Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คนทำสวนทำไร่นี่เขารวยกันไหมคะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เป็นลูกหลานชาวสวนชาวนาชาวไร่ เรียนจบปริญญาตรีหรือคิดจะรับราชการหรือไปเป็นพนักงานออฟฟิศ สุดท้ายอาจจะตกงานหรือต้องหักเหมาสารต่อเรือกสวนไร่นาของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ไม่ได้อยากเป็นเกษตรกรแต่เพราะเศรษฐกิจไม่ดีเลยต้องมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวและเต็มใจจะเอาดีทางด้านนี้ แต่คุณภาพของชีวิตของเกษตรกรนี่มันดีไหมคะ

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

ดดดดดดหไ/ไเ 4 ม.ค. 66 เวลา 13:08 น. 1

เพื่อนเราทำสวนผลไม้ รวยนะค พอหลัเก็บเกี่ยวก็ไปเที่ยวเมืองนอกทุกปี ตอนมีโควิดก็ดูไม่กระทบ ยังทางขายผลไม้ได้

1
สอง 11 ม.ค. 66 เวลา 08:02 น. 3

แล้วแต่กรณีจ้า ราคาสินค้าค่อนข้างผันผวน ต้นทุนก็สูง+ผันผวนด้วยต้องคอยดูแลเรื่องปุ๋ย เรื่องแมลง ดินฟ้าอากาศและอื่นๆ แต่เมื่อเก็บเกี่ยวก็น่าจะพอชื่นใจบ้างถ้าปีนั้นราคาผลผลิตไม่ตกต่ำนะคะ ส่วนมากถ้าเป็นรายเล็กๆชาวบ้านธรรมดาทำนาทำไร่ ก่อนจะถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะไม่ค่อยมีกระแสเงินสดเท่าไหร่ มีแบบพอกินพอใช้ อย่างบ้านเราทำนาข้าว ถ้าจะซื้ออะไรชิ้นใหญ่ๆ หรือเงินขาดมือก็จะเปิดยุ้งเอาข้าวไปขาย ถึงได้เห็นว่าหลังทำนาเสร็จรอเก็บเกี่ยวสามสี่เดือนชาวนาก็มักจะเข้ากรุงมาหางานทำเพราะต้องการเงินมาใช้จ่ายแต่ละวัน เดี๋ยวนี้ขายข้าวเปลือกก็ไม่ค่อยจะได้เงินเป็นกอบเป็นกำเหมือนเดิม ประมาณว่ามีข้าวกินแต่เงินให้ลูกไปโรงเรียนไม่มี ส่วนถ้าเป็นพวกไร่ผลไม้อะไรอื่นๆ เราก็ไม่ค่อยรู้ถ้าเป็นรายใหญ่มีตลาดรองรับก็คงจะรวย ถ้าเป็นรายเล็กก็พอมีกำไรนิดหน่อยไม่ถึงกับรวย

1
กี้ 11 ม.ค. 66 เวลา 10:32 น. 4

สำหรับเราไม่ว่าทำอาชีพอะไรถ้ามีความรู้จริงก็สามารถรวยได้ค่ะ อย่างที่เรารู้กันว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรหลายอย่างมีความผันผวน ผักผลไม้ชนิดยังไม่มีตลาดรองรับ นอกจากเรื่องราคากับตลอด เกษตรกรยังต้องจัดการปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ การดูแลดิน การใส่ปุ๋ยต่างๆนานาค่ะ บางทีแล้งมากกว่าปกติ บางทีน้ำเยอะมากกว่าปกติ ต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ต่างกันไป เมื่อเจอปัญหาต้องจัดการรับมือค่ะ อย่างแถวบ้านยายเรา มีเกษตรกรที่รวยอยู่หลายรายเลยค่ะ มากกว่าเราที่ทำงานออฟฟิช เขาสามารถเพาะปลูกพืชที่อร่อย แบบผลไม้จากสวนเขาอร่อยมาก บางทีก็เป็นผลไม้ที่เราไม่รู้จักมาก่อน เขาก็ทำการแจกให้ชิมฟรี ตอนนี้ยอดจองผลไม้เต็มยาวเลยค่ะ ถ้าไม่มีตลาด เราก็สร้างเองเลยค่ะ โดยการทำการตลาด โฆษณา หลายๆรายยังทำห้องเป็นโฮมสเตย์ให้ดูสวนด้วยค่ะ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเลยค่ะ เพราะฉะนั้นในความคิดเราไม่ว่าอาชีพอะไรก็รวยได้ แต่ต้องไม่หยุดพัฒนาหาความรู้ เพื่อใช้ต่อยอดค่ะ อย่างเราที่ทำงานออฟฟิชก็ยังเรียนหาความรู้เพิ่ม เรามีคุณค่าความสามารถจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ถ้าเราเก่งจริง ซึ่งหาเวลาว่างหลังเลิกงานหายูทูปดูเกี่ยวกับสายงานที่ทำอยู่ค่ะ ต้องทำให้บริษัทเสียดายเราให้ได้ ประมาณนี้ค่ะ

