Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นวัตปะการังเทคโนโลยี 3D printing ช่วยการท่องเที่ยว และ อนุรักษ์ธรรมชาติและท้องทะเลสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
          นวัตปะการัง 3D printing ว่าคืออะไร สำหรับ นวัตปะการัง มันคือการทำปะการังเทียม ทดแทนปะการังเดิมที่ถูกทำลาย เพื่อเป็นการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ให้ท้องทะเลให้มีระบบนิเวศที่ดีมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำท่องเที่ยวได้อีกด้วย โดยเบื้องต้น  “นวัตปะการัง” เป็นนวัตกรรมปะการังเทียมรูปแบบใหม่ จากเทคโนโลยี 3D Printing มาจากแนวคิดของบริษัท SCG โดยการผลิตโดยต้นทุนเฉลี่ย 15,000 บาทต่อชิ้น ทดแทนปะการังเทียม ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในเวลาเพียง 1-2 ปี เพื่อเตรียมการต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรมประมงและการท่องเที่ยว เทคโนโลยี 3D Printing พัฒนาปะการังเทียมในชื่อ “นวัตปะการัง” ผ่านการศึกษาและมาแล้วว่าสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ฟื้นฟูธรรมชาติได้จริง และมีคุณสมบัติที่ดีกว่าปะการังแบบเก่าๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือในการพัฒนา ของ 3 หน่วยงาน แบ่งออกเป็น  ที่ช่วยทำให้เกิดขึ้นมาได้แก่
1. คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้พัฒนาต้นแบบปะการัง ทำการศึกษาและพัฒนาในทางวิชาการ
2.เอสซีจี โดยธุรกิจ Cement and Construction Solution พัฒนาชิ้นงานจริงด้วยเทคโนโลยี 3D Printing และดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่า
3.กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยท่านวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรี ได้นำ นวัตปะการังไปลงพื้นที่จริง และเป็นต้นแบบการพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมหลังจากที่ทดลองแล้วประสบความสำเร็จ
     ทั้งนี้ นวัตปะการังเทียม ได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย  โดย นายชนะ ภูมี     President – Cement and Construction Solution Business เอสซีจี ได้ทำการส่งมอบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังให้กับ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังและคืนความสมบูรณ์ให้ท้องทะเลไทย ในพิธีส่งมอบวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังให้กับเครือข่ายชุมชนในพื้นที่อุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเล เขาหลัก จังหวัดพังงา จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่ต่อยอดมาจากการลงนามความร่วมมือที่เอสซีจีได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นและพัฒนาวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการังด้วยนวัตกรรม 3D Printing Solution 
     จนเมื่อวันที่  (26 ก.พ.) ที่ผ่านมา  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) นำทีมผู้บริหาร ทส. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยเหลือแก้ปัญหาสำคัญเร่งด่วนให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จ.พังงา พร้อมเป็นประธานมอบปะการังเทียมให้กับเครือข่ายชุมชน จ.พังงา เพื่อสนับสนุนงานฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล รวมทั้งได้นำปะการัง 3D Cement Printing จัดวางใต้ท้องทะเล เป็นเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลและเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำใน จ.พังงา ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักงานแนวคิดที่วางไว้ว่า “ปะการังเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหว อ่อนแอ ต้องการสภาพแวดล้อมที่เฉพาะเหมาะสม การดูแลปะการังไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก หากเข้าใจในธรรมชาติของปะการังชุมชน คือ กำลังเสริมที่สำคัญของธรรมชาติ ที่จะช่วยปกป้องดูแลปะการังให้คงอยู่อย่างยั่งยืน” สำหรับความมือครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่มีความกลมกลืนเสมือนจริงใกล้เคียงกับธรรมชาติ จัดวางในพื้นที่เขาหลัก จ.พังงา นอกจากนี้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ได้มีแนวนโยบายให้กรมฯ ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีความพร้อมและมีแนวคิดในการอนุรักษ์ฟื้นฟูปะการัง ร่วมศึกษาและดำเนินงานในพื้นที่อื่น ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามันต่อไปอีกภายภาคหน้า 
         นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังกล่าวว่า “จากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จังหวัดพังงามีพื้นที่แนวปะการังประมาณ 26,126 ไร่ สภาพแนวปะการังส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย ทั้งจากกิจกรรมของมนุษย์และโดยธรรมชาติเอง จึงตั้งใจมาลงพื้นที่ ที่เขาหลัก จังหวัดพังงา เพื่อสำรวจและติดตามแหล่งปะการังธรรมชาติและจุดจัดวางปะการังเทียม คืนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศปะการังใต้ท้องทะเล หวังผลในการเพิ่มศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล โดยเฉพาะการเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำระดับโลก สร้างรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเล ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งต้องขอบคุณทุกภาคส่วนทั้งหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชนอย่างเอสซีจี และภาคประชาชนที่มาร่วมมือกันในการฟื้นฟูแนวปะการังในครั้งนี้ และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือในอนาคตต่อไป”  สำหรับการพัฒนานวัตกรรมปะการังจัดวางฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง จากเทคโนโลยี 3D Printing ฟื้นฟูแนวปะการังชายฝั่งเลียนแบบรูปร่างและโครงสร้างของปะการังจริงตามธรรมชาติ จากเดิมที่เรามักจะใช้ซากรถยนต์ ซากรถไฟ ซากเรือเก่า ฯลฯ ซึ่งต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี กว่าที่โครงสร้างแข็งเหล่านี้จะเข้ากับธรรมชาติ จนปะการังสามารถลงเกาะเจริญเติบโตอย่างเห็นผล แต่การเปลี่ยนมาใช้ ปะการัง 3D Printing ที่มีรูปร่างเหมือนของจริงมากที่สุด แม้จะมีต้นทุนการผลิตที่ชิ้นละ ราวๆ 15,000 บาท แต่สามารถลดระยะเวลาฟื้นตัวของแนวปะการัง เหลือแค่ 1-2 ปีเท่านั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำนวัตปะการังไปลงพื้นที่จริง เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม หลังจากที่ทดลองแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งพวกเราจะติดตาม เก็บข้อมูล เพื่อศึกษาวิจัย และขยายการใช้ นวัตปะการัง ในการฟื้นฟูท้องทะเลไทยให้ทั่วทั้งแนวชายฝั่งต่อไปในอนาคต 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น