Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประสบการณ์ TAO18 (การเเข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติครั้งที่ 18) [จากศูนย์จุฬาฯ]

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
    สวัสดีครับทุกคน ผมเป็นตัวเเทนศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(ถ้าใครจำผมได้ ผมเคยเป็นตัวเเทนศูนย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่เนื่องจากในช่วงม.ปลายผมได้ย้ายโรงเรียนไปเรียนที่กรุงเทพฯ ก็เลยจำเป็นต้องเปลี่ยนศูนย์) เพื่อเข้าเเข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2564 ครับ โดยในปีนี้เป็นช่วงที่เกิดวิกฤติโรคระบาด Covid-19 ที่หนักกว่าครั้งก่อน การแข่งขันจึงอยู่ในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ทำให้ปีนี้เป็นปีที่เงียบเหงาเป็นอย่างมาก(ไม่มีกิจกรรมสันทนาการหรือออกไปเที่ยวเลย) ;-;

*หมายเหตุ : ข้อมูลบางอย่างอาจตกหล่น หรือ เข้าใจพลาดไป ผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
โดยเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร? ไปดูกันครับ

ในการสอบครั้งนี้ซึ่งเป็นในรูปแบบออนไลน์ จะต้องนำ Notebook ของตัวเอง(แล้วแต่ศูนย์) เพื่อสอบภาคสังเกตการณ์ โดยทางศูนย์จะให้เราโหลดโปรแกรม SEB กับ Moodle ล่วงหน้าก่อนมาแข่ง ส่วนภาควิเคราะห์ข้อมูลกับภาคทฤษฎีจะยังคงสอบบนกระดาษเหมือนเดิม การสอบจะแยกสอบที่ศูนย์ใครศูนย์มัน ไม่ได้สอบรวมกัน โดยแต่ละศูนย์ก็จะต้องมีมาตรการเว้นระยะห่างให้เหมาะสมในตอนสอบด้วย

สัปดาห์ก่อนวันเเข่ง : เนื่องด้วยที่อาจารย์ไม่ค่อยว่างมาติวทบทวนก่อนเเข่ง ก็เลยได้พี่นิสิตมาเป็นคนติวให้ โดยพี่เขาจะสอนความรู้เบื้องต้นของ Data analysis เเละก็เอาข้อสอบเก่ามาเฉลย

วันที่ 9 ต.ค. : เริ่มออกเดินทางเองมายัง CU I House รับ keycard แล้วเข้าห้องพัก เมื่อผมมาถึง ผมก็รีบทบทวนความรู้ที่ผมได้เก็บไว้ในโทรศัพท์และ Notebook ก่อนจะถูกเก็บในวันถัดไป จนเมื่อถึง 4 โมงทางศูนย์ก็ได้พาผู้แข่งขันมารวมกันที่ตึกมหามงกุฎ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางด้วยรถตุ๊ก ตุ๊ก เพื่อมาชี้แจงการสอบและพาติดตั้งโปรแกรม SEB Mock TAO18 พร้อมแจกเสื้อค่าย เมื่อเสร็จสิ้นจึงพาไปหอพัก


 
ภายในห้องพัก

วันที่ 10 ต.ค. : เริ่มพิธีเปิดผ่าน GG meet และ facebook : Astronomy Public News at WU [Official Fanpage] มีการกล่าวปฏิญาณตน หลังกล่าวจบก็ทำการยึดอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดทันที จากนั้นทางศูนย์จะพาทดสอบระบบการสอบออนไลน์บน Notebook ที่เรานำมาเองผ่าน SEB ซอฟแวร์ป้องกันการทุจริต โดยจะเป็นข้อสอบ Mock Observation มี 4 ข้อ คือ
1. ให้ลาก Mark ไปยังดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่
2. ให้ดูวิดิโอ แล้วบอกว่าผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูดใด (แต่วิดิโอดันดูไม่ได้ ดูได้แต่เครื่อง Mac) พร้อมอธิบาย
3. ให้บอกวิธีหาตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่แม่นยำที่สุด โดยให้เลือกอุปกรณ์ที่ให้มาดังนี้
-เข็มทิศ                        
-นาฬิกา                         
-กล้องโทรทรรศน์ Mount equatorial
-โทรศัพท์ดาวเทียม       
-แผนที่                           
-นาฬิกาดาราคติ
-GPS                            
-แผนที่ดาว                    
-เครื่องวัดมุม
-ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

