Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สิทธิบัตรทองแบบใหม่ และแบบเก่า แตกต่างอย่างไร เยาวชนไทยต้องควรรู้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภายหลังจากที่ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการปรับปรุงประกาศบอร์ด สปสช.ฉบับเดิม เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิในการรับบริการสาธารณสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ โดยให้มีผลบังคับใช้ทันที
ดังนั้นแล้ว ‘สิทธิบัตรทอง 30 บาท’ ฉบับใหม่นี้ จะครอบคลุม และไม่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขด้านใดบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจหลักๆ ไว้ ดังนี้
สิทธิบัตรทองครอบคลุมบริการที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต มี 16 รายการดังนี้
  1. บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค
  3. การตรวจและรับฝากครรภ์
  4. การบำกัด และการบริการทางการแพทย์
  5. ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
  6. การทำคลอด
  7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ
  8. การบริบาลทารกแรกเกิด
  9. บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วย
10.บริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพ
  1. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  2. บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ
  3. บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตที่บอร์ด สปสช. กำหนดเพิ่มเติม
  4. บำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาและสารเสพติด ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ที่มีกำหนดเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด
  5. บริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ ยกเว้นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  6. การรักษาโรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน
สำหรับสิ่งที่ไม่ครอบคลุม เบิกไม่ได้ มี 5 รายการ ดังต่อไปนี้
  1. เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  2. การตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  3. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  4. การปลูกถ่ายอวัยวะ ที่ไม่ปรากฎตามบัญชีแนบท้าย
  5. การบริการทางการแพทย์อื่น ตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
สำหรับสิทธิประโยชน์บัตรทองที่อัปเดตใหม่นี้ แตกต่างจากสิทธิประโยชน์ฉบับเดิม ตรงที่ไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์รักษาภาวะมีบุตรยากและการผสมเทียม แต่ขยายครอบคลุมในการรักษาโรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทผู้ป่วยใน โดยไม่มีกำหนดเวลา ว่าต้องเกินกว่า 180 อีกแล้ว
 สำหรับการใช้สิทธิบัตรทองใหม่มีรายละเอียดดังนี้  การใช้สิทธิบัตรทองใหม่ ประชาชนสามารถเข้ารักษาที่สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ได้ และกรณีมีความจำเป็นก็สามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิอื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว และไม่ถูกเรียกเก็บเงินเหมือนเดิม
ดังนั้นสำหรับ หน่วยบริการปฐมภูมิ นั้น คือ บริการสุขภาพด่านแรกขอระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทในการดูแลสุขภาพประชาชนในท้องถิ่น โดยเน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย หากเจ็บป่วยจะได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้น และครอบคลุมในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่รักษาโรคซับซ้อนมากขึ้น ทั้งนี้รวมถึงบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วย
ยกตัวอย่างเช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน, ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. ทั้ง 69 แห่ง คลินิกเอกชนในระบบบัตรทอง และคลินิกอบอุ่น เป็นต้น
โดยใช้สิทธิบัตรทองได้ดังนี้
1. ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่เข้ารับการรักษา
2. แจ้งความจำนงใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนรับบริการ
3. แสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายที่ทางราชการออกให้ สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช.ได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือเพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @ nsho
ดังนั้นสำหรับเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องใหม่ที่มีประชาชนและชาวบ้านในบางพื้นที่ ที่ยังไม่ทราบข้อมูลอย่างทั่วถึงดีพอ ซึ่งทางผู้นำ หรือ ผู้ที่เป็นเป็นกระบอกเสียงให้กลับประชาชนควรที่จะต้องชี้แจ้งเรื่องให้เข้าถึงประชาชนชาวบ้านอย่างเข้าใจง่ายๆ  อย่างเช่น ทางด้าน นายเสมอกัน เที่ยงธรรม สส.พรรคชาติไทยพัฒนา จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ออกมาอธิบายเรื่องนี้ ดังนี้
สำหรับข้อมูลมาประชาสัมพันธ์เป็นสิทธิใหม่ของพี่น้องที่ใช้บัตรทองกันต้องทราบกันโดย เริ่ม 1 ต.ค. 2565 #ตอนที่1

สิทธิประโยชน์การรักษา
- Vital Pulp Therapy รักษาเนื้อเยื่อในฟันกรามแท้
- บริการรากฟันเทียม
- บริการผ่าตัดข้อเข่า และ ต้อกระจก
- บริการโควิด ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และวัคซีนโควิด-19
- ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ
- เพิ่มยาจำเป็นราคาแพง ในกลุ่มบัญชียา จ(2) 14 รายการ
- บริการไตวายเรื้อรัง เพิ่มทางเลือกจ่ายเงินค่าน้ำยาล้างไต
- เพิ่มการเข้าถึงบริการเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง

และสำหรับสิทธิใหม่ บัตรทอง ที่จะต้องทราบกัน  โดยเริ่ม 1 ต.ค. 2565 #ตอนที่2
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
- ยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (PEP)
- คัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
- คัดกรองมะเร็งและมะเร็งช่องปาก
- บริการคัดกรองและค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง
- บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงในกลุ่มเสี่ยง

และสำหรับสิทธิใหม่ บัตรทอง ที่ต้องทราบกัน โดยเริ่ม 1 ต.ค. 2565 #ตอนที่3
สิทธิประโยชน์แม่และเด็ก
- ตรวจไวรัสตับอักเสบบี (HBe Ag) ในหญิงตั้งครรภ์
- ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียในสามี ของหญิงตั้งครรภ์
- ตรวจคัดกรองซิฟิลิสในสามี ของหญิงตั้งครรภ์
- คัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกด้วยเครื่อง Tandem mass spectrometry (TMS) ในเด็กแรกเกิด
ซึ่งสิทธิใหม่พวกนี้ เป็นสิ่งที่ชาวบ้านและประชาชนควรต้องได้รับรู้และได้รับสิทธิเข้าถึงอย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ทุกคน

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น