Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขุดคลองช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ใช่ไหมคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
การขุดคลองหรือขยายคลองและเชื่อมคลอง สามารถแก้ปัญหาปัญหาน้ำท่วมได้อย่างไรคะ 
เส้นทางพายุและแผ่นดินไหวคล้ายกันที่ว่าเกิดตรงไหนก็เป็นตรงนั้นอยู่ซ้ำเหรอคะ
แล้วบริเวรน้ำท่วมซ้ำซากมันท่วมอยู่อย่างนั้น ที่ไหนแห้งแล้งก็ฝนไม่ตกอยู่อย่างนั้น เป็นเพราะอะไรคะ
แสดงว่ามนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติและต้องพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือจัดการผลกระทบจากภัยพิบัติกันให้ได้ แต่จากข่าวสารดูมันรุนแรงขึ้นตลอดเลยนะคะ

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Prist 24 ส.ค. 64 เวลา 13:54 น. 1

55555 เป็นคำถามที่ดีครับ

ต่อไปนี้คือ คหสต...ของผม


1) ขุดคลอง ขยายคลองช่วยเรื่องน้ำท่วมได้ โดยการรองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้น

ตัวอย่างเช่น

ถ้าฝนตกแล้วเราเอาขันมารองฝน แปปเดียวน้ำก็จะเอ่อล้นออกจากขัน

แต่ถ้าเราขยายขันเป็นโอ่ง (ปริมาตรเพิ่มขึ้น) โอกาสที่จะเอ่อล้นก็น้อยลง

_______________________

2) เส้นทางพายุและแผ่นดินไหว เป็นเรื่องของสถิติและกายภาพ...

เขามีการคาดการณ์ไว้ว่า... "พื้นที่ตรงนี้ มีโอกาสเกิดภัยพิบัติมากกว่าบริเวณอื่น จงควรลงมือลงทุนจัดการ และเฝ้าระวังเป็นพิเศษ" แต่ไม่ใช่ว่าบริเวณอื่นจะเกิดไม่ได้...


อย่างไรก็ดี เราคงไม่ไปขุดคลองในพื้นที่ที่แห้งแล้งบ่อย ๆ ถูกไหมครับ (แม้มันจะมีโอกาสถูกน้ำท่วม)... เราสู้ไปขุดคลองในที่ที่มีน้ำท่วมบ่อย ๆ ดีกว่า


สมมติว่าแก้ไขปัญหาแล้ว น้ำไม่ท่วมแล้ว // บางทีเราอาจจะมองว่า เออ ก็น้ำมันไม่ท่วมแล้ว ขุดคลองไปทำไมกัน

_______________________

2.1) การทำการอะไรสักอย่าง มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

พื้นที่ที่เป็นที่ระบายน้ำ ถ้าทิ้งไว้แบบนั้นเฉย ๆ มันก็จะพัฒนาอะไรต่อไม่ได้ ในขณะที่โลกของเรากำลังพัฒนาไปต่อเรื่อย ๆ // ผู้บริหารบางคนจึงเปลี่ยนพื้นที่บางแห่ง เพื่อใช้พัฒนาอย่างอื่นแทน (ประสิทธิภาพการกัดน้ำท่วมก็จะลดลง แลกกับความเจริญทางด้านอื่น)


2.2) พื้นที่น้ำท่วมหรือแล้งมาก ๆ บางที่แต่เดิมไม่มีคนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน

แต่พอมีการขยายตัวของประชากร มีคนเข้าไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเจอปัญหาได้


2.3) พื้นที่บางแห่งมีปัญหาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่แค่เราไม่รู้

ยุคสมัยนี้ทำให้เราเข้าถึงสื่อมากขึ้น และเสพมากขึ้น เราจึงรู้มากขึ้น

_______________________

3) คนไทยเมื่อก่อนเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับภัยพิบัติ ในระดับครัวเรือน... แต่ละบ้านมีเรือ มีการยกใต้ถุนสูง


ปัจจุบันเรารับวัฒนธรรมจาก ตปท เขามามาก.... การจัดการน้ำก็เปลี่ยนไปจากระดับครัวเรือนเป็นระดับที่ใหญ่ขึ้น เช่น มีเขื่อน มีโครงการนู้นนี่นั่น และบ้านก็เป็นแบบติดดินมากขึ้น... แน่นอนว่าถ้าเกิดความผิดพลาด ความเสียหายก็จะมากขึ้น

_______________________

4) การพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือ.... เป็นข้อจำกัดของไทย

ทั้งเรื่องนวัตกรรม เรื่องประสิทธิภาพ (อาจจะมีเรื่องภายในด้วย) เรื่องการประเมินผลกระทบ (เช่น EIA, EHIA)

1