4. ให้ภาพหลุมดำ ใจกลาง M87 แล้วถามว่าภาพนี้คืออะไร มีช้อยส์ คือ
–ประมาณว่าวัตถุนี้ทำให้แสงที่ผ่านใกล้มันโค้งงอได้         
-โดนัทอวกาศ
-ดวงตาของเซารอน                                                    
-(จำไม่ได้)

โดยจะจำกัดเวลาที่ 15 นาที แต่เนื่องด้วยข้อผิดพลาดที่ทำให้ดูวิดิโอไม่ได้ ทำให้ต้องกลับมาทดสอบอีกครั้ง และต้องนั่งรอเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง จึงให้ไปรับอาหารไปกินในห้องรับรองแล้วค่อยทยอยกลับหอพัก พอมาอยู่ที่หอพักผมก็ใช้เวลาที่เหลือทบทวนเตรียมสอบในวันพรุ่งนี้ และเปิดทีวีคอยแก้เบื่อไปด้วย(ครั้งนี้ถึงไม่ได้เจอคนอื่นบ่อยๆ แต่อย่างน้อยก็ได้อยู่กับตัวเองในห้องพักนานกว่าการอยู่รอสอบนานๆเหมือนปีก่อน)


 
ภายในห้องรับรอง

วันที่ 11 ต.ค. : ตอนเช้าจะมีการ Morning call เพื่อปลุก แล้วมารวมตัวกันที่ Lobby จากนั้นทยอยเดินทางไปห้องสอบเพื่อไปรับข้าวกล่องมากินและเตรียมสอบภาคสังเกตการณ์ในช่วงเช้า โดยก่อนสอบจะต้องยืนยันตัวตนก่อนเข้าที่นั่งสอบด้วยการถ่ายรูปพร้อมบัตรประชาชน และ โชว์หน้ากับบัตรประชาชนให้ส่วนกลางดูผ่าน GG meet (ตอนยืนยันตนต้องถอดหน้ากากอนามัยด้วย) ซึ่งการสอบจะสอบบนโปรแกรม SEB โดยมี 11 ข้อ ดังนี้
1. ให้ลาก Mark ไปที่ NCP ของภาพกลุ่มดาวหมีเล็ก
2. ให้วิดิโอ 2 วิดิโอ(ซึ่งวิดิโออันแรกดูไม่ได้) เป็นขั้นตอนการประกอบและการใช้กล้องโทรทรรศน์ แล้วให้หาข้อผิดพลาดในวิดิโอ 2 อย่าง พร้อมวิธีการแก้ไข ที่ทำให้การชี้ดาวคลาดเคลื่อนไป
3. ให้ภาพท้องฟ้าแบบขยายทั้งท้องฟ้า แล้วให้ประมาณละติจูดของผู้สังเกตที่อยู่ในภาพนี้ พร้อมอธิบายวิธีการหา
4. ให้ภาพเดียวกันกับข้อ 3. แต่ให้ลาก Mark ไปยัง Deep sky object ซึ่งมี M42,M45,eta carinae nebula และ LMC
5. ให้บอกวิธีการหา HA ของดาวดวงหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันตกแบบไม่ต้องคำนวณ จากอุปกรณ์และข้อมูลที่ให้มาคือ
-ตำแหน่งภูมิศาสตร์ของผู้สังเกต
-เครื่องวัดมุม            
-นาฬิกาสุริยคติ
-ดาวเหนือ                                                               
-ไม้โพรแทคเตอร์       
 -(จำไม่ได้)

