Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน เกิดจากปัจจัยอะไร เป็นหลัก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วสิ่งที่ตามมาเมื่อผ่านพ้นไปก็จะเข้าสู่ ฤดูร้อนฤดูแล้ง ซึ่งสภาพอากาศก็จะไม่แตกต่างกันมาก เท่าไหร่ แค่เปลี่ยนจากหนาวมาร้อน และพื้นที่อากาศแห้งแล้งและเกิดภาวะฝุ่นควัน และมลภาวะทางอากาศตามมาอีกมากมาย จากผลการวิจัยของกรีนพีซ ประเทศไทยพบว่า 1 ใน 3 ของมลพิษอากาศข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (ภาคเหนือตอนบนของไทย ตอนบนของ สปป.ลาว และ รัฐฉานของเมียนมา) มีที่มาจากพื้นที่เผาไหม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูก ‘ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์’

สำหรับทางภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดของประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ประมาณปี 2543 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหลังจากปี 2546 ที่รัฐได้นําเกษตรพันธะสัญญาไปใช้ในโครงการยุทธศาสตร์ความรวมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี เจ้าพระยาแม่โขง (ACMECS) ร่วมกับประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทเกษตรของไทยสามารถริเริ่มลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรภายใต้ระบบเกษตรพันธสัญญากับเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้าน  นอกจากจะข้อตกลงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการขยายการลงทุนทางเศรษฐกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหามลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนอีกด้วย และเมื่อประมาณช่วงต้นปีประมาณเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการได้ลงพื้นที่ ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน (ส่วนหน้า) ทส. อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และถ่ายทอดสัญญาณภาพผ่านระบบ VDO Conference ไปยังหน่วยงานในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือด้วยและสำรวจพื้นที่ด้วยตัวเองพร้อมทีมงาน  ที่ประชุมได้เน้นกำชับแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. 2565 ให้เฝ้าระวังเข้มงวดเป็นพิเศษ ยกระดับการทำงานในระดับพื้นที่ ใช้บทเรียนที่ได้จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เป็นองค์ความรู้ในการกำหนดแผนงานและการปฏิบัติงาน
พร้อมเน้นย้ำให้ศูนย์ปฏิบัติการฯ กำกับการวางกลยุทธ์การป้องกัน ควบคุม และดับไฟป่า สั่งการเคลื่อนย้ายกำลังพล ของ ทส. เพื่อเตรียมความพร้อม และปฏิบัติการ รวมทั้งสนธิกำลังกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงานอย่างสูงสุด อีกทั้งให้หน่วยงาน ทส. ในจังหวัด/ภูมิภาค สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองระดับจังหวัดอย่างเต็มที่ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดจุดความร้อน (Hot spot) และการพยากรณ์ปัญหาฝุ่นละอองล่วงหน้า  นอกจากนี้ ให้ ทสจ. ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ ปภ. จังหวัด ออกประกาศช่วงห้ามเผา พร้อมบทลงโทษตามกฎหมาย กำหนดเขตความรับผิดชอบ และมอบหมายการปฏิบัติที่ชัดเจน และให้มีศูนย์การปฏิบัติการป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า และหมอกควันระดับตำบลและหมู่บ้าน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงรณรงค์ทำความเข้าใจกับเครือข่ายประชาชนทุกช่องทาง ร่วมเฝ้าระวัง สอดส่องดูแล แจ้งจับผู้กระทำผิด โดยให้ ทสม. เป็นแกนนำ ร่วมกับอาสาสมัครป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และเครือข่ายอื่นๆในพื้นที่อีกด้วย พร้อมกันนี้ ให้ขยายการดำเนินงานโครงการ “ชิงเก็บ ลดเผา” บริหารจัดการเชื้อเพลิงให้ครอบคลุมพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร พื้นที่ชุมชน และพื้นที่ริมทาง เป้าหมาย รวม 3,000 ตัน และเร่งรัดดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท SCG กับ ทส. ให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างรายได้จากการเก็บเชื้อเพลิงป่าขาย และสร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือ ตลอดจนเตรียมความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ให้มีสภาพดี มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานตลอดเวลา

สำหรับทางด้านปัญหาหมอกควันข้ามแดน ให้กรมควบคุมมลพิษประสานประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด ดำเนินการตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน โดยเฉพาะการบรรลุเป้าหมายลดจุดความร้อนในอาเซียนให้ได้ร้อยละ 20 รวมถึง ชี้แจงและขอความร่วมมือประเด็นหมอกควันข้ามแดนในเวทีการประชุมต่างๆ และหากมีปัญหาหมอกควันข้ามแดนในจังหวัด ให้ ทสจ.รายงาน สำนักปลัดทส. และ กรมควบคุมมลพิษ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
โดย 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เกิดจุดความร้อนในพื้นที่ป่าเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างเกิดจุดความร้อนในพื้นที่เกษตรเป็นส่วนใหญ่ และประเทศไทย มีจำนวนจุดความร้อนลดลงมากที่สุด ในอนุภูมิภาคแม่โขง 5 ประเทศ (เมียนมา กัมพูชา ไทย สปป.ลาว และเวียดนาม) ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ พบมีค่าเฉลี่ย ลดลงร้อยละ 38 และจำนวนวันที่มีค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน ลดลงร้อยละ 43

แสดงความคิดเห็น

>