Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การฝึกเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ก่อนที่เราจะไปฝึกเล่นกีฬาเซปักตะกร้อนั้น เราควรรู้จักกฎกติกาของกีฬาชนิดนี้ก่อน 
          ก่อนอื่นเรามาดูกติกาก่อนว่ามีอะไรบ้าง
1.ผู้เล่น
ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ
     2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม
     2.2 หน้าซ้าย
     2.3 หน้าขวา
3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
ในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า 3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้
4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย
มีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน
5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟ
เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
6. การเปลี่ยนส่ง
ให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้
7. การขอเวลานอก
ขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที
8. การนับคะแนน
การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
ต่อไปเราจะมาดูการปฏิบัติที่ไม่ควรทำหรือการกระทำที่ผิดกฎกติกาของเซปักตะกร้อ
                       การผิดกติกา (FAULTS)
           
 1.ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟระหว่างการเสิร์ฟ
 2.ภายหลังจากที่ผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ผู้เล่นหน้าที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดกับลูกตะกร้อ เช่น โยนลูกเล่น, เคาะลูกเล่น, โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคนหนึ่ง เป็นต้น
 3.ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้นหรือวางเท้านอกเส้น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะตาข่ายขณะโยนลูก
 4.ผู้เสิร์ฟกระโดดเสิร์ฟในขณะเตะส่งลูก หรือเท้าหลักที่แตะพื้นเหยียบเส้นวงกลมก่อนและระหว่างการส่งลูก
 5.ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่ผู้โยน โยนไปให้เพื่อการเสิร์ฟ
 6.ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นคนอื่นภายในทีมก่อนข้ามไปยังพื้นที่ของฝ่ายตรงข้าม
 7.ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ตกลงนอกเขตสนาม
 8.ลูกตะกร้อไม่ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
 9.ผู้เล่นใช้มือข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้าง หรือส่วนอื่นของแขนเพื่อช่วยในการเตะลูก แม้มือหรือแขนไม่ได้แตะลูกตะกร้อโดยตรง แต่แตะหรือสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขณะกระทำดังกล่าว
 10. ผู้ส่งลูกโยนลูกตะกร้อก่อนที่กรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนเป็นครั้งที่สอง หรือกระทำบ่อย ๆ ในการแข่งขัน
 11.ฝ่ายเสิร์ฟและฝ่ายรับในระหว่างการเสิร์ฟ
 12.กระทำการในลักษณะทำให้เสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือตะโกนไปยังฝ่ายตรงข้าม
 13.สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่ายระหว่างการแข่งขัน
 14.เหยียบเส้นแบ่งครึ่งสนาม ยกเว้นการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Follow Through) ภายหลังการรุก หรือการป้องกัน
 15.ผู้เล่นที่สัมผัสลูกตะกร้อในแดนของฝ่ายตรงข้าม
 16.ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นล้ำไปในแดนของคู่แข่งขันไม่ว่าจะเป็นด้านบน หรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการเคลื่อนไหวต่อเนื่อง (Follow Through)
 17. เล่นลูกเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน
 18.ลูกตะกร้อสัมผัสแขน
 19.หยุดลูกหรือยึดลูกตะกร้อไว้ใต้แขน หรือระหว่างขาหรือร่างกาย
 20.ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นหรืออุปกรณ์ เช่น รองเท้า, เสื้อ, ผ้าพันศีรษะแตะตาข่าย หรือเสาตาข่าย หรือเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม
 21.ลูกตะกร้อถูกเพดาน, หลังคา หรือผนัง หรือวัตถุสิ่งใด
 22.ผู้เล่นคนใดที่ใช้อุปกรณ์ภายนอกเพื่อช่วยในการเตะ
ต่อไปเราจะมาฝึกการวอร์มร่างกายหรือการอบอุ่นร่างกายก่อนจะฝึกกับลูกตะกร้อเพื่อลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเป็นการลดการเป็นตะคริวระหว่างการเล่นด้วย
ท่ากายบริหารกล้ามเนื้อเพื่ออบอุ่นร่างกาย
       
       1. วิ่งเหยาะ ๆ ประมาณ 10-15 นาที
       2. วิ่งเร็ว 50 เมตร
       3. วิ่งซิกแซก 10 เมตร ให้ทำอย่างเร็ว
       4. กระโดดเข่าตีหน้าอก 10 ครั้งติดต่อกัน
       5. กระโดดข้ามหลังเพื่อน แล้วลอดใต้ขา 10-20 ครั้ง
       6. กระโดดแอ่นหลัง โดยกระโดดให้สูง ทำติดต่อกัน 10 ครั้ง
       7. เตะขาให้สูง เท้าเหยียดตรง เตะสลับกัน ซ้าย 
20 ครั้ง ขวา 20 ครั้ง
       8. ทำ Sit-Up 10-20 ครั้ง
       9. ทำ Push – Up 10-20 ครั้ง
      10. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อทุกส่วนของข้อต่อเช่น ข้อศอก หัวไหล่ ขา สะโพก คอ ข้อเท้า ข้อมือ 
โดยยืดเหยียดออกให้สุดการเคลื่อนไหว
ข้อแนะนำในการอบอุ่นร่างกาย
      