6. ให้บอกชื่อกลุ่มดาวจากภาพที่ให้ 1 กลุ่มที่เด่นชัดสุด (ภาพคือ กลุ่มดาวสารถี)
7. โจทย์เหมือนข้อ 6. โดยภาพ คือกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย
8. ให้ระบุประเภท(Open/Globular cluster,Galaxy,Nebula)และชื่อของ Deep sky object (ข้อนี้ไม่รู้ว่าคืออะไร เดาว่าเป็น M82/Cigar galaxy)
9. โจทย์เหมือนข้อ 8. โดยภาพ คือ M45/กระจุกดาวลูกไก่
10. โจทย์เหมือนข้อ 8. โดยภาพ คือ Andromeda galaxy
11. โจทย์เหมือนข้อ 8. โดยภาพ คือ Rosette nebula

    เนื่องด้วยเป็นการเเข่งขันออนไลน์   ข้อสอบจึงลดระดับความยากลงค่อนข้างมาก   เพราะไม่ต้องจับกล้องจริง   หรือ ดูดาวจริง

    สอบเสร็จก็ไปกินข้าวเที่ยง แล้วมาสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลในข่วงบ่าย ซึ่งจะสอบบนกระดาษมี 2 ข้อใหญ่ โดย
ข้อแรก ออกเกี่ยวกับการหา Magnitude ของดาวฤกษ์ทั่วไปกับดาวเคราะห์น้ำตาลในกาแล็กซีหนึ่ง มีพล็อตกราฟเส้นตรง จากสมการซึ่งเป็นฟังชันก์ Expo แล้วหา Y-intercept กับ ความชัน เพื่อสุดท้ายจะนำไปหาสัดส่วนมวลของ Dark matter

ข้อสอง ออกเกี่ยวกับ Magnitude ของ Supernova type Ia และพล็อตกราฟแสง สุดท้ายพล็อต กราฟเส้นตรงเพื่ออธิบายว่าปัจจุบันเอกภพขยายตัวแบบใด(อัตราเร่ง หรือ หน่วง)

ก็ถือว่าข้อสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลปีนี้ง่ายลงหน่อย ผมก็เลยทำไปได้มากกว่าปีก่อน เมื่อสอบเสร็จก็เดินทางกลับและกินข้าวที่ที่พัก พร้อมทบทวนความรู้เตรียมสอบภาคทฤษฎีในวันพรุ่งนี้


 

การยืนยันตัวตนก่อนสอบ(ของศูนย์มข.)
Credit : Fb.Team KKU TAO18

วันที่ 12 ต.ค. : กิจวัตรก็เหมือนเมื่อวาน แต่จะสอบเร็วขึ้น โดยข้อสอบภาคทฤษฎีนี้มี 12 ข้อ ได้แก่
- หา Lattitude จากแท่งไม้และเงา โดยครั้งนี้จะมีกำแพงมาบังเงาทำให้เงามีความสูงด้วย
- หาเวลาเปิดกล้อง จากสูตร S/N (Signal to noise ratio) โดยให้ข้อมูลฟลักซ์โฟตอนจากดาวฤกษ์ และ Magnitude
- ให้ภาพส่วนหนึ่งของแผนที่ดาวแสดงภาพกลุ่มดาวหมีเล็กและข้อมูลค่า FOV ที่ชี้ไปยังจุดคงที่จุดหนึ่ง โดยดาวดวงหนึ่งเคลื่อนจากจุดกี่งกลางไปขอบของมุมมอง มีเวลาดารคติจำนวนหนึ่ง แล้วหา Declination ของดาว และบอกว่าดาวนั้นเป็นดาวอะไรในกลุ่มดาวหมีเล็ก
- หาละติจูดของเครื่องบินที่บินด้วยความเร็วหนึ่งที่ละติจูดคงที่ แล้วเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนไปทางทิศตะวันออก 2 องศา
- โจทย์ให้ข้อมูลตำแหน่งภูมิศาสตร์ของแหลม... กับผา...(จำไม่ได้) แล้วให้พิสูจน์สูตรหาค่า HA ที่กำหนดให้,หา Declination ของดวงอาทิตย์ และหาวันที่สถานที่สองแห่งนี้เห็นดวงอาทิตย์พร้อมกัน - หา schwarzschild radius ของ...,หา Resolving power ของกล้องโทรทรรศน์ดาวเทียม และบอกว่าจะมองเห็น ในช่วงความถึ่ไหนบ้าง
-ให้สูตรความดัน กับความหนาแน่นของดาวฤกษ์มวลมากกับมวลน้อย แล้วพิสูจน์สูตรให้ได้ตามที่โจทย์กำหนดมา
*ที่เหลือผมจำไม่ได้แล้ว แต่สามารถดูข้อสอบปีนี้แบบทางการ ได้ทางเพจ fb : ดาราศาสตร์โอลิมปิกไทย