1
MDNMRNA 11 ม.ค. 66 เวลา 14:15 น. 5

ตาวหลักการและความเป็นจริงอยู่ที่ว่่าปลูกอะไรค่ะ

ถ้าเป็นเกษตรกรทุเรียน หรือ ผลไม้ที่มีราคาดีหน่อย

พวกนั้นยังไงก็รวยเละ แบบความเห็นบนๆ

แต่สำหรับเกษตรกรปลูกข้าวหรือผลผลิตทางการเกษตรที่มีราคาค่อนข้างต่ำตามกลไกตลาดของรัฐบาลค่อนข้างจะลำบากนะคะ

ล่าสุดแถวบ้านเราขายข้าวได้กิโลละ 5-7 บาท

ปีๆหนึ่งได้หลายตันจริงแต่ข้าวใช้เวลาในการเจริญเติบโตค่อนข้างนาน สมมุติว่าปีนี้ขายได้ 4-5 แสนบาท

หักต้นทุนค่าปุ๋ยค่ายาค่าจ้าง ประมาณ 100,000 บาท

เหลือกำไรสมมุติสูงสุด 400,000 บาท

ตกเดือนละ 33,000 โหดูเยอะจังเดือนละตั้ง30,000 เยอะกว่ามานั่งห้องแอร์ทำงานประจำอีกนะ

แต่…. อย่าลืมความผันผวนของตลาดและหลักเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีใยแมงมุม กลไกราคาสินค้าเกษตรเป็นแบบนั้นแหละ ปีนี้ดี ปีหน้าอาจจะเข้าเนื้อก็ได้

เคยอ่านเจอในเฟสบุ๊คมีอดีตข้าราชการเกษียณ ไปทดลองใช้ชีวิตแบบหลักสามห่วงสองเงื่อนไข สรุปไปต่อไม่ไหวติดหนี้หนักกว่าเดิมอะไรทำนองนั้นก็มีอยู่

ถ้าถามว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีไหม ดูจากม็อบชาวนาแล้ว มันก็ดีแหละแค่มั่งคั่ง ไม่ได้เหมือนเกษตกรในต่างประเทศและด้วยสวัสดิการที่ดีย์ ทำให้ความเสี่ยงของเกษตรกรค่อนข้างสูงนะสำหรับเรา

ถ้าพอมีทุนรอนอยู่บ้าง แนะนำให้เปิดเป็นโฮมสเตย์วิถีชาวบ้าน ชักนำคนในชุมชนมาช่วยกันนำเสนอให้นักท่องเที่ยวเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน แต่ต้องดูพื้นที่ด้วยนะว่าสามารถทำแบบนั้นไปได้หรือไม่ เราเคยเห็นโครงการนี้ของธนาคารรัฐสีเขียวอยู่นะ ลองไปสอบถามดู เพราะเพื่อนเราเคสประมาณนี้แต่พื้นที่เป็นภาคเหนือตอนนี้ไม่ต้องไปสมัครงานอะไรเลย อยู่บริหารโฮมสเตย์ไป มีเงินไปเที่ยวสบายเลย แถมชาวบ้านมีงานทำด้วย หาตลาดสร้างฐานลูกค้าจากความรู้ที่เรียนมา

แต่ถ้าไม่ได้มีทุนรอนมากนักแนะนำให้ศึกษากลไกการตลาดหรือความต้องการของผู้บริโภคของสินค้าที่เรามี หารพาร์ทเนอร์ทางการค้า ลองศึกษาธุรกิจสตาร์ทอัพตัวหนึ่งที่เขารับซื้อผลผลิตจากชาวบ้านคละๆกันใส่กล่องส่งไปขายตามเมืองใหญ่ๆที่ไม่สามารถหาผักผลไม้ที่ปลอดสารพิษและชาวบ้านลูกกันเองได้ง่ายๆ

