Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประชารัฐประชาร้าว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

บทวิเคราะห์ : การกระชับอำนาจใน พลังประชารัฐ
ความขัดแย้งภายในพรรคพลังประชารัฐ ถือเป็นข่าวที่คอการเมืองให้ความสนใจมาตลอดระยะเวลาร่วมเดือนนับตั้งแต่ศึกการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่าง 3 พี่น้อง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งสื่อมวลชนนั้นเทน้ำหนักความขัดแย้งไปที่ พล.อ.ประวิตร ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ กับ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเป็นสำคัญ
แม้ว่าล่าสุด พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.ประยุทธ์ น้องรักจะออกมายืนยันต่อหน้าสื่อหลายครั้งว่าไม่มีความขัดแย้ง และยังรักกันเสมอ 3 ป จะรักกันจนกว่าจะตายจากกัน ซึ่งในความเป็นจริงก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับความจริงว่าแม้ความรักความสัมพันธ์ของทั้ง 3 คนจะเหมือนเดิม แต่ความสัมพันธ์ภายในพรรคพลังประชารัฐคงจะไม่เหมือนเดิมแน่ๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาธิการพรรค ถึงขั้นที่ ร.อ.ธรรมนัส ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี รวมไปถึงบรรดา ส.ส.พลังประชารัฐ
ยิ่งมองไปที่ผลการลงมติไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา สถานการณ์ทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ยิ่งชัดเจนว่ามีปัญหา เพราะมีจำนวน ส.ส.กดไว้วางใจเพียง 264 เสียง ไม่ไว้วางใจมากถึง 208 เสียง ซึ่งแม้ว่าจะเอาตัวรอดมาได้ แต่ก็มีคะแนนไม่ไว้วางใจสูงที่สุดในบรรดาคณะรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย แถมคะแนนยังแย่ยิ่งกว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ที่ผลงานถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเสียอีก
แน่นอนว่าผลงานการบริหารราชการของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีเอง ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบไม่แพ้กัน ทั้งเรื่องการจัดการปัญหาไวรัสโควิด-19 รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ที่สองเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนในแง่ลบเป็นอย่างมาก จนเกิดกระแสไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
ที่สำคัญกระแสไม่เอานี้ อาจจะไม่ได้มีอยู่แค่ในหมู่ประชาชนเท่านั้น
ล่าสุดการแต่งตั้ง พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ ถือว่าเป็นแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่ค่อนข้างชัดเจน โดยเฉพาะกับ พล.อ.ประยุทธ์
โดย พล.อ.วิชญ์ นั้นถือเป็นนายทหารที่มีความสนิทสนมกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ คนหนึ่ง อีกทั้งในช่วงปี 2553 ยังดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และเป็น 1 ในตัวเต็งชิงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.อ.ประยุทธ์ ในเวลานั้น การเข้ามาดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.วิชญ์ จึงมีความสำคัญและมีน้ำหนักแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในพรรคพลังประชารัฐอย่างชัดเจน
การเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกรรมการยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.วิชญ์ นั้นถือว่าปาดหน้าตัวเต็งอย่าง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน ของกลุ่มสามมิตร แต่เป็นหมากสำคัญของ พล.อ.ประวิตร และ ร.อ.ธรรมนัส เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของการสลายกลุ่มย่อย และคุมพรรคให้อยู่หมัด
อย่าลืมว่าแม้วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จะยังเป็นนายกรัฐมนตรี แต่การเลือกตั้งในอนาคต พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งถือเป็น 1 ในพรรคใหญ่และตัวเต็งที่อาจชนะการเลือกตั้ง จะมีบทบาทสำคัญในการเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีในอนาคต เมื่อวันนี้ พล.อ.ประวิตร คือคนที่คุมพรรค อนาคตเรื่องนี้จึงขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประวิตร เพียงคนเดียว

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น