Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อะไรๆ ก็แพง แต่เงินเดือนเท่าเดิม !!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

จากศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ประเมินราคาสินค้าเกษตรเดือน พ.ย.
64 ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว มีแนวโน้มราคาปรับลดลง แต่ข้าวเปลือกหอมมะลิ มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นหลังความต้องการภายในประเทศและตลาดโลกมีสูง นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพ.ย. 64 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 10,237 - 10,462 บาทต่อตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 5.02 - 7.32

ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาอุทกภัยในแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงกดดันจากปัญหาการขนส่งข้าวหอมมะลิและค่าระวางที่สูงขึ้นอย่างมากในการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
ในส่วนราคาปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 7.62 - 7.72 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.24 - 2.30 เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะการค้าน้ำมันปาล์มภายในประเทศอาจชะลอตัวลงบางส่วนโดยเฉพาะการใช้พลังงานทดแทน เนื่องจากนโยบายรัฐที่ปรับลดการใช้น้ำมันดีเซลจาก B7 และ B10 เป็น B6 ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2564 ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
สุกร หรือ เนื้อหมู  อยู่ที่ราคาอยู่ที่ 67.67 - 68.14 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.09 - 2.53 เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐในช่วงต้นเดือนพ.ย. 64 ทำให้ร้านอาหาร โรงเรียน และสถานประกอบการอื่นๆ กลับมาเปิดให้บริการตามปกติ ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่กระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ โครงการคนละครึ่งและโครงการไทยเที่ยวไทย เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้น
ราคากุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 128.27 – 129.78 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.80 - 3.00 เนื่องจากการทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์มากขึ้น ประกอบกับการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเป็นปัจจัยหนุนให้ความต้องการบริโภคกุ้งในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแรงกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี ขณะที่ปริมาณผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในช่วงกำลังจะจับกุ้งออกจำหน่าย ส่งผลให้ปริมาณกุ้งขาวแวนนาไมลดลง
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ของไทยลดลง กระทบต่อความต้องการข้าวไทยในตลาดโลกลดลงตามไปด้วย
ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 7,564 - 7,695 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.09 - 2.81 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวเปลือกเหนียวนาปีออกสู่ตลาดจำนวนมากประกอบกับสต๊อกข้าวเหนียวของโรงสียังคงมีอยู่จำนวนมากทำให้เกิดปัญหากับเกษตรกร ทำให้ราคาข้าวเหนียวมีราคาตกต่ำอย่างมาก ซึ่งในส่วนของข้าวเหนียวได้เปิดหลักเกณฑ์ การชดเชยราคาข้าวเหนียว กก.ละ 2 บาท

โดยนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณเขต 2 พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม เสนอเยียวยาชาวนา เร่งส่งหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมหนังสือร้องขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายเกษตรกรชาวนา จังหวัดเชียงใหม่
กรณี "ข้าวเหนียว" มีราคาตกต่ำ ทำให้เกษตรกรชาวนาที่ปลูกข้าวเหนียวประสบภาวะขาดทุนเป็นอย่างมาก จึงประสงค์ขอความอนุเคราะห์ให้ภาครัฐช่วยเหลือเยียวยา และชดเชยภาวะขาดทุนและเสียหายดังกล่าวพร้อมกับได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยกรมการค้าภายใน กรมส่งเสริมการเกษตร และตัวแทนเครือข่ายชาวนาจังหวัดเชียงใหม่
ในที่ประชุมได้ข้อสรุปเหตุที่ปัจจุบันเกษตรกรชาวนาที่บลูกข้าวเหนียวต้องประสบภาวะขาดทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องประสบปัญหาหลายประการ ได้แก่ปัญหาต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๋ยเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง การประสบปัญหาการส่งออกอันเนื่องมาจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส "โควิด-19"
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาดังกล่าว คณะกรรมาธิการจึงขอความอนุเคราะห์กระทรวงพาณิชย์พิจารณาดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
1. พิจารณาให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงและได้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยการเยียวยาและชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวที่ได้จำหน่ายข้าวเหนียวไปแล้วในอัตรากิโลกรัมละ 2 บาท
ทั้งนี้ การเยียวยาและซดเชยดังกล่าว ให้ถือน้ำหนักกิโลกรัมตามที่ปรากฏในใบสำคัญรับเงินที่ชาวนาได้รับเมื่อได้นำข้าวเหนียวไปขาย
2. พิจารณามอบหมายให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำการควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการวัดคำความชื้นข้าวเหนียวอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้คำความขึ้นที่เที่ยงตรงตามความเป็นจริง รวมทั้งตรวจสอบเครื่องวัดคำความชื้นให้มีความถูกต้อง แม่นยำ
เพื่อป้องกันมีให้มีการใช้เครื่องมือวัดค่าความชื้นดังกล่าวไปทำการเอาเปรียบเกษตรกร เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรและผู้ซื้อขายข้าวโดยทั่วไป
3. พิจารณาจัดตั้งและดำเนินโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโครงการบริหารจัดการข้าวอย่างครบวงจรเพื่อจะได้ดำเนินการบริหารจัดการข้าวอย่างครบวงจร ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการกำหนดให้มีโรงสี ไซโล และโรงอบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกตำบลหรืออำเภอเป็นอย่างน้อย

แสดงความคิดเห็น

>