การเริ่มต้นไม่เคยมีคำว่าง่าย แต่ถ้าจขกท.มีความมุ่งมั่นแชะความพยายาม เราว่าจขกท.จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆไปได้ 

ถ้าไม่ได้จบด้านบริหารเราแนะนำให้ศึกษาการทำบัญชี การทำการตลาด และเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ

ปล.ขอถอนหายใจให้การบริหารจัดการของคุณลุง 1 ที…

เฮ้อออออออ


1
หมายูนิคอน 15 ม.ค. 66 เวลา 16:29 น. 7

ขอบอกเล่าจากประสบการณ์ของพี่เองค่ะ

จบบัญชีได้ฝึกงานบริษัทนมเปรี้ยวชื่อดังแห่งหนึ่ง ชอบมากค่ะอยากเป็นพนักงานบริษัทรู้สึกถูกจริตกับสายงานแบบนี้ แต่ชีวิตไม่ได้จะเป็นตามที่ต้องการค่ะ พี่กลับมาทำเกษตรกับที่บ้าน แต่ต้องบอกก่อนว่าที่บ้านไม่ใช่ทำเกษตรอย่างเดียว ยังเป็นพ่อค้าคนกลางด้วยอีกอาชีพนึง

บ้านพี่ปลูกมันสำปะหลังค่ะ ถ้ามองในมุมของพืชเศรษฐกิจก็ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆที่ตลาดมีความต้องการอย่างสม่ำเสมอ ไม่เป็นพืชที่หวือหวา แต่ก็ราคาไม่โดดสูงต่ำมากไป ความเสี่ยงอยู่ที่สภาพอากาศในแต่ละปีมากกว่า

ปีแรกที่กลับมาทำ ที่บ้านยกให้ทำเองเลย 40 ไร่ค่ะ พี่ได้กำไรมา 20 บาท แทบร้องเลยค่ะ เหนื่อยแทบตาย หักนู่นนี่นั่นไม่เหลือเลย เพราะปีนั้น ราคามันต่ำ และแล้งค่ะ แล้งแบบต้นไม้แถวบ้านยืนต้นตายเลยก็มี แต่พี่ไม่ได้มีอาชีพเดียว พี่ยังเป็นพ่อค้าคนกลาง รับซื้อ แปรรูปและส่งออกเอง เพราะฉะนั้นการขาดทุนของพี่จึงไม่มีผลกระทบมากมายอะไร แต่คนเราเลือกทางนี้แล้วไม่ยอมแพ้ค่ะ ปีที่ 2 พี่ทำอีก ปีนี้ฝนดีหน่อยพี่ได้กำไรจากแปลง 40 ไร่มา 1 แสนนิดๆ ดีใจมากได้จับเงินแสนจากการเป็นเกษตรกร 55555 ปีล่าสุดคือเมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยว 2565 ขอเอาตัวเลขมาให้คิดตามคือ พี่ทำไร่เพิ่มจากเดิม 40 เพิ่มเป็น 70 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยแบบตีต่ำได้ไร่ละ 3 ตัน ราคาตันละ 2,500 บาท(หักค่าใช้จ่ายการขุดออกแล้ว) 70*3=210 ตัน // 210*2,500 = 525,000 หักค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยค่าฉีดยาไป 1 แสนบาท พี่เหลือเนตๆเลย 4 แสนนิดๆ อันนี้ให้คิดคร่าวๆ เพราะบางแปลงพี่ได้ไร่ละ 6-7 ตัน ทั้งหมดทั้งมวลที่ยกตัวอย่างไป พี่พูดในกรณีที่พี่เป็นทั้งเกษตรกรและเป็นผู้ซื้อผู้แปรรูปและผู้ขายเองนะคะ

1.ถามตัวเองก่อนว่าไหวมั้ย เพราะเกษตรกรเหนื่อยและต้องใส่ใจมากๆ

2.พืชที่ปลูกเป็นพืชแบบไหน แนวโน้มเป็นยังไง

3.เครื่องไม้เครื่องมือครบหรือเปล่า ถ้าเริ่มต้นเป็นเกษตรกรด้วยการเป็นหนี้ก็จะเหนื่อยมากหน่อยค่ะ

4.มีความสุขที่จะทำหรือเปล่า

5.ยอมรับความเสี่ยงได้หรือเปล่า

6.เป็นเกษตรกรเป็นตลอดเวลาแต่จัดสรรเวลาว่างได้เอง เอาเวลาไปทำอาชีพอย่างอื่นด้วยค่ะ

0