจสร้างปัญหาในอนาคต การสร้างคาร์บอนเครดิตคือการทำให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตค่อยๆปรับตัวและหาหนทางในการปรับตัวเพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้สึกกฎดัน และอีกทั้งการสร้างคาร์บอนเครดิตอาจเป็นธุรกิจสีเขียวในการซื้ออากาศหรือการลงทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อที่อาจเกิดการสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติกลับมาสมบูรณ์ https://www.facebook.com/TOPVarawut/posts/1292863717831564 หลายครั้งที่สังคมไทยมองข้ามเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มันไกลตัว เพราะเราไม่รู้สึกถึงอุณหภูมิโลกที่มันร้อนขึ้น แต่ถ้าเราติดตามข่าวต่างประเทศในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาเราจะเห็นเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในเยอรมัน ทั้งๆที่เป็นสิ่งที่เกิดได้ยากในประเทศที่มีการรักษาสภาพแวดล้อมและมีการรักษาสิ่งแวดล้อมดีอันดับต้นๆของโลก https://www.thaipost.net/main/detail/109976 แต่อย่าลืมว่าการที่ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์จากการที่ประเทศที่เป็นหนึ่งในประเทศที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีทรัพยากรณ์และยุทธศาสตร์ ในการผลิตที่สำคัญ เพราะฉะนั้นแล้วการที่มีคาร์บอนเครดิตจะเป็นตัวผลักดันที่เราจะสามารถเข้าสู่เวทีโลกด้านอุสาหกรรมอย่างไร้ข้อครหาด้านสิ่งแวดล้อมกับนานาชาติที่มีการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น ปัญหาหมิงตี้ ที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าเรามากางภาพในมุมกว้างเราจะไม่ได้เห็นปัญหาแค่ด้านการเมือง แต่เราจะเห็นปัญหาด้านจิตสำนึกและประเด็นอีกมากมายที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงและน้อยคนนักจะคิดถึงประเด็นดีชังที่กล่าวมาทั้งหมด

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Prist 1 ส.ค. 64 เวลา 19:20 น. 1

คหสต ผมคิดว่าเรื่องคาร์บอนเครดิตกับการจัดการขยะเป็นเรื่องดี

แต่ว่าทุกกระบวนการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ให้ประโยชน์ด้านนึง มันจะให้ผลเสียอีกด้านนึงเสมอ

และในบางครั้งเราอาจต้องยอมรับผลเสียเหล่านั้น เพื่อสนองความต้องการของสังคมส่วนรวม ผมจึงคิดว่าไม่แปลกที่การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นค่อนข้างช้า...

0