Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขยะพลาสติก กับความเปลี่ยนผันของโลก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ทั่วพื้นที่อันกว้างขวางในรัฐนิวยอร์ก รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐเพนซิลเวเนีย และรัฐคอนเนคติคัต ชาวบ้านต้องใช้เวลาทั้งวันจัดการกับน้ำที่ท่วมขังห้องใต้ดิน รับมือกับไฟฟ้าดับ หลังคาได้รับความเสียหาย รวมถึงสายโทรศัพท์ร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวที่ติดค้างท่ามกลางอุทกภัย

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คนในเมืองนิวยอร์กซิตี 3 คนในเวสต์เชสเตอร์เคาน์ตี ที่อยู่แถบชานเมือง ขณะเดียวกัน ฟิล เมอร์ฟีย์ ผู้ว่าการรัฐนิวเจอร์ซีย์เขียนบนทวิตเตอร์ มีผู้เสียชีวิตภายในรัฐท่ามกลางพายุรุนแรงอย่างน้อย 23 คน

ท้องถนนสายต่างๆ แปรเปลี่ยนเป็นทางน้ำไหลเชี่ยวกรากภายในเวลาไม่กี่นาที หลังห่าฝนเทกระหน่ำลงมาในคืนวันพุธ (1 ก.ย.) ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ขับขี่หลายคนติดค้างอยู่ภายในรถ และพบเห็นยานพาหนะจำนวนมากถูกทิ้งไว้บนถนนในวันพฤหัสบดี (2 ก.ย.) ขณะที่เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่าในเมืองโซเมอร์เซ็ต รัฐนิวเจอร์ซีย์ มีผู้ขับขี่เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย

ศูนย์พยากรณ์อากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ยืนยันว่าเกิดพายุทอร์นาโดความรุนแรงระดับขุดรากถอนโคนต้นไม้ 2 ลูก ซัดเล่นงานแมริแลนด์ในวันพุธ (1 ก.ย.) ลูกหนึ่งเกิดในแอนนาโปลิส ส่วนอีกลูกเกิดที่บัลติมอร์ ขณะเดียวกัน มีรายงานวัยรุ่นชายวัย 19 ปีคนหนึ่งเสียชีวิต หลังพยายามช่วยเหลือแม่ออกจากห้องอพาร์ตเมนต์ที่ถูกน้ำท่วมในเมืองค็อควิลล์ รัฐแมริแลนด์ ตามรายงานของวอชิงตันโพสต์
ปัญหาที่โลกทั้งโลกประสบอยู่นี้คือ ปัญหาโลกร้อนจากปัญหาต่างๆที่เกิดจากปัญหาและหนึ่งปัญหาคือ ปัญหาจากขยะพลาสติก “ขยะพลาสติกในทะเล” อาจจะเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ไม่น้อยให้กับมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านความสะดวกสบาย แต่ “พลาสติก” นั้นมีผลเสียเป็นอย่างมากกับสภาพแวดล้อม


โดยเฉพาะการเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งในทุกๆ ปี โลกของเรามีการใช้ถุงพลาสติกประมาณ 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งต้องใช้เวลาในการย่อยสลายกว่า 1,000 ปี โดยสาเหตุที่การใช้ถุงพลาสติกนั้นเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเมื่อเรามีการใช้ถุงพลาสติก เราต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นทั้งจากการผลิต และการทำลายถุงพลาสติก
เนื่องจากหากไม่ทำลายถุงพลาสติกส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 450 ปี

อีกปัญหาที่ใหญ่มากจากการใช้พลาสติกก็คือ ขยะพลาสติกในท้องทะเล ซึ่งปัญหานี้เรียกได้ว่าทวีปเอเชียเป็นต้นเหตุสำคัญ เพราะปริมาณขยะพลาสติกในท้องทะเลทั่วโลก 81% มาจากเอเชีย ในขณะที่มาจากทวีปแอฟริกา 7.99% ทวีปอเมริกาใต้ 5.51% ทวีปอเมริกาเหนือ 4.5% และยุโรปอีกประมาณ 0.6%
โดยประเทศที่มีสัดส่วนการทิ้ง ขยะพลาสติกในทะเล มากที่สุดในโลก คือ ฟิลิปปินส์ 36.38% อินเดีย 12.92% มาเลเซีย 7.46% จีน 7.22% อินโดนีเซีย 5.75% ซึ่ง 5 ประเทศนี้มีประมาณการทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากถึง 69.73% ของทั้งโลก โดยมีการค้นพบแพขยะขนาดใหญ่แห่งแปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) เมื่อปี 1997 เกิดจากขยะทะเลที่ถูกพัดไปรวมกันตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาไปจนถึงญี่ปุ่น ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ

แพขยะนี้มีเศษขยะพลาสติกอยู่ประมาณ 1.8 ล้านล้านชิ้น น้ำหนักประมาณ 79,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติกขนาดเล็ก(Microplastics) ประมาณ 1.73 ล้านล้านชิ้น หรือประมาณ 96% ซึ่งขยะประเภทนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และต่อสัตว์ต่างๆ ที่กินเข้าไป
ด้านประเทศไทยนั้นเคยติดอันดับ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุด แต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกลงได้ถึง 25,284 ล้านใบ หรือราว 228,820 ตันต่อปี จากการสร้างจิตสำนึก มาตรการของรัฐ และความร่วมมือจากประชาชน ทำให้อันดับการทิ้งขยะลงสู่ทะเลขอไทยขยับมาอยู่ในอันดับที่ 10 โดยขยะทางทะเลของไทยนั้นมีสัดส่วนเป็น ขวดพลาสติกประมาณ 22% ถุงพลาสติกประมาณ 19.42%

จากการที่หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการควบคุมปริมาณการผลิตและการใช้ถุงพลาสติกมากขึ้น จากรายงานขององค์การสหประชาชาติและรายงานของสื่อหลายฉบับระบุว่า 77 ประเทศทั่วโลก ได้ผ่านกฎหมายการห้ามใช้ถุงพลาสติกทั้งหมดหรือบางส่วน แม้ว่าการห้ามใช้ถุงพลาสติกจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษในทวีปแอฟริกา แต่ประเทศส่วนใหญ่ 32 ประเทศ ที่เลือกจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม (หรือภาษี) เพื่อจำกัดการใช้ถุงพลาสติกแทนนั้นตั้งกลับอยู่ในทวีปยุโรป
สำหรับไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนออนุมัติแผนลด-เลิกผลิตขยะพลาสติก พร้อมเตรียมประกาศห้ามใช้พลาสติก 4 ชนิด ได้แก่ โฟม ถุงหิ้ว

แก้ว และหลอดพลาสติก แบบเด็ดขาดในปี 2568 รวมถึงตั้งเป้าให้พลาสติกอีก 7 ชนิด เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50% ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบหนา บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว ขวดพลาสติกทุกชนิด ฝาขวด แก้วพลาสติก ถาดและกล่องอาหาร ช้อน ส้อม และมีดพลาสติก
ทั้งหมดนี้จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ตัวเรา หรือประเทศของเรา แต่เป็นปัญหาที่คนทั้งโลกต้องร่วมมือกันแก้ไข
ล่าสุดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ผลักดัน กฎหมายยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง

โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ประเภท ที่พวกเราเคยผลักดันการยกเลิกใช้ ตามกรอบ Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 กำลังหารือแนวทางการพัฒนากฎหมายยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกครั้งนึง ตั้งเป้าให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 2565
โดยพลาสติกที่ประเทศไทยต้องยกเลิกการผลิต-จำหน่าย-ใช้งาน ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่

- ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง น้อยกว่า 36 ไมครอน
- แก้วพลาสติก แบบบาง น้อยกว่า 100 ไมครอน
- หลอดพลาสติก
- กล่องโฟมบรรจุอาหาร

พร้อมตั้งเป้านำขยะพลาสติก กลับมาใช้ประโยชน์ 100% ภายในปี 2570 เดินหน้าขับเคลื่อนประเทศด้วยแผนเศรษฐกิจสีเขียหรือ คาร์บอนเครดิต ที่เป็นการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรณ์ธรรมชาติ ที่ถูกทำลายให้สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ จากการกำจัดขยะพลาสติกออกจากระบบนิเวศน์ อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาโดยตรงต่อปัญหาภัยพิบัติโลกที่เรากำลังเผชิญอยู่

https://mgronline.com/around/detail/9640000087149
https://topnewsfocus.com/news/%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5-%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%82%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a2/
https://www.facebook.com/TOPVarawut/photos/a.674770099640932/1321441268307142/

แสดงความคิดเห็น

>