Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อะไรคือ “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” (Blue Economy)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สำหรับเศรษฐกิจสีน้ำเงิน หรือ
Blue Economy คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (Sustainable use of ocean resources for economic growth, improved livelihoods, and jobs while preserving the health of ocean ecosystem)

แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • จากการประชุมเวทีโลก (RIO+20) เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นดินควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคทะเล เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
  • การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทวีความสำคัญมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทางทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำลายระบบนิเวศทางทะเล
กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
  • การทำประมง (Fisheries)
  • การขนส่งทางทะเล (Transportation)
  • การท่องเที่ยว Tourism
  • แหล่งน้ำมัน Energy
การประเมินมูลค่าเศรษฐกิจมหาสมุทรทั่วโลก (โดยสมาคมเครือจักรภพ: The Commonwealth)
  • มูลค่าเศรษฐกิจทางทะเลประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • 80% ของการค้าทั่วโลก ถูกขนส่งทางทะเล
  • มีการจ้างงาน 350 ล้านตำแหน่งในภาคการประมง
  • ในปี 2568 ประมาณการว่า 34% ของการผลิตน้ำมันดิบจะมาจากนอกชายฝั่ง
  • การเติบโตภาคเพาะเลี้ยง 50%ของผลผลิตเป็นอาหารให้กับมนุษย์
ประโยชน์จากแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • ลดการเผชิญวิกฤตทรัพยากรเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ (Reduce the crises of resource degradation)
  • การใช้ทรัพยากรทางทะเลที่มีมูลค่าให้เกิดความยั่งยืน เพื่อมีใช้ในอนาคต (Sustainable utilization of marine resources for next generation)
  • ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)
การมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • ลดมลพิษทางทะเล (Reduce Marine Pollution)
  • อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ (Ecosystem Conservation)
  • ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism)
  • ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (Stop IUU fishing)
  • ใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Sufficiency utilization of resources)
 ความท้าทายของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • รัฐต้องมีการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • ขาดการวางแผนระยะยาว การแก้ปัญหาทรัพยากรเป็นแบบเฉพาะจุด
  • ขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ ข้อมูลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
  • การบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การส่งเสริมการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนชุมชนชายฝั่งให้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
สรุป
แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน สังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภค ที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวคิดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals: SDG 14 Life below water เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันมีกรอบแนวทางในการดำเนินการให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สำหรับทางด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติ ขึ้นกล่าวเปิดเวทีเสวนาเพื่อความยั่งยืน พร้อมปาฐกถาในหัวข้อ "ปรับมุมมองอนาคตประเทศไทยใหม่ ด้วยเศรษฐกิจสีเขียว" ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มธุรกิจ TCP เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และหารือถึงแนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน ระหว่างพันธมิตรธุรกิจ โดยเฉพาะเป้าหมายด้านเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจหมุนเวียน และการจัดการทรัพยากรน้ำ
โดยกล่าวว่า ขณะนี้ รัฐบาลได้มุ่งเน้นขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) เพื่อสร้าง New S - Curve ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว และยังให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065
ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่อาจบรรลุได้ด้วยภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องพึ่งพาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม รวมถึงภาคประชาชนด้วย ดังนั้นเราจึงต้องให้ความรู้นอกจากเรื่อง เศรษฐกิจ สีเขียวแล้ว ก็ต้องให้ความรู้เรื่อง เศรษฐกิจสีฟ้าควบคู่กันไปอีกด้วย เพื่อปลุกพลังความร่วมมือ สู่เป้าหมายความยั่งยืน ร่วมกับกลุ่มธุรกิจ TCP ผนึกกำลังขับเคลื่อนโลก สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า
 

แสดงความคิดเห็น