Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พายุในอดีตกับปัจจุบันของประเทศไทยแตกต่างกันไหมคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ไม่แน่ใจว่าสมัยก่อนเรายังเด็กเลยรู้สึกว่าพายุและน้ำท่วมมันไม่รุนแรงเท่าสมัยนี้ บ้านเราไม่เคยพายุก็โดนพายุแล้ว ที่บ้านไม่เคยน้ำท่วมก็น้ำท่วมแล้ว แถวชุมชนของเราลมไม่แรงก็ลมแรงแล้วถึงขั้นต้นไม้หักโค่น น้ำท่วมถนนหนทางที่รถเล็กสัญจรได้ก็น้ำท่วมเกือบถึงหลังคาบ้านแล้ว
ประเทศไทยสมัยก่อนเขาอยู่กันอย่างไรรับมือกันอย่างไรคะ และปัจจุบันเราต้องเตรียมตัวเตรียมพร้อมอะไรบ้างคะ
มีข้อสังเกตว่าตรงไหนแห้งแล้งฝนไม่ตกก็เป็นอยู่อย่างนั้น ตรงไหนฝนตกชุดน้ำท่วมก็เป็นอยู่อยู่อย่างนั้น ทำไมมันซ้ำๆอยู่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลงคะ
สภาพภูมิอากาศประเทศไทยพายุจะมาช่วงไหนและสิ้นสุดช่วงไหน ผลกระทบของแต่ละภาคเหมือนหรือต่างกันอย่างไรคะ
ภัยธรรมชาติสาเหตุจากอะไรและแก้ไขป้องกันหรือเราสามารถช่วยอะไรไม่ให้เกิดความสูญเสียได้ไหมคะ
พื้นการเกษตรเสียหาย บ้านเรือนเสียหาย ทรัพย์สินถูกทำลาย อุทกภัยทำให้มีผู้เสียชีวิต การอพยพมันลำบากมาก อาหารการกินการนอนการใช้ชีวิตมันไม่สะดวกเลยค่ะ 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Prist 23 ส.ค. 64 เวลา 14:10 น. 1

เราอาจเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติมากขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน

แต่ว่า... ความถี่ของภัยพิบัติทางธรรมชาติ (ที่กำลังเพิ่มขึ้น) ไม่สามารถตัดสินด้วยการสังเกตการณ์ในช่วงสั้น ๆ (<20 ปี) หรือภายในช่วงอายุของเรา...


ก่อนที่เราเกิด กทม ก็เคยประสบภัยพิบัติร้ายแรงมาหลายครั้ง จนมีโครงการต่าง ๆ (เช่น โครงการป้องกันน้ำท่วม) จากรัชสมัยก่อน ๆ มากมาย หรือวิถีชีวิตของคนสมัยเก่าที่สร้างบ้านยกใต้ถุนสูง เพื่อกันน้ำท่วม

___________________________


1) สภาพภูมิอากาศประเทศไทยพายุจะมาช่วงไหนและสิ้นสุดช่วงไหน

เราไม่สามารถพยากรณ์พายุล่วงหน้าในช่วงเวลานาน ๆ ได้ (อาจจะได้ภายในระยะเวลาที่เป็นสัปดาห์)... ยิ่งทิ้งช่วงพยากรณ์นานเท่าไหร่ โอกาสผิดจะยิ่งสูง

การเกิดพายุมันไม่ดีในมุมที่มันสร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งต่าง ๆ

แต่ดการที่จะไม่มีพายุเลย อันนั้นอันตรายกว่ามาก ๆ ครับ... เพราะมันแสดงถึงพลวัตรบนโลกเรากำลังเสียหาย... 


ดังนั้น การเกิดของพายุเป็นเรื่องธรรมชาติที่เราต้องเฝ้าระวัง


2) ผลกระทบของแต่ละภาคไม่เหมือนกัน

เช่น จังหวัดไหนที่เป็นเขาสูง โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมขังนาน ๆ ก็จะต่ำ (แต่อาจจะมีน้ำป่าไหลหลาก)

จังหวัดไหนที่เป็นที่ราบลุ่ม จังหวัดไหนอยู่ในหุบเขา จังหวัดไหนอยู่ริมทะเล ฯลฯ ก็จะเจอภัยพิบัติในรูปแบบที่แตกต่างออกไป

1