Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ปฎิรูปความคิดตัวเองช่วยแก้โลกร้อนก่อนจะสายเกินไป

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
  
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้ในโซนภาคเหนือ,ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบภัยน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลาก ร่วมกว่า 30 จังหวัด ประชาชนและเกษตรกรได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก ทั้งบ้านเรือนและพื้นที่ทำกิน 
 หากมองผิวเผิน นี่คงเป็นแค่พายุเข้าฝนตกหนัก จึงทำให้เกิดน้ำท่วม แต่ถ้ามาวิเคราะห์กันแล้ว มันเป็นสัญญาณเตือนอะไรบางอย่างจากโลก ขณะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้น้ำในทะเลสูงขึ้น สภาพอากาศแปรปรวน น้ำท่วมก็เช่นกันจะหยิบยกตัวอย่างให้ได้ทราบกัน ดังนี้

กรณีที่ 1 น้ำป่าไหลหลาก หรือการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มใกล้ภูเขาต้นน้ำ เกิดจากฝนที่ตกหนักเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมน้ำในปริมาณมาก จนพื้นดินและต้นไม้ดูดซับไม่ไหวจึงไหล่ลงสู่ที่ราบต่ำ

      การวิเคราะห์ : ในปัจจุบันการลักลอบตัดไม้ในประเทศไทย รวมถึงการเผาป่าหรือไฟป่า มีจำนวนมากขึ้น ทำให้พื้นที่ป่าลดลง, ดินเสื่อมสภาพ จึงไม่สามารถกักเก็บดูดซึมน้ำได้ อีกทั้งควันจากการเผาป่า ทำให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศอีกด้วย 

      กรณีที่ 2 น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เกิดจากการสะสมปริมาณน้ำจำนวนมาก ไหล่จากแนวระนาบจากพื้นที่สูงสู่พื้นที่ต่ำ ส่งผลให้ไร่นาเสียหาย หรือน้ำท่วมขังในเมือง ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่อง การระบายน้ำไม่ดี มีสิ่งของอุดตันกีดขวาง


      การวิเคราะห์ : ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เกิดน้ำท่วมขังขณะฝนตกหนัก เนื่องจากมีขยะอุดตันในท่อระบายน้ำ ดังที่เรามักเห็นภาพเศษขยะตามริมฟุตบาทจากการทิ้งขยะไม่ถูกที่ หรือร้านอาหารริมทางที่ทิ้งเศษอาหารลงท่อระบายน้ำโดยไม่คัดกรองออก เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้น้ำขังและระบายได้ช้าลง จะทำอย่างไรให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้

      จากสองกรณีที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการกระทำของมนุษย์ ที่ยังคงมักง่ายและบางคนอาจจะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อหลายวันก่อนได้มีโอกาสฟังการ เวทีเสวนา ‘Thailand’s Race to Net Zero in Action: อนาคตยั่งยืนแบบไทย สังคมคาร์บอนเป็นศูนย์ ทำได้จริงหรือเพ้อฝัน’ ส่วนหนึ่งของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2021: The Great Reform โดยมีคุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับนโยบายบางช่วงบางตอนในเรื่องนี้ โดยเห็นว่าเรื่อง Climate change หรือทรัพยากรธรรมชาติเป็นเรื่องที่ต้องมีอยู่ในกระทรวงต่างๆ ทุกภาคส่วน เช่น
กระทรวงอุตสาหกรรม ให้มีการหารือกับผู้ประกอบการ ในการลดการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง, ใช้เทคโนโลยีหรือไลน์การผลิตให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ฯลฯ
กระทรวงคมนาคม ผลักดันการใช้ไฟฟ้า 100% เช่น รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า และรถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีการนำมาใช้บ้างแล้ว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ทำความเข้าใจกับพี่น้องเกษตรกร ในเรื่องการดำเนินการ
กระทรวงศึกษาธิการ ปลุกระดม เรื่องความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม เข้าสู่ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย และทำให้ครูเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเฉพาะแค่หลักสูตร 


       จากสิ่งที่คุณวราวุธฯ กล่าว เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับการนำเรื่อง Climate change หรือทรัพยากรธรรมชาติ เข้าสู่องค์กรต่างๆ รวมถึงเข้าสู่หลักสูตรการเรียนรู้ตั้งแต่อนุบาล เพื่อเป็นการปลูกฝังความคิด ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ และทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น การทิ้งขยะแยกประเภท, การใช้วัสดุจากธรรมชาติ, การเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ปลูกป่า เป็นต้น และเชื่อว่าจะทำให้บุคคลในองค์กรเริ่มเปลี่ยนแปลงนิสัย และส่งต่อสิ่งนี้ไปสู่คนใกล้ชิดหรือคนภายในครอบครัวได้

 

แสดงความคิดเห็น

>