Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กลับมาอีก PM 2.5 เผยสาเหตุปัญหายากที่จะแก้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ปัญหาประเด็นสิ่งแวดล้อมหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันโลกเริ่มได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก วันนี้ผมได้มีโอกาสพูดคุยในรายการเจาะข่าวเช้านี้ ทางจุฬาเรดิโอพลัส ถึงความสำคัญและความจำเป็นในการร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวครับ
 
สำหรับประเทศไทยนั้นความตื่นตัวของประชาชนไทยต่อประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะคนกลุ่ม Gen Y ลงมาจะมีความตื่นตัวมากกว่าคนรุ่นอื่นๆ ทั้งที่เกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้มากที่สุด กลับยังไม่ได้มีความตื่นตัวในเรื่องนี้มากนัก ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เรากำลังเจอปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่รวมไปถึงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีบ้านของผมด้วยครับ ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ไม่กี่เดือนก่อนเรายังมีความกังวลว่าเขื่อนแต่ละเขื่อนของเราจะมีปริมาณน้ำเพียงพอให้พี่น้องเกษตรกรใช้ในการทำเกษตรกรรมหรือไม่ มาถึงวันนี้เรากลับต้องรีบระบายน้ำจากเขื่อนเพราะหลายเขื่อนเต็มความจุไปแล้ว
 
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็คือ ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะปกคลุมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ทำให้แสงอาทิตย์สะท้อนออกไปจากโลกได้น้อยลง โดยก๊าซประเภทนี้มีหลายประเภท แต่ที่เรานับกันเป็นหลักก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซประเภทนี้เกิดขึ้นในกิจกรรมของมนุษย์แทบทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม รถยนต์ ปสุสัตว์ เป็นต้น

 
ในปัจจุบันทั่วโลกได้ตั้งเป้าที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กลายเป็น 0% ภายในปี 2100 เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5-2C อันจะนำมาซึ่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงกว่านี้
 
สถานการณ์ของประเทศไทยนั้นเรามีความพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% จากปัจจุบันที่เรามีอยู่ประมาณ 32% ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 55% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจะแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้เป็นอย่างดี แม้การปลูกต้นไม้จะไม่สามารถเห็นผลได้ในทันที แต่จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนในระยะยาวครับ
 
สำหรับภาคการผลิตก๊าซเรือนกระจกนั้น ประเทศไทยเองก็มีแผนในการกำหนดการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก เช่น การสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้น การลดการผลิตก๊าซเรือนกระจกจากภาคการผลิตและอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันเมื่อมีหน่วยงานรัฐต้องการใช้พื้นที่ป่า เช่น สร้างถนน สร้างอ่างเก็บน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะมีกติกาที่กำหนดให้หน่วยงานเหล่านั้นต้องชดใช้งบประมาณในการปลูกป่าเพิ่มแก่กระทรวงทรัพย์ฯ เพื่อปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทดแทนให้กับพื้นที่ป่าที่สูญเสียไปครับ
 
ด้านภาคประชาชนนั้น ตั้งแต่ปี 2562 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เริ่มโครงการ “Everyday say no to single use plastic bags” หรือรณรงค์ให้เลิกใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ต้องเรียนว่าเราไม่ได้มองพลาสติกเป็นผู้ร้ายครับ แต่เราอยากให้ท่านใช้ถุงพลาสติกมากครั้งขึ้น เพราะปัญหาขยะมูลฝอยในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ พอใช้แล้วทิ้งก็จะเกิดปัญหาสองอย่าง คือ เราไม่มีที่ทิ้ง ไม่สามารถย่อยสลายได้ ปัญหาต่อมาก็คือเราต้องผลิตถุงพลาสติกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเราใช้ถุงพลาสติกมากครั้งขึ้นก็จะสามารถลดปริมาณขยะและการผลิตถุงพลาสติกได้มากขึ้น เช่นเดียวกับหากเราเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้า ใช้กระติกน้ำ แก้วน้ำที่ไม่ใช้พลาสติก ซึ่งเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวเหล่านี้สามารถที่จะลดปริมาณขยะพลาสติกได้อย่างมหาศาลครับ
 
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่ากระบวนการผลิตต่างๆ ล้วนแต่ผลิตก๊าซเรือนกระจก หากเราลดปริมาณการผลิตต่างๆ เหล่านี้ได้ก็จะลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกลงได้เช่นกัน ในส่วนของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นเป็นที่น่ายินดีที่เราสามารถทำได้มากกว่าที่เราตั้งเป้าไว้ในระยะแรก โดยเราตั้งเป้าเอาไว้ว่าภายในปี 2563 เราต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ไม่ต่ำกว่า 7-20% ซึ่งในปี 2562 ปรากฏว่าเราสามารถลดไปได้มากถึง 17% และหลังปี 2564 เราจะอยู่ในแผนใหม่ที่เราจะต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25%
 
เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องใกล้ตัวของเรา และถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนชาวไทยครับ เพราะทุกคนล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
 
ขอขอบคุณเนื้อหาจากเว็ปไซต์ https://www.topvarawut.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
 

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น