Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Climate Change ระดับโลกที่ต้องรีบแก้ไขด่วน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สำหรับแนวทางเบื้องต้นที่ภาคการผลิตจะสามารถร่วมแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้คือการหันมาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยบรรเทาหรือเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหันใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น หรือจะด้วยวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือ เริ่มลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรือใช้อย่างคุ้มค่า สนับสนุนการใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งบริษัทน้อยใหญ่ก็ทำมาในรูปแบบของปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในบริษัท รวมถึงการทำ
CSR อีกหนึ่งบริษัทที่ทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ กระบวนการผลิต และบูรณาการการดำเนินธุรกิจเข้ากับโครงการ CSR คือ IRPC เพราะเขามีวิสัยทัศน์ที่จะ “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว” ตั้งเป้าหมายองค์กร Net Zero Emission โดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20% ภายในปี 2030 สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2060

ซึ่งเราอาจจะรู้จัก IRPC ในฐานะ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจร แต่เขาก็มีโครงการที่ใช้เทคโนโลยีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้นวัตกรรมช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย สำหรับทางด้านวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยที่ได้เดินทางไปประชุม COP27 เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก  พร้อมด้วยคณะทำงาน มีทางด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เข้าหารือร่วมกับตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา จอห์น เคอร์รี ผู้แทนพิเศษว่าด้วยประเด็นสภาพภูมิอากาศ (Special Presidential Envoy for Climate) และคณะ ภายหลังจากการกล่าวถ้อยแถลงบนเวทีโลก สำหรับเจตนาในครั้งนี้ในการหารือนั้น ประเทศไทยได้บอกกล่าวเจตนารมณ์และเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 หรือที่เรียกว่า NDC (Nationally Determined Contribution) รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวในการลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2065 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) อย่างจริงจัง และยังรณรงค์ในเรื่อง climate change ทั้งในปรเทศและนอกประเทศมาตลอดระยะเวลาอีกด้วย ทางด้านวราวุธกล่าวต่อว่า สหรัฐอเมริกาได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทนในประเทศไทยและทั่วโลก เพราะปัญหาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวันนี้เกิดจากก๊าซมีเทน ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งในประเทศไทยพบว่าสาเหตุหลักในการเกิดก๊าซมีเทนมาจากภาคการเกษตร ทำนาปลูกข้าวนับล้านไร่ เป็นการทำนาในลักษณะปล่อยน้ำขังไว้ในที่นาเป็นเวลานานๆ ก็ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมา เช่นเดียวกับภาคปศุสัตว์ ก็มีการสร้างก๊าซมีเทนออกมาเช่นกัน ซึ่งก๊าซมีเทนถือว่ามีอานุภาพร้ายแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26-28 เท่า โดยคาดหวังว่าการดำเนินงานดังกล่าวร่วมกัน รวมถึงจะสนับสนุนการรักษา Pathway 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีสต่อไป
ดังนั้นทางสหรัฐฯ จึงมาหารือและเชิญชวนทุกประเทศช่วยกันหาแนวทางในการลดปริมาณก๊าซมีเทนลง พร้อมขอให้ประเทศไทยมาลงนามในข้อตกลง ซึ่งเรื่องนี้ประเทศไทยจะต้องรับไปหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลภาคการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงกระทรวงแรงงาน ในรายละเอียด และยังต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมีการลงนามในโอกาสต่อไปในการประชุมเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมในคราวภาคหน้า  

 

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น