        1. การอบอุ่นร่างกายเป็นการเพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย และเพิ่มการ
            หายใจอย่างช้าๆ การอบอุ่นที่ได้ผลดีร่างกายจะต้องมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น มีเหงื่อออก 
        2. การอบอุ่นร่างกายที่ดีจะต้องมีการเคลื่อนไหวของข้อ โดยเฉพาะข้อที่ใช้ในการออกกำลัง เช่น ข้อเท้า ข้อเข่า         
        3. ยืดกล้ามเนื้อที่ใช้ในการออกกำลังกายข้อแนะนำในการยืดกล้ามเนื้อ 
        4. การยืดกล้ามเนื้อควรจะทำหลังจากการอบอุ่นร่างกายแล้ว 
        5. การยืดกล้ามเนื้อควรยืดเฉพาะกล้ามเนื้อที่ใช้เท่านั้น และไม่ควรมากไป เพราะจะทำให้หัว ใจเต้นลดลง
        6. ควรจะเลือกท่ายืนเป็นหลักเพราะจะทำได้เร็ว
ต่อไปเราจะมาเข้าสู่การฝึกเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ
ทีละสเต็ป โดยที่เราจะฝึกกันสเต็ปแรกจะเป็นการฝึกเดาะลูกด้วยข้างเท้าด้านใน เรามาดูวิธีการฝึกกันเลย
1. ผู้เล่นเตรียมรับลูกที่ลอยมา โดยยืนทรงตัวแยกขาทั้งสองข้างย่อตัวลงเล็กน้อยตามองตรงไปยังลูกตะกร้อ ยกเท้าที่จะเตะให้ข้างเท้าด้านในขนานกับพื้นแล้วเตะลูกเป็นแนวตรงและเอนตัว ไปด้านหลัง (ดังรูปที่ 1 - 2)  
2. เมื่อลูกที่เตะลอยขึ้น ผู้เล่นย่อเข่าข้างที่ไม่ได้เตะ ให้เท้าที่จะใช้เตะอยู่ด้านหลังเหวี่ยงเท้าข้างที่จะเตะสัมผัสลูกด้วยข้าง เท้าด้านในเพื่อส่งลูกไปตามทิศทางที่ต้องการ 
     แนะนำให้ฝึกการเดาะลูกด้วยหลังเท้าด้านในให้ชำนาญอย่างมากก่อนค่อยมาฝึกด้วยขั้นตอนต่อไป
             ต้องชำนาญก่อนเท่านั้น นี่คือคำเตือน!!!
ตัวอย่างท่าการอบอุ่นร่างกายเพื่อลดอาการบาดเจ็บ
ตัวอย่างการเดาะตะกร้อด้วยข้างเท้าด้านใน  

หลังจากที่เราชำนาญในการเดาะขั้นพื้นฐานไปแล้ว ต่อไปเราจะมาเพิ่งสกิลการเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า เข่า 
และศรีษะ

การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า
            การเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า หมายถึง การเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า เบาๆ ซ้ำกันหลายๆครั้ง เป็นการเตะเพื่อบังคับลูกให้อยู่ใกล้ตัวในระดับสูงเกินสะเอว หลักการฝึกเช่นเดียวกับการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีหลักการเตะตะกร้อด้วยหลังเท้า ดังนี้
1. การเดาะลูกด้วยหลังเท้า ปลายเท้าที่เดาะลูกจะกระดกขึ้น และลูกตะกร้อจะถูกหลังเท้าค่อนไปทางปลายเท้าบริเวณโคนนิ้วเท้าทั้งห้า ใช้ปลายเท้าตวัดลูกตะกร้อให้ลอยขึ้นมาตรง ๆ
2. ยกเท้าที่เดาะลูกให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ขณะที่เดาะลูกควรก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
4. ควรฝึกเดาะลูกตะกร้อด้วยหลังเท้าให้ได้ทั้งสอง 

การเดาะตะกร้อด้วยเข่า
         ยืนในท่าเตรียมพร้อม มือถือลูกตะกร้อโยนแล้วเดาะด้วยเข่าข้างถนัดต่อเนื่องกันจนกว่าลูกตะกร้อจะ ตกพื้น แล้วหยิบลูกตะกร้อขึ้นมาเดาะใหม่ ปฏิบัติเหมือนเดิมหลาย ๆ ครั้ง เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การเดาะด้วยเข่าข้างที่ถนัดดีแล้ว ให้เปลี่ยนเดาะด้วยเข่าข้างที่ไม่ถนัดบ้าง หรืออาจจะสลับการเดาะด้วยเข่าทั้งสองข้างก็ได้