โดยรวมลักษณะข้อสอบจะให้อารมณ์คล้ายๆปีก่อน(อยู่แล้วล่ะปีก่อนศูนย์จุฬาฯเป็นเจ้าภาพ มาปีนี้ โควิดระบาดหนัก ต้องมาสอบที่จุฬาฯเหมือนเดิม) ไม่ได้พิสดารเหมือนครั้งก่อนๆ
เมื่อสอบเสร็จแล้วก็ไปห้องรับรองเพื่อกินข้าว และ รับโทรศัพท์ ก่อนที่จะปล่อยให้ผู้แข่งขันเดินทางกลับบ้าน/ที่พักเอง


 
บรรยากาศการสอบภาคทฤษฎี


และแล้ววันที่ 15 ต.ค. : ก็ได้เวลาของพิธีปิดและการประกาศผลการแข่งขันผ่านทาง facebook : Astronomy Public News at WU [Official Fanpage]เช่นเดิม ซึ่งผมก็ได้รางวัลเหรียญเงิน เป็นอันว่าผมพอใจและยินดีกับรางวัลมากครับ ที่ในที่สุดก็พิชิตมาได้ เมื่อประกาศผลรางวัลเสร็จก็แสดงวิดิทัศน์เจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งถัดไป โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนั่นเอง สุดท้ายก็กล่าวพิธีปิด เป็นอันจบการเเข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 18 ครับ

ภาพกิจกรรมเเละผลรางวัลสามารถดูได้ใน Facebook :
-Astronomy Public News at WU [Official Fanpage]
ลิ้งค์ : https://www.facebook.com/TAO17th
-ดาราศาสตร์โอลิมปิกไทย
ลิ้งค์ :   https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad

 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Cher 15 มี.ค. 65 เวลา 13:58 น. 1

โหหห จขกทเก่งจังค่ะฮือ อ่านแล้วอยากลองไปบ้างเลย ปล.เราชอบดวงดาวมากๆเลยค่ะแต่ถ้าไม่ถนัดคำนวณนี่จะไปรอดไหมคะT-T อยากอ่านรีวิวค่าย1-2บ้างเลยย*-*

1
Tan_Ratchanon 13 พ.ค. 65 เวลา 11:49 น. 1-1

ขอบคุณครับผม สำหรับคณิตศาสตร์นี้ค่อนข้างสำคัญนะครับ อย่างไรก็ตามถ้าในค่าย 1 พอมีความรู้เรื่อง logarithm และพอแก้สมการเป็น ผมว่าก็ไหวอยู่ครับ แต่ในค่าย 2 จำเป็นต้องรู้ลึกขึ้นไม่ว่าจะเป็น สมการตรีโกณ แคลคูลลัส เวคเตอร์ หรือการประมาณ อะไรแบบนี้ครับ

ส่วนรีวิวค่าย 1-2 ผมวางแผนไว้อยู่นะครับ แต่อาจจะช้าหน่อย

0