Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

NFT art ดีต่อวงการศิลปะจริงหรือไม่?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
              NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Token เป็นชื่อของเหรียญ Token ที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทหนึ่งที่ใช้แทนความเป็นเจ้าของหรือสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ต่างๆ โดยสินทรัพย์ดังกล่าวนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นงาน ศิลปะดิจิทัล ภาพ Meme เพลง ดนตรี หรือแม้แต่โพสต์บน Twitter  การซื้อขายผลงานศิลปะด้วยเงินคริปโต หรือที่เรียกว่า NFT กำลังเป็นกระแสที่มาแรงในช่วงนี้ เนื่องจากในวงการศิลปะมีการนำภาพออกมาขายและสามารถทำเงินได้อย่างมากมายมหาศาลNFT Art จึงเป็นการซื้อ-ขายงานศิลปะรูปแบบใหม่ ที่สำคัญผลงานศิลปะเหล่านั้นไม่สามารถจับต้องได้ ทำให้คนหันมานิยมซื้อสะสม เมื่อนำไปแปลงเป็นโทเคน (Token) เข้าสู่ NFT จะถูกเรียกว่า "Crypto Arts" กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่าสามารถซื้อ-ขายได้ เพระว่าถ้าหากมองในมุมของนักลงทุนแล้วนั้น nft ช่วยทำให้ทรัพย์สินที่มีมูลค่า หายาก มีความเฉพาะตัวสูง ซื้อขายได้ง่าย สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทำให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้น และจึงทำให้ nft มีมูลค่าสูงขึ้นนั่นเอง  แน่นอนว่าด้วยจำนวนเงินที่มหาศาลก็คุ้มค่ามากพอที่จะทำให้เกิดนักลงทุนหน้าใหม่มากมาย แต่ก็มีนักลงทุนหัวใสหลายคนเลือกที่จะ ‘ขโมย’ ผลงานที่มีอยู่แล้วมาชุบขายเป็น NFT ในชื่อของตัวเอง ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จึงนับได้ว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงและเป็นแผลใหญ่ของ NFT เพราะมีนักวาดจำนวนมากถูกขโมยผลงานไปขาย จนทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์นับเป็นปัญหาเรื้อรังของ NFT เพราะการคัดกรองผลงานที่ไม่รัดกุมมากพอ ทำให้เกิดช่องว่างให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาฉวยโอกาสตรงนี้ได้ นอกจากนี้แล้วปัญหาทางด้านกฎหมายที่ยังไม่ครอบคลุมถึงผลงาน NFT โดยตรงก็สร้างปัญหาค่อนข้างมากให้กับศิลปิน เพราะถ้าขาดกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ก็จะทำให้ไปกดดันกับทางแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางในการวางขายได้ยากขึ้น โดยในปัจจุบันนั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ NFT ยังไม่เป็นที่แน่ชัดเท่าไรนัก มีเพียงกฎหมายที่ยังพอสามารถใช้ควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์ได้คือ กฎหมาย Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ซึ่งเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์ดิจิทัลของสหรัฐอเมริกาในปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลงานของเจ้าของลิขสิทธิ์ หลักการทำงานของมันคือ ระบบการแจ้งเตือนให้ลบเนื้อหา (notice and takedown) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถยื่นคำร้องต่อแพลตฟอร์มที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อนำผลงานของตัวเองออกได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องต่อศาล ช่องทางที่นักวาดใช้ในการป้องกันผลงานของตัวเองไม่ให้ถูกขโมยเท่าที่พอจะทำได้ในตอนนี้คือ การอัพโหลดภาพวาดของตัวเองลงในแพลตฟอร์ม DeviantArt ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่นับได้ว่าเป็นคอมมูนิตีนักวาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปกป้องผลงานของนักวาดที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้ตั้งแต่ระดับ CORE ขึ้นไป โดยการทำงานของ AI คือ การตรวจจับภาพ NFT ที่มีความคล้ายคลึงกับภาพที่ลงในแพลตฟอร์ม และจะแจ้งเตือนให้เจ้าของภาพรับรู้ทันทีเมื่อตรวจเจอ นอกจากนี้แล้ว DeviantArt ยังให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้กับนักวาดด้วยตัวเลือกเพิ่มเติมหลังจากตรวจพบ ว่าต้องการที่จะยื่นหนังสือแจ้งการละเมิดลิขสิทธิ์ DMCA ด้วยหรือไม่ และอีกวิธีก็คือ
ข้อแรก ก่อนซื้อ NFT ทุกครั้งให้ทำการบ้านให้ดี ส่องหาศิลปินหรือนักสร้างสรรค์อื่นๆ ที่ทำงานประเภทเดียวกัน ค้นหาข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาให้ชัดเจนว่าคุณไ้ด้ซื้ออะไรมา ถ้าหากคุณมีงบซื้อชิ้นงานที่มีราคาสูง มันก็น่าจะคุ้มค่าที่จะให้ทนายตรวจสอบลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องว่า มีคนอื่นที่จดลิขสิทธิ์ผลงานแบบเดียวกันนี้ไว้หรือเปล่า ข้อสอง ถ้าหากโปรเจ็คนั้นๆ มีเส้นแบ่งที่บอบบางไม่ชัดเจนระหว่าง “การขโมยลิขสิทธิ์” กับ “การล้อเลียนผลงาน” เช่นคดี Cryptophunks กับ CryptoPunks ซึ่ง Opensea ได้ถอดผลงานที่ “เสี่ยงต่อความผิดทางลิขสิทธิ์” ออกไป ซึ่งการถอดผลงานออกไปไม่ให้ขายบนแพลตฟอร์มนี้ Opensea ถือว่าเขาปกป้องผู้ซื้อไปด้วย เพราะถ้าหากผิดจริง ผู้ซื้อทุกคนจะต้องโดนพ่วงค่าเสียหายไปด้วย อนึ่ง ผลงานประเภทลอกเลียน หรือเลียนแบบนั้น เป็นอะไรที่เลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ผลกำไรอาจจะสูง ความเสี่ยงก็สูงตามเช่นกัน

แสดงความคิดเห็น

>