การเล่นตะกร้อด้วยศีรษะ
       เป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญสำหรับการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในการเปิดลูกเสิร์ฟ การรุกด้วยศีรษะ 
( การโขก ) การรับ การส่ง การชงลูก หรือการตั้งลูกตะกร้อ และการสกัดกั้นหรือการบล็อกลูกจากการรุกของฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นจะต้องฝึกหัดการเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้หลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะผู้เล่นตำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องเล่นตะกร้อด้วยศีรษะได้เป็นอย่างดี 

จะฝากอีกเรื่องคือต้องฝึกวิ่งให้ได้เยอะๆเพราะขั้นตอนต่อไปจะเป็นการหัดฟาดตะกร้อ(ตัวทำ)จะเป็นการใช้กำลังของขาเป็นอย่างมาก การฝึกวิ่งเยอะๆจะเป็นการทำให้การฝึกขั้นต่อไปนั้นง่ายขึ้น


ตัวอย่างการเดาะตะกร้อด้วยหลังเท้า


ตัวอย่างการเดาะตะกร้อด้วยศรีษะ


ตัวอย่างการเดาะตะกร้อด้วยเข่า


ทีนี้เรามาฝึกขั้นตอนสุดท้ายแล้วนะครับ การฝึกต่อไปนี้จะมีการฟาด,ซันแบ็ก และการบล็อกลูกเตะ

เรามาเริ่มจากการฝึกซันแบ็กก่อนเลย ซึ่งเป็นการทำที่ง่ายที่สุดของการเตะ เราจะมาดูวิธีการฝึกเลยนะครับ
เริ่มจากหันหลังชิดตาข่าย กระโดดพร้อมกับเตะขาข้างที่ไม่ถนัดขึ้นให้สูงที่สุดเพื่อทำให้ตัวลอยขึ้นจากพื้น หลังจากนั้นให้เหวี่ยงขาที่จะใช้ฟาดลูกสลับขึ้นมาตรงๆตัวเพื่อเตะลูก และใช้ต้นขาเพื่อบังคับทิศทางว่าจะไปในทิศทางใดก็ได้ที่เราต้องการ  นั่นแหละครับการซันแบ็กง่ายๆ

ต่อไปเรามาฝึกท่าที่ยากขึ้นคือการฟาดตะกร้อนั่นเอง
เริ่มฝึกแบบนี้ครับ เท้าซ้ายขึ้นก่อนและเท้าขวาขึ้นตามแต่ต้องให้เท้าขวาลงพื้นก่อนเท้าซ้ายให้ได้ เริ่มจากยกเท้าซ้ายขึ้นก่อนจากนั้นก็ยกเท้าขวาตาม เหวี่ยงอ้อมเท้าซ้ายพร้อมกับบิดตัว คือเอาเท้าขวาเหวี่ยงอ้อมเท้าซ้ายไปลงอีกฟากพร้อมกับบิดลำตัวให้ขนานกับพื้นตอนเหวี่ยง แรกๆเหวี่ยงต่ำๆก่อนครับ ฝึกไปเรื่อยๆมันจะสูงขึ้นเรื่อยๆเอง (กรณีคนถนัดเท้าขวา) 
หรือจะฝึกแบบนี้ก็ได้ ลองฝึกกระโดดม้วนตัวบนเบาะก่อนครับ(ต้องอย่ากลัว) ถ้าม้วนตัวได้แล้ว ลองเอาตะกร้อแขวนแล้วโดดฟาดดู  แต่ใจนายต้องถึงมากๆนะ

ต่อไปเป็นการบล็อกลูกเตะของฝ่ายตรงข้าม
 คือ การกระโดดขึ้นบล๊อกตรง ๆ หรือ เอียงตัว โดยใช้บริเวณส่วนของแผ่นหลังสกัดกั้นการรุกของคู่แข่งขัน การบล๊อกด้วยหลังนิยมเล่นกัน 2 แบบ คือ การขึ้นบล๊อกแบบตัวตรง และการขึ้นบล็อกแบบตัวเอียง โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
 
        1 การสกัดกั้นหรือการบล๊อกด้วยหลังแบบตัวตรง
        2 ยืนหันหลังเข้าหาตาข่าย แต่อย่าให้ชิดตาข่ายมากเกินไป
        3 กระโดดลอยตัวด้วยเท้าทั้งสองข้างให้แผ่นหลังอยู่สูงเหนือตาข่าย
        4 เก็บแขนทั้งสองข้างให้ดี หรือกางออกด้านข้างเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว
        5 ฝึกเคลื่อนตัวไปทั้งด้ายซ้ายและขวา โดยสไลด์เท้า 2 – 3 ก้าว แล้วกระโดดขึ้นบล๊อกตลอดแนวตาข่าย

ตัวอย่างการฟาดตะกร้อ


ตัวอย่างการซันแบ็ก


ตัวอย่างการบล็อกลูกเตะ

แสดงความคิดเห